Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/330
Title: The Development of 5E Inquiry Learning Activities with Science Instructional Package to Enhance Analytical Thinking and Learning Achievement for Prathomsuksa 6 Students
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Authors: Pensri Khunkhum
เพ็ญศรี ขันคำ
Somsong Sitti
สมทรง สิทธิ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
การคิดวิเคราะห์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Science Learning Activities
Science instructional package
Analytical Thinking
Learning Achievement
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this study were : 1) to study guidelines for leaning acitvities science development, 2) to develop 5E inquiry learnig activities with science insturctional package, 3) to compare the student's analytical thinking between before and after learned through 5E iquiry learning acitvities with science instructional package, 4) to compare the student's learning achievement between before and after learned through 5E iquiry learning acitvities with science instructional package, 5) to study learning satisfaction of students who learned by 5E iquiry learning acitvities with science instructional package. Participants were 11 Prathomsuksa 6 students in the second semester of the academic year 2017, Panphupangma school, Mukdaharn province, obtained using the cluster random sampling technique. The instruments used in this study were : 1) 8 sets of science instructional package in the topic of Substance in Daily life, 2) 8 lesson plans of 5E iquiry learning acitvities with science instructional package, 3) 30 items of analytical thinking test, 4) 30 items of achievement test with 4 multiple-choice test, and 5) 15 items with 5-rating scale of learning satisfaction questionnaire. The satistics used for analyzing data were percentage, mean, standard deviation and Wilcoxon Signed Rank Test. The findings can be reported that : 1. Guidelines for developing the science learning activities found that : The issue of activities ; learn to look for students to practice exploration, explore information, to work together in the role, to practice analytical thinking, find out how to solve the problem from the teacher's situation, to exchange khowledge, to sum khowledge and can be linkes to everyday life. Learning materials include ; science material, pictures, music, games, tale, video klips, Internet, software, toys of local, and wasteful. Reinforcement ; teachers should advise students and to use the open-ended questions to give them opportunites to practice. 2. The 5E iquiry learning acitvities with science instructional package had criterion at 77.63/77.88 3. Students had analytical thinking scores after learned higher than those before at .05 with statistical significance. 4. Students had leaning achievement scores after learned higher than those before at .05 with statistical significance. 5) Students had the high level of learning satisfaction after learned by 5E iquiry learning acitvities with science instructional package. In conclusion, 5E iquiry learning acitvities with science instructional package in the topic of Substances in Daily life for Prothomsuksa 6 students could enhance both analytical thinking and learning achievement. Also, students satisfied with learning activities in which developed.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ใหัมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 11 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านภูแผงม้า จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน จำนวน 8 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 8 แผน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. แนวทางการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีดังนี้ ประเด็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีลักษณะให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ สำรวจ ทดลอง สืบค้นข้อมูล มีโอกาสทำงานร่วมกันตามบทบาทหน้าที่ หาวิธีการแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ที่ครูกำหนดให้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปความรู้ และเชื่อมโยงความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ประเด็นสื่อการเรียนรู้ ควรใช้สื่อการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ รูปภาพ เพลง เกม นิทาน วีดีทัศน์ คลิปวีดีโอ สื่อของจริง อินเทอร์เน็ต โปรแกรมสำเร็จรูป ของเล่นของใช้ในท้องถิ่น และวัสดุเหลือใช้ ประเด็นการเสริมแรง ครูควรให้คำปรึกษา ให้กำลังใจนักเรียนควบคู่กับใช้คำถามปลายเปิดให้นักเรียนมีโอกาสได้ฝึกคิดอย่างสม่ำเสมอ 2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.63/77.88 3. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ ทำให้นักเรียนมีการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/330
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010585008.pdf10.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.