Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/366
Title: The Evaluation  Bachelor  of  Arts  Program  in  English,  Faculty  of  Humanities and Social Sciences,  Mahasarakham  University
การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาอังกฤษ  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Authors: Jedsada Janpleng
เจษฎา จันทร์เปล่ง
Chowwalit Chookhampaeng
ชวลิต ชูกำแพง
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การประเมินหลักสูตร
หลักสูตรภาษาอังกฤษ
Curriculum Evaluation
English Curriculum
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study aimed to The Curriculum Evaluation of Bachelor of Arts Program in English, Faculty of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University, using a CIPPI Model as an evaluation framework and using mixed methods research which was the mixing of thinking method and quantitative and qualitative research methodologies. The instruments used for collecting quantitative data were 5 evaluation forms, and the instruments used for collecting qualitative data were 3 interview form to obtain in-depth data. There sample of this research were 5 instructors, 60 doctoral student, 15 doctoral graduates, 15 superiors of the doctoral graduates, and 15 work peers of the doctoral graduates. The statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean, and standard deviation. The results included the following: 1) Context: The context in general was The level of opinion and appropriateness as a whole were at a high level. When each item was considered, it was found that for the action plan of the program, the lecturers working for both the section and the department should set up plans for teacher development by increasing the numbers of lecturers. The strength was Curriculum there are a lot of people interested in studying. Its weakness was the lacks of lecturers. The curriculum objectives were based on the standards of Office of the Higher Education Commission. The structure and content of the curriculum related to the objectives of the curriculum. 2) Input: The input was generally The level of opinion and appropriateness as a whole were at a high level. When each item was considered, it was found all of that the following items were The level of opinion and appropriateness as a whole were at a high level: students’ qualifications, the characteristics’,lectures. There were some suggestions for a number of the following physical factors for education and classroom should be increased and improve: computers internet system service and Lecture Chair. 3) Process: The process in general was The level of opinion and appropriateness as a whole were at a high level. When each item was considered, the respondents showed The level of opinion and appropriateness with all of the items at the high level. Those included teaching Process, measurement and Evaluation, Curriculum management. They suggested professional practice Before graduation. 4) Product: The product in general was The level of opinion and appropriateness as a whole were at a high level. When each item was considered, the respondents showed The level of opinion and appropriateness with all of the items at the high level. Those included morality and ethics, knowledge development, intellectual development, iInterpersonal relationship and responsibility and mathematical analytical thinking, communication skills, and information technology skills, the research found that the curriculum of the Bachelor of Arts Program in English had been well recognized among people and quality. 5) Impact: The impact in general was The level of opinion and appropriateness as a whole were at a highest level. When each item was considered, the respondents showed The level of opinion and appropriateness with the items at the highest level. Those included applying knowledge to the application, Work with others effectively, Take pride in graduation or professional education. And the respondents showed The level of opinion and appropriateness with the items at the highly level. Those included the knowledge to convey and extend the results to others and have professional leadership.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยใช้รูปแบบซิปป์ไอ (CIPPI Model) เป็นกรอบในการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลระเบียบวิธีเชิงปริมาณ ประกอบด้วย แบบประเมิน 3 ฉบับ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ 3 ฉบับ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอน จำนวน 5 คน นิสิต จำนวน 150 คน บัณฑิต 50 คน ผู้บังคับบัญชาบัณฑิต จำนวน 33 คน เพื่อนร่วมงานบัณฑิต จำนวน 38 คน และ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีผลการวิจัยจำแนกตาม องค์ประกอบการประเมิน ดังนี้ 1) ด้านบริบท (Context) บริบทในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นและความเห็นสมควรอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า เรื่องแผนการดำเนินงานของสาขาวิชา อาจารย์ในสาขาวิชาและภาควิชาควร มีการแผนงานพัฒนาอาจารย์โดยการเพิ่มจำนวนอาจารย์ให้เพียงพอ จุดแข็งของสาขาคือ หลักสูตรมีคนสนใจเรียนเป็นจำนวนมาก ส่วนจุดอ่อนของสาขาคือสาขามีจำนวนอาจารย์น้อยไม่เพียงพอต่อภาระงานสอน เนื่องจากเป็นสาขาที่เปิดนิสิตต้องการเข้าเรียนจำนวนมาก วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเป็นไปตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โครงสร้างและเนื้อหาสาระของหลักสูตร สอดคล้องกับจุดประสงค์ของหลักสูตร 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ปัจจัยนำเข้าในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นและความเห็นสมควรอยู่ในระดับมาก เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกองค์ประกอบย่อยมีระดับความคิดเห็นและความเห็นสมควรอยู่ในระดับมาก ได้แก่ คุณสมบัติของผู้เรียน คุณสมบัติของอาจารย์ มีข้อเสนอแนะสำหรับบาง องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ควรปรับปรุงห้องเรียนและเพิ่มจำนวนวัสดุอุปกรณ์สำหรับการค้นคว้า เช่น คอมพิวเตอร์ และระบบงาน อินเทอร์เนตและเก้าอี้เล็คเชอร์ 3) ด้านกระบวนการ (Process) กระบวนการในภาพรวม ระดับความคิดเห็นและความเห็นสมควรอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกองค์ประกอบย่อยของการประเมินมีระดับความคิดเห็นและความเห็นสมควรอยู่ในระดับมาก ได้แก่ กระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การบริหารจัดการหลักสูตร มีข้อเสนอแนะ คือ ควรจัดให้มีการฝึกประสบการณ์วีชาชีพผู้สอนก่อนสำเร็จการศึกษา 4. ด้านผลผลิต (Product) ผลผลิตในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นและความเห็นสมควรอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกองค์ประกอบย่อยของการประเมินมีระดับความคิดเห็นและความเห็นสมควรในระดับมาก ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แสดงให้เห็นว่า หลักสูตรศิลปศาสตร์สาขาวิชาภาษาอังกฤษมีคุณภาพและได้รับการยอมรับจากสังคมเป็นอย่างดี เห็นได้จากภาวะการทำงานของบัณฑิต 5) ด้านผลกระทบ (Impact) กระทบในภาพรวม มีระดับความคิดเห็นและความเห็นสมควรอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า องค์ประกอบย่อยของการประเมินที่มีระดับความคิดเห็นและความเห็นสมควรระดับมากที่สุด ได้แก่ มีการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความภาคภูมิใจในสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาหรือวิชาชีพ และองค์ประกอบย่อยของการประเมินที่มีระดับความคิดเห็นและความเห็นสมควรระดับมาก ได้แก่ นำความรู้ไปถ่ายทอดและขยายผลให้ผู้อื่นได้ และมีภาวะผู้นำทางวิชาชีพ
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/366
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010586029.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.