Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/344
Title: Program to Develop Teachers in Learning Management by using Task – Based Learning Approach for Secondary Educational Service Area Office 24
การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครู ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน (TBL) สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24
Authors: Chutima Rachpunya
ชุติมา ราชปัญญา
Thatchai Chittranun
ธัชชัย จิตรนันท์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน
โปรแกรมพัฒนาครู
Task-Based Learning
Program Development
Issue Date:  21
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were: 1) to study the factors and indicators of Task-Based Learning in teacher’s learning management 2) to study the current condition, desirable condition and the direction to develop teachers in Task- based learning approach for the schools in the Secondary Educational Area Office 24 and 3) to develop Program development to develop teachers in Task- Based Learning approach for Secondary Educational Service Area Office 24. The research was conducted associated with three phases. The first phase was to investigate the components and indicators of developing of Task-Based Learning approach. There were five respondents to investigate the information with the assessment form about the factors and indicators of Task- Based Learning. In the second phase, the researcher studied the current condition and desirable condition of using Task- Based learning Approach of teachers in the Secondary Educational Area Office 24 and the ways to develop teachers in Task- Based Learning approach. The groups of the study were 144 people which were purposive sampled: the head of Foreign Language Department and English teachers were respondent interviewed from about the current condition and desirable condition of teachers' learning management in Task- Based Learning in the Secondary Educational Area Office 24. The third phase was conducted to develop the development program of teacher’s development by using Task- Based Learning approach for the Secondary Educational Service Area Office 24. Descriptive statistics used in this research were percentage, average, standard deviation. The research finding are summarized as follows: 1. The factors and indicators of factors and indicators of Task-Based learning in teacher’s learning process consists of 5 factors and 20 indicators ; 1) to formulate goals in learning process with 3 indicators 2) to formulate language’s  information with 5 indicators 3) to formulate teacher and students’ role with 4 indicators 4) to establish learning activities with 4 indicators 5) to determine the measurement and evaluation with 4 indicators and to adjustment from the feedback with 3 indicators. Which it considered from the experts evaluation was overall, at the level of all factors is the most satisfaction. 2. The current condition of teacher’s learning design by using Task- based learning approach in overall was in the low level .The desirable condition of learning design by using Task- based learning approach. In overall was in the highest level. 3. Appropriateness level of the Program Development to Develop Teachers in Task - based Learning Approach for Secondary Educational Service Area Office 24 include 1) Rational 2) Objectives 3) Techniques of development 4) Contents 5) Program’s Evaluation. The process of development included 4 steps: 1) Preparing, 2) developing, 3) Integrating knowledge during practicing and 4) Evaluation. Which it considered from the experts evaluation was overall, at the level of all component is the most satisfaction. 
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน (TBL) ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน (TBL) ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน (TBL) ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 การวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน (TBL) จากแนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อมูล จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ และวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน (TBL) ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตาราง เครจซี่และมอร์แกน จำนวน 144 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24  ระยะที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน (TBL) ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูล จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน มีองค์ประกอบและตัวชี้วัดทั้งสิ้น 5 องค์ประกอบ 20 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ด้านการกำหนดเป้าหมาย จำนวน 3 ตัวชี้วัด 2) ด้านการให้ข้อมูลทางภาษา จำนวน 5 ตัวชี้วัด 3) กำหนดบทบาทครูและนักเรียน มี 4 ตัวชี้วัด 4) การกิจกรรมกำหนดภาระงาน มี 4 ตัวชี้วัด 5) การประเมินภาระงาน มี 4 ตัวชี้วัด และผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 24 โดยรวมอยู่ในระดับน้อย สภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 24 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. โปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 มีองค์ประกอบดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) รูปแบบและวิธีการพัฒนา 4) เนื้อหาและสาระสำคัญ 5) การวัดและประเมินผลโปรแกรม จากการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/344
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010586052.pdf5.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.