Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/337
Title: Development the Teacher Explicate Guideline of Experiences Learning Instructional for Childhood Development Center of Department  of Local Administration Kalasin Province
การพัฒนาแนวทางพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  จังหวัดกาฬสินธุ์
Authors: Prachayaporn Sangaew
ปรัชญาภรณ์ แสนแก้ว
Pachoen Kidrakarn
เผชิญ กิจระการ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: แนวทางพัฒนาครู
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Teacher Explicate Guideline
Experiences Learning Instructional
Childhood Development Center of Department of Local Administration
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study aimed to 1) Investigate the indicators of components of experiences learning instructional for childhood development center of department of local administration Kalasin province. 2) Study the current state and desirable state of experiences learning instructional for childhood development center of department of local administration Kalasin province. 3) Develop Guideline of experiences learning instructional for childhood development center of department of local administration Kalasin province. The study was divided into 3 phases, the first phase was study indicators of components of experiences learning instructional, investigated by 5 luminaries, the second phase was study the current state and desirable state of experiences learning instructional for childhood development center of department of local administration Kalasin province, 304 childhood development center teachers study from 228 questionnaires (75%), the third phase was development guideline of experiences learning instructional for childhood development center of department of local administration Kalasin province, Investigate suitability assessment and possibility assessment by 5 luminaries. Descriptive statistics used in this study were average, mainly percentage and modified priority needs index. The result of study were found:                                              1. The indicators of components of experiences learning instructional for childhood development center of department of local administration Kalasin province including 5 components 32 indicators.                                        2. The current conditions of experiences learning instructional for childhood development center of department of local administration Kalasin province at moderate level and the desirable conditions at high level.                 3. Guideline of experiences learning instructional for childhood development center of department of local administration Kalasin province including 5 components 32 indicators 54 guidelines: 1) 6 indicators 10 guidelines of teacher preparation, 2) 6 indicators 12 guidelines of studies children information, 3) 8 indicators 11 guidelines of planning experiences learning instructional, 4) 7 indicators 14 guidelines of experiences learning instructional, and 5) 5 indicators 7 guidelines of children measurement and assessment.                                             The result of guideline of experiences learning instructional for childhood development center of department of local administration Kalasin province by 5 luminaries, the suitability assessment and possibility assessment both at high level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ ตัวชี้วัด การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกาฬสินธุ์ 3) พัฒนาแนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกาฬสินธุ์ การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 304 คน เก็บรวบรวมข้อมูลได้คืนมา จำนวน 228 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 75 ของแบบสอบถามทั้งหมด ระยะที่ 3 พัฒนาแนวทางพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกาฬสินธุ์ ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า                 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด การจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 32 ตัวชี้วัด                                                                                          2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมมีสภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก                                   3. แนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 32 ตัวชี้วัด 54 แนวทาง ดังนี้ 1) การเตรียมความพร้อมของครู มี 6 ตัวชี้วัด 10 แนวทาง 2) การศึกษาข้อมูลผู้เรียน มี 6 ตัวชี้วัด 12 แนวทาง 3) การวางแผนการจัดประสบการณ์ มี 8 ตัวชี้วัด 11 แนวทาง 4) การจัดประสบการณ์เรียนรู้ มี 7 ตัวชี้วัด 14 แนวทาง และ 5) การวัดและประเมินผลผู้เรียน มี 5 ตัวชี้วัด 7 แนวทาง ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวม อยู่ในระดับมาก 
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/337
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010586019.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.