Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/38
Title: | The Guildlinds Learning and Teaching Integrated in Accordance with Traisikkha Principle in Buddhist Pathway Schools under the Office of Khon Kaen Primary Educational Service Area 1 แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 |
Authors: | Pissanu Senamontree (Panyavaro) พิษณุ เสนามนตรี (ปญฺญาวโร) Peerasak Worrachat พีระศักดิ์ วรฉัตร Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | หลักไตรสิกขา โรงเรียนวิถีพุทธ Traisikkha Principle Buddhist Pathway Schools |
Issue Date: | 26 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | In this study as of these two objectives: 1) to study integrated educational management in accordance with Traisikkha principles of Buddhist pathway schools under the Office of Khon Kaen Primary Educational Service Area 1, 2) to study educational management guidance integrated in accordance with Traisikkha principles of Buddhist pathway schools under the Office of Khon Kaen Primary Educational Service Area 1. The sample group of this study consisted of 270 administrators and teachers from 67 Buddhist pathway schools, under the Office of Khon Kaen Primary Educational Service Area 1. The sample size was proceeded through Krejcie and Morgan table by stratified random sampling technique. The study tools consisted of questionnaires and interview forms with content validity 0.80-1.00, discriminative value 0.45-0.83, and the reliability at 0.97 and the statistics used for data analysis were percentage, mean and standard deviation.
Outcome of the study showed that:
1. The Guildlinds learning guidance integrated in accordance with Traisikkha principles of Buddhist pathway schools under the Office of Khon Kaen Primary Educational Service Area 1 was overall practiced at high level. When considered individually, each aspect was found being performed at high level by the first 3 items composing 1) Using teaching aids and learning resources, 2) Testing and assessment, and 3) Learning management procedures. When each aspect taken to consideration, it resulted as following:
1.1 On learning management procedure,it was overall performed at high revel. When considered into individual items,all had been practiced at high level except utilizing teaching records after teaching and taking to further develop learning and teaching procedure which were practiced at medium level; by the first 3 items were 1) Being able to provide learning activities in accordance with Traisikkha principles by individual course as to be easily and clearly comprehensible. 2) Managing learning activities in accordance with Traisikkha can introduce lessons appropriately. and 3) There have been learning assessments in accordance with objectives.
1.2 On using teaching media and learning resources,it was overall performed at high level. When considered into individual items,all were practiced at high level by the first 3 were 1) Instructional media using and learning sources, 2) Being able to develop learners to use various teaching aids such as discussion, ask-and-answer, lecture with question opening, and clear explaining. and 3) Teachers can use teaching aids, insinuating ethics learning and enhancing learners’ concentration at the while.
1.3 On testing and assessment, it was performed at high level overall. When considered into individual items,all were practiced at high level, except the item of There has been checking testing and assessment tools before use. was practiced at the highest. While the items concerning testing and assessment in accordance with Traisikkha principles were practiced at medium level, by the first 3 were 1) There has been checking quality of testing and assessment tools before use. 2) Testing and assessment go on with real conditions and comply with objectives.and 3) Utilizing test and assessment results in accordance with educational policies.
2. The educational management guidance integrated in accordance with Traisikkha principles of Buddhist pathway schools under the Office of Khon Kaen Primary Educational Service Area 1 was found that it can be performed in 2 styles namely inside the classroom and outside the classroom. Whereas, it was in line with the subject contents and skills required for learners, learning procedures, teaching aids and learning resources,and evaluation and testing. Inside and outside the classroom referred to:
2.1 For the learning management,administrators acted as facilitators supporting learning activities by setting learning processes in accordance with Traisikkha principles; teachers acted as classroom managers providing arrangement, searching for knowledge sources integrated according to Triasikka principles, planning learning activities and steps integrated according to Triasikkha principles, jointly conducting learning activities for learners,and developing skill process for knowledge pursuing on such content. On the conclusion,teachers evaluated learning achievement gained from learning activities integrated to Triasikkha principles; learners maintained their performance constituted and integrated to Triasikka principles; while, parents took parts as supporters and contributors for their children to behave and perform learning activities provided in schools.
2.2 For aids and learning resources, administrators acted as facilitators supporting utilizing aids and learning resources by setting guideline of learning management in accordance with Traisikkha principles; teachers acted as classroom managers to arrange,to search for learning sources integrated according to Trisikka principles, conducting teaching activities, using learning aids accordingly with Triasikkha principles. On the conclusion,teachers took testing and evaluating for learning achievement gained from utilizing aids integrated to Traisikkha principles; learners had to follow and perform activities provided in accordance with Traisikka principle; whereas, parents had to take part as supporters and contributors for their children to perform learning activities provided in schools.
2.3 For evaluating and testing, administrators acted as facilitators supporting testing and evaluating integrated to Traisikka principles by providing guideline on testing and evaluating integrated with Traisikkha principle; teachers conducted testing and evaluating learning achievement gained from activities integrated to Triasikkha principles; learners had to follow and perform activities provided in accordance with Traisikkha principles; whereas, parents took parts as supporters and contributors for their children to follow and perform learning activities provided in schools. ในการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 2) เพื่อศึกษาแนว ทางในการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 การวิจัยในครั้งนี้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาขอนแก่น เขต 1 จำนวน 67 โรง จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 270 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางสำเร็จของ Krejcie and Morgan และเทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling Technique) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาตั้งแต่ 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ได้ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.45-0.83 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 1 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ตามลำดับได้แก่ 1) ด้านการใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 2) ด้านการวัดผลและการประเมินผล และ 3) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านปรากฏผลดังนี้ 1.1 ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกข้อ ยกเว้นข้อที่มีการใช้ประโยชน์จากการบันทึกหลังการสอน นำไปสู่การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง โดย 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการตามหลักไตรสิกขาในรายวิชาให้เข้าใจง่ายและชัดเจน 2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการตามหลักไตรสิกขา ในขั้นนำเข้าสู่บทเรียนได้อย่างเหมาะสม และ 3) มีการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 1.2 ด้านการใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดย 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) ตรวจสอบความพร้อมของสื่อก่อนนำไปใช้ 2) สามารถพัฒนาผู้เรียนในการใช้สื่อการสอนที่หลากหลายเช่น การอภิปราย การถามตอบ การบรรยายการเปิดโอกาสให้ถาม และอธิบายได้อย่างชัดเจน และ 3) ครูใช้สื่อการสอนสอดแทรกความรู้ด้านการพัฒนาจริยธรรม และส่งเสริมสมาธิของผู้เรียนได้ 1.3 ด้านการวัดผลและการประเมินผล โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกข้อ ยกเว้นข้อที่มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดผลและประเมิน ผลก่อนนำไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีการการวัดผลและประเมินผลสอดคล้องกับวิธีการจัดการเรียนการสอนตามหลักไตรสิกขาอยู่ในระดับปานกลาง โดย 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดผลและประเมินผลก่อนนำไปใช้ 2) การวัดและประเมินผลเป็นไปตามตามสภาพจริงและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และ 3) มีการนำผลการวัดและประเมินผลไปใช้ตามนโยบายของการจัดการศึกษา 2. แนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 พบว่า สามารถดำเนินการได้ 2 ลักษณะ คือ ในห้องเรียน กับนอกห้องเรียน ทั้งนี้เป็นไปตามเนื้อหาสาระในรายวิชาที่รับผิดชอบ และทักษะที่ต้องการที่จะให้เกิดกับผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การวัดผลและการประเมินผล นอกห้องเรียน และในห้องเรียน ได้แก่ 2.1 ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ ผู้บริหารเป็นฝ่ายทำหน้าที่อำนวยการ ให้การสนับ สนุนด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการวางแนวทางของกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาในสถานศึกษา ครูทำหน้าที่บริหารจัดการชั้นเรียน ได้แก่ ขั้นเตรียมค้น คว้าแหล่งความรู้ที่บูรณาการตามหลักไตรสิกขา วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการตามหลักไตรสิกขา ขั้นปฏิบัติการสอน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันให้ผู้เรียน และพัฒนาทักษะกระบวนการแสวงหาความรู้ในเรื่องนั้นๆ ขั้นสรุป ครูประเมินความรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการตามหลักไตรสิกขา ผู้เรียนมีหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการตามหลักไตรสิกขา ผู้ปกครอง มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนให้ปฏิบัติตนให้ถูกต้องในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในสถานศึกษา 2.2 ด้านการใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ผู้บริหารเป็นฝ่ายทำหน้าที่อำนวยการ ให้การสนับสนุนด้านการใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ โดยการวางแนวทางของกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาในสถานศึกษา ครูทำหน้าที่บริหารจัดการชั้นเรียน ได้แก่ ขั้นเตรียม ค้นคว้าสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมที่บูรณาการตามหลักไตรสิกขา ขั้นปฏิบัติการสอน จัดกิจ กรรมการเรียนรู้โดยการใช้สื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักไตรสิกขา ขั้นสรุปครูประเมินความรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการใช้สื่อการเรียนรู้ที่บูรณาการตามหลักไตรสิกขาผู้เรียนมีหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการตามหลักไตรสิกขา ผู้ปกครอง มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนให้ปฏิบัติตนให้ถูกต้องในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในสถานศึกษา 2.3 ด้านการวัดผลและการประเมินผล ผู้บริหารเป็นฝ่ายทำหน้าที่อำนวยการ ให้การสนับสนุนด้านการวัดผลและการประเมินผล โดยการวางแนวทางของกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาในสถานศึกษา ครูทำหน้าที่บริหารจัดการชั้นเรียน ได้แก่ ขั้นเตรียม ศึกษาค้นคว้าเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ที่บูรณาการตามหลักไตรสิกขา ขั้นปฏิบัติการสอน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักไตรสิกขา ขั้นสรุป ครูวัดผลและการประเมินผลของผู้เรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการตามหลักไตรสิกขา ผู้เรียนมีหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการตามหลักไตรสิกขา ผู้ปกครอง มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนให้ปฏิบัติตนให้ถูกต้องในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในสถานศึกษา |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/38 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59010586048.pdf | 3.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.