Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/35
Title: Developing of Learning Model to Enhance Innovative Thinking Skill of Pre-service Teachers
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู
Authors: Channarong Wisetsat
ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์
Prasart Nuangchalerm
ประสาท เนืองเฉลิม
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การคิดเชิงนวัตกรรม
รูปแบบการเรียนรู้
การจัดเรียนการสอน
Innovative Thinkikg Skills
Learning Model
Teaching and Learning
Issue Date:  12
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to 1) analyze the need of the development a learning model to enhance innovative thinking skills of pre-service teachers 2) develop a learning model to enhance innovative thinking skills of pre-service teachers 3) evaluate the results of using the learning model to enhance innovative thinking skills of pre-service teachers. The learning model was developed based on Joyce, Weil and Calhoun’s systematic approach. A research and development (R&D) process was used to develop the learning model which was divided into three phases : 1) literature review and need analysis, 2) development of a learning model, 3) evaluation the results of using the learning model. Samples used in this study were 108 social studies pre-service teachers, 52 in experimental group and 56 in control group, Roi et Rajabhat University, academic year 2561, selected by using cluster random sampling. Research tools in this study were 1) lesson Plan 2) observation 3) interview 4) Field Note and 5) open end. Data were analyzed by percentage, mean and standard deviation and t-test for dependent samples and independent samples and Two-way ANOVA repeated measures were also used in hypothesis test. The results of the research were as follows: 1. The results of data analysis on the need of enhancement pre-service teachers’ innovative thinking skills showed that their innovative thinking skills were at the low level. It was found that the level of innovative thinking skills enhancement was very low. 2. The learning model to enhance Innovative thinking skills of pre-service teachers consists five parts: (1) learning principles and theories (2) objectives (3) teaching process (4) social system (5) response principle and (6) support system. 3. The results of the model evaluation revealed that the t-test results of experimental group was significant difference at a level of .05, which collaborate was the highest average score, followed by represent, interpret, evaluate and reflect, and generate was the lowest average score. The result of comparison between the experimental group and the control group was that the experimental group had significantly higher scores than the control group at a level of .05.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายคือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู ผู้วิจัยใช้แนวคิดการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ของจอย เวล และคาลฮาม โดยได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู ซึ่งตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมนักศึกษาวิชาชีพครู โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาสังคมศึกษา ชั้นปีที่ 4 ห้อง 1 จำนวน 52 คน เป็นกลุ่มทดลอง และนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาสังคมศึกษา ชั้นปีที่ 4 ห้อง 2 จำนวน 56 คน เป็นกลุ่มควบคุม ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และ แบบบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบพาราเมตริก ได้แก่ การทดสอบค่าที และการทดสอบความแปรปรวนแบบสองทาง ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครูพบว่า ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครูเป็นทักษะสำคัญที่ควรส่งเสริมให้กับนักศึกษาวิชาชีพครู นักศึกษาวิชาชีพครูมีทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมอยู่ในระดับต่ำ การจัดสภาพการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครูยังมีการส่งเสริมในระดับน้อยมาก 2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครูพบว่า รูปแบบการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน ทั้งนี้ได้สังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้เป็น 5 ขั้น คือ ขั้นระบุความต้องการ ขั้นระดมสมอง ขั้นสร้างชิ้นงาน ขั้นปฏิบัติการสอน และขั้นประเมินผล 3. ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู ปรากฏผล ดังนี้ 1) นักศึกษาวิชาชีพครูที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม พบว่านักศึกษาวิชาชีพครูมีพัฒนาการของทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมทั้งทั้งโดยรวมและรายด้านสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความสามารถในการร่วมมือกับผู้อื่นมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ความสามารถในการนำเสนอแนวคิด ความสามารถในการตีความบริบท ความสามารถในการประเมินความสำเร็จ ความสามารถในการสะท้อนแนวคิด ส่วนความสามารถในการสร้างแนวคิดมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) นักศึกษาวิชาชีพครูที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมมีทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมสูงกว่าการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/35
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010563010.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.