Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/379
Title: Communication Practices in the Treatment of Thai-Isan Traditional  Herbalists
วิถีปฏิบัติทางการสื่อสารในการรักษาโรคของหมอสมุนไพรพื้นบ้านไทยอีสาน
Authors: Kamonman Khamsaen
กมลมาลย์ คำแสน
Thananan Trongdee
ธนานันท์ ตรงดี
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: ไทยอีสาน
หมอสมุนไพร
วิถีปฏิบัติทางการสื่อสาร
การรักษาโรคแบบพื้นบ้าน
คุณลักษณะทางภาษา
อำนาจ
ชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร
Thai Isan
Herbalists
Communication Practices
Traditional Treatment
Atrribute
Power
Ethnographic communication
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:   This study was conducted based on the concept of using the power oftraditional Thai-Isan herbalists who utilized their language for communication in order to change other people’s minds, beliefs, and behaviors. The study aimed: 1) to study the communication practices on the situational structure of treatment of diseases by the traditional Thai-Isan herbalists in accordance with ethnographic communication, 2) to study the communication practices of traditional Thai-Isan herbalists by analyzing the communication events in the treatment of diseases in accordance with ethnographic communication, and 3) to study the power of the traditional Thai-Isan herbalists according to Atrribute concepts. The ethnographic communication and  Atrribute concepts were used as guidelines for the study. The data was derived from the communicative situation on the treatment of traditional Thai-Isan herbalists. The samples were 6 traditional Thai-Isan herbalists from Udon Thani, Khon Kaen and Sisaket provinces. There were 60 communicative situations used in the study. The data was collected by non-participant observation, a video recording, and from interviews. The result of the situational communication structure found that the 60 communicative situations constituted some structure of minor communication event. The event classification criteria were divided into two types, the purpose of the communication and the content of the communication. The communication events were classified into 9 events as follows: 1) communication event in greeting, 2) narrative event, 3) communication event in searching, 4) communication event in testing, 5) communication event in diagnose of diseases, 6) communication event in ritual religion, 7) communication event in treatment, 8) communication event in ordering, and 9) communication event in taking leave. The analysis result of communication events on the component of  communication found that each communication event consisted of 10 aspects: type of event, title, objective, appropriateness, participants, communication pattern, communication content, speech acts order, interaction rules, and the norm of interpretation. The component of communication was important including the communication pattern. The result showed that the traditional herbalists used verbal patterns such as in Thai, Isan dialect, and Bali, and also used non-verbal communication.  As for content of communication, the herbalists mentioned the treatment of diseases such as narrative and the method of treatment. In speech acts order, all 6 herbalists had the speech acts order in communication for the main situational structure of all 9 events.  Whereas the speech acts order was different in minor situational structure which had less than 9 events.  Atrributes on the power of the herbalists found the four atrribute including the characteristic of obligation-direction, there are language indicators such as obligation verbs, permission verbs, directive verbs, and instructional sentences. For the obscurity characteristic, the language indicators were non-defined sources, metaphorical expressions, non-informative, and a small issue. For persuasive characteristic, there are also language indicators such as pronouns, use of rhetorical questions, and metaphorical expressions and clarity characteristic which had language indicators such as the use of words for evidence or visions, and reference . The Atrribute which had the most language indicators are obscurity and persuasion. The language indicator most commonly found the use of metaphorical expressions. Therefore, the Atrributes of the traditional Thai-Isan herbalists are very reliable, easy to rely on, and impressive. This resulted in the herbalists’ having more knowledge, decision maker, and good friendship characteristics. Consequently, the communication practices of traditional Thai-Isan herbalists have shown their persuasive power to be able to induce others.
การศึกษาครั้งนี้มีแนวคิดมาจากแนวความคิดเกี่ยวกับการใช้อำนาจของหมอสมุนไพรพื้นบ้านไทยอีสานที่ปรากฏจากการใช้ภาษาในการสื่อสาร  เพื่อให้ผู้อื่นยินยอมปรับเปลี่ยนความคิด ความเชื่อ และประพฤติปฏิบัติตาม  มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาเพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิถีปฏิบัติทางการสื่อสารในด้านโครงสร้างสถานการณ์การรักษาโรคของหมอสมุนไพรพื้นบ้านไทยอีสานตามแนวทางชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร 2) เพื่อศึกษาวิถีปฏิบัติทางการสื่อสารโดยการวิเคราะห์เหตุการณ์ในสถานการณ์การรักษาโรคของหมอสมุนไพรพื้นบ้านไทยอีสานตามแนวทางชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร และ 3) เพื่อศึกษาอำนาจของหมอสมุนไพรพื้นบ้านไทยอีสานโดยพิจารณาจากคุณลักษณะทางภาษาที่ปรากฏโดยนำแนวคิดชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสารและแนวคิดคุณลักษณะทางภาษามาเป็นแนวทางในการศึกษาข้อมูลซึ่งเป็นสถานการณ์การสื่อสารการรักษาโรคของหมอสมุนไพรพื้นบ้านไทยอีสาน  มีกลุ่มตัวอย่าง คือ หมอสมุนไพรพื้นบ้านไทยอีสาน ทั้งสิ้น 6 คน จากจังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น และศรีษะเกษ มีสถานการณ์สื่อสารที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 60 สถานการณ์ เก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม  การบันทึกวีดิทัศน์ และการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาโครงสร้างสถานการณ์การสื่อสาร พบว่า ใน 60 สถานการณ์การสื่อสารมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยเหตุการณ์สื่อสารย่อย โดยมีเกณฑ์การจำแนกเหตุการณ์ 2 เกณฑ์ คือ วัตถุประสงค์ของการสื่อสารและเนื้อหาของการสื่อสาร สามารถจำแนกเหตุการณ์สื่อสารได้เป็น 9 เหตุการณ์ ดังนี้ 1) เหตุการณ์สื่อสารการทักทาย 2) เหตุการณ์สื่อสารการเล่าเรื่อง 3) เหตุการณ์สื่อสารการสืบค้น 4) เหตุการณ์สื่อสารการทดสอบ 5) เหตุการณ์สื่อสารการวินิจฉัยโรค 6) เหตุการณ์สื่อสารการประกอบพิธีกรรม 7) เหตุการณ์สื่อสารการรักษา 8) เหตุการณ์สื่อสารการสั่ง และ 9) เหตุการณ์สื่อสารการลาผลการวิเคราะห์เหตุการณ์การสื่อสาร ด้านองค์ประกอบของการสื่อสารพบว่าเหตุการณ์สื่อสารแต่ละเหตุการณ์ประกอบด้วยองค์ประกอบครบทั้ง 10  ประการ ได้แก่ ชนิดของเหตุการณ์หัวข้อวัตถุประสงค์กาลเทศะผู้ร่วมเหตุการณ์ รูปแบบการสื่อสาร เนื้อหาการสื่อสารลำดับวัจนกรรมกฎการปฏิสัมพันธ์ และบรรทัดฐานของการตีความ โดยองค์ประกอบของการสื่อสารที่มีความสำคัญ ได้แก่ รูปแบบการสื่อสาร การศึกษาพบว่าหมอสมุนไพรพื้นบ้านมีการใช้รูปแบบของวัจนะ คือ ภาษาไทย ภาษาถิ่นไทยอีสานและภาษาบาลี และมีการใช้อวัจนะประกอบการสื่อสาร ในด้านเนื้อหาการสื่อสาร หมอสมุนไพรมีการกล่าวถึงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรค เช่น เรื่องเล่า ขั้นตอนและวิธีการรักษาโรค ในด้านมีการลำดับวัจนกรรม หมอสมุนไพรมีการลำดับวัจนกรรมในการสื่อสารเหมือนกันทั้ง 6 คน ในโครงสร้างสถานการณ์หลักที่มีเหตุการณ์ครบทั้ง 9 เหตุการณ์ มีการเรียงลำดับวัจนกรรมแตกต่างกันในโครงสร้างสถานการณ์รองที่มีเหตุการณ์ไม่ครบ 9 เหตุการณ์  ด้านคุณลักษณะทางภาษาที่แสดงอำนาจของหมอสมุนไพร พบว่า  มีคุณลักษณะทางภาษา 4 คุณลักษณะ ได้แก่ คุณลักษณะการบังคับ-ชี้นำ ตัวบ่งชี้ทางภาษา คือ กริยาบังคับ กริยาอนุญาต  กริยาชี้นำ และประโยคคำสั่ง คุณลักษณะความปิดบังอำพราง มีตัวบ่งชี้ทางภาษา คือ การไม่ระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน อุปลักษณ์ ข้อมูลไม่ครบ ทำเป็นเรื่องเล็ก และ คุณลักษณะการโน้มน้าว มีตัวบ่งชี้ทางภาษา คือ คำสรรพนาม การใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ และอุปลักษณ์ คุณลักษณะความแจ่มชัด มีคำบ่งชี้ทางภาษา ได้แก่ การใช้คำแสดงหลักฐานหรือเห็นภาพ  การอ้างถึงคุณลักษณะทางภาษาที่มีตัวบ่งชี้มากที่สุด คือ ความปิดบังอำพรางและการโน้มน้าว  ตัวบ่งชี้ทางภาษาที่พบมากที่สุด คือ การใช้อุปลักษณ์  คุณลักษณะทางภาษาของหมอสมุนไพรพื้นบ้านไทยอีสานจึงมีลักษณะน่าเชื่อถือ เชื่อง่าย พึ่งพาได้ และประทับใจ ส่งผลให้คุณสมบัติของหมอสมุนไพรที่ปรากฏในสังคมเป็นผู้มีความรู้มากกว่า เป็นผู้ตัดสิน  และเป็นผู้เป็นมิตร ดังนั้น จากวิถีปฏิบัติทางการสื่อสารของหมอสมุนไพรพื้นบ้านไทยอีสานจึงนำไปสู่การแสดงให้เห็นอำนาจแบบจงใจชักจูงคนอื่น
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/379
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55010162001.pdf4.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.