Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/360
Title: The Development of Administration model for STEM Education Under the Office of the Secondary Education Service Area 27
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27
Authors: Kreangkrai Tanawesh
เกรียงไกร ทานะเวช
Atthapon Intasena
อัฐพล อินต๊ะเสนา
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนารูปแบบ
การบริหารจัดการสะเต็มศึกษา
The Development of model
Administration for STEM Education
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were 1) to identify elements and the indicators of administration for STEM education under the Office of the Secondary Education Service Area 27 2) to investigate its ideal situation, and 3) to develop its’ administration model. The study consisted of three steps. In the first step, 5 experts were selected using the purposive sampling in order to identify both the elements and indicators of administration for STEM education under the Office of the Secondary Education Service Area 27. Step two, the researcher used the stratified random sampling in order to select 260 samples from various groups as follows: school directors, deputy directors department of Academic Affairs, heads of science department, heads of mathematics department, heads of career and technology department from educational institutions under the Office of the Secondary Education Service Area 27. After that, analysis of current situation, ideal situation and needs assessment as a guide to investigated the Best Practice characteristics of STEM education administration. Participants were 9 teachers from 3 schools selected by using the purposive sampling. In the last step, to develop the administration for STEM education under the Office of the Secondary Education Service Area 27, the researcher selected 9 experts by using the purposive sampling. In conducting research, evaluation of identify elements and indicators, questionnaire, semi-structured interview, focus group discussion and evaluation of the suitability and feasibility of the model. The statistics used for analyzing data were mean, standard deviation and the priority needs index (PNI). The results of the study were as follows: 1. There were 7 elements and 43 indicators of administration for STEM education under the Office of the Secondary Education Service Area 27. The first element were policy formulation and organization planning, the second element was curriculum development, the third element was the development of teachers’ performance, the fourth element was learning administration, the fifth element were supervision and evaluation, the sixth element was networking for development and the last element were research and development. The results of the assessment of suitability and feasibility of administration for STEM education under the Office of the Secondary Education Service Area 27 were at the highest level. 2. The current situation of administration for STEM education under the Office of the Secondary Education Service Area 27 was at moderate level (X̄=3.40, S.D.=1.04) and the level of ideal situation of administration for STEM education at high (X̄=4.49, S.D.=0.67). 3. The administration model for STEM Education Under the Office of the Secondary Education Service Area 27, there are 6 components of the principles, the purpose, the mechanism operations system, the administration method, the evaluation and the conditions of the success, were suitability and feasibility of the model in the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 3) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา โดยตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษากลุ่มงานบริหารวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 จำนวน 260 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และการศึกษาการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษาที่เป็นที่ยอมรับและแบบวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) กลุ่มให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 3 โรงเรียนๆ ละ 3 คน รวม 9 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 3 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบและประเมินรูปแบบโดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและดัชนีความต้องการจำเป็น PNI ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 มี 7 องค์ประกอบ 43 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การกำหนดนโยบายและแผน มี 5 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร มี 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 การพัฒนาครู มี 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 การจัดการเรียนรู้ มี 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 5 การนิเทศและประเมินผล มี 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 6 การสร้างเครือข่ายแนวร่วมพัฒนา มี 6 ตัวบ่งชี้ และ องค์ประกอบที่ 7 การวิจัยและพัฒนา มี 7 ตัวบ่งชี้ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 อยู่ในระดับปานกลาง (X̄=3.40, S.D.=1.04) และสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก (X̄= 4.49, S.D.=0.67) 3. รูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ระบบกลไกการดำเนินการ วิธีดำเนินการ การประเมินผล และเงื่อนไขความสำเร็จ โดยมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/360
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010586002.pdf4.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.