Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/336
Title: The Development of Program to Enhance Teacher’s Competency on Curriculum Management and Learning Management for School in the Secondary Educational Service Area Office 25
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
Authors: Pramote Nannin
ประโมทย์ นันนิล
Pacharawit Chansirisira
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: สมรรถนะครู
การบริหารหลักสูตร
การจัดการเรียนรู้
Teacher's Competency
Curriculum Management
Learning Management
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of the study are the followings; 1) to study the factors and indicators of teacher’s competency on curriculum management and learning management for school, 2) to study the current status, the expectation, and the essential needs of teacher’s competency on curriculum management and learning management in the secondary educational service area office 25, 3) to develop program for teacher’s competency on curriculum management and learning management in the secondary educational service area office 25  Research methodology uses research and development. There are 3 stages of research:  1) The study of the factors and indicators of teacher’s competency on curriculum management and learning management for the school. Research informants are 7 experts and research tools are the proper assessment of the factors and indicators. 2) The study of the current status the expectation, and the essential needs of teacher’s competency on curriculum management and learning management in the secondary educational service area office 25. Research samples are school administrators and teachers in the secondary educational service area office 25, 356 people in academic year 2016 using Stratified Random Sampling. The research tools are current status questionnaire and expectation of teacher’s competency on curriculum management and learning management. 3) The development of program for teacher’s competency on curriculum management and learning management for the school. The informants in this study are two group experts including 7 in-depth interviews experts and 7 program’ assessment experts. The research tools were  1) interview form and 2) evaluation form of program for teacher’s competency on curriculum management. Statistics used in data analysis are frequency, percentage, mean, standard deviation and demand indices indispensable PNImodified and PNI. The results are as follows: 1.The factors and indicators of teacher’s competency on curriculum management and learning management for the school found that the factor of teacher’s competency on curriculum management and learning management for the school consists of 5 components and 25 indicators include: 1) 4 indicators of knowing curriculum and content, 2) 5 indicators of understanding the learners, 3) 7 indicators of the process of learning management, 4) 5 indicators of measurement and evaluation, and 5) 4 indicators of self-development. 2. The current status and the expectation of teacher’s competency on curriculum management and learning management in the secondary educational service area office 25 found that; the overall level of current status of knowing curriculum and content, understanding the learners, measurement and evaluation, and self-development are high levels. The process of learning management are moderately. The expectation of knowing curriculum and content, the understanding the learners are the highest levels. The process of learning management, the measurement and evaluation, and self-development are high levels. The study of the essential needs of teacher’s competency on curriculum management and learning management for the school in the secondary educational service area office 25 found that the most essential needs aspect is the process of learning management. Secondly, there are knowing curriculum and content, understanding the learners, self-development, and measurement and evaluation in the order. 3. The development of program for teacher’s competency on curriculum management and learning management for the school in the secondary educational service area office 25 found that there are 3 modules: 1) the development of school curriculum, 2) learning activity, and 3) monitoring and report. The results of the assessment of program for teacher’s competency on curriculum management and learning management for the school found that as a whole is appropriate at the highest level and there possibility level is the highest.
ความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) การศึกษาองค์ประกอบ และตัวชี้วัดของสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัด 2) การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพอันพึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ปีการศึกษา 2559 วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 356 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา 3) การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 กลุ่ม โดยแบ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 7 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินโปรแกรม จำนวน 7 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และ 2) แบบประเมินโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น PNImodified และ PNI ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1.  องค์ประกอบ และตัวชี้วัดสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา พบว่า องค์ประกอบของสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษานั้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 25 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ด้านความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรและเนื้อหา มี 4 ตัวชี้วัด 2) ด้านการเข้าใจผู้เรียน มี 5 ตัวชี้วัด 3) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 7ตัวชี้วัด 4) ด้านการวัดและประเมินผล มี 5 ตัวชี้วัด และ5) ด้านการพัฒนาตนเอง มี 4 ตัวชี้วัด 2. สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 พบว่า สภาพปัจจุบันด้านความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรและเนื้อหา ด้านการเข้าใจผู้เรียน ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการพัฒนาตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ด้านความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรและเนื้อหา ด้านการเข้าใจผู้เรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการพัฒนาตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก การศึกษาความต้องการจำเป็นของสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นที่สุดคือ ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรและเนื้อหา ด้านการเข้าใจผู้เรียน ด้านการพัฒนาตนเอง และด้านการวัดและประเมินผล ตามลำดับ 3. การพัฒนาโปรแกรมสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 พบว่า โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา แบ่งการพัฒนาออกเป็น 3 โมดุล ได้แก่ โมดุลที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โมดุลที่ 2 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และโมดุลที่ 3 การติดตามและรายงานผล ซึ่งผลการประเมินโปรแกรมสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/336
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010586018.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.