Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/385
Title: Widows : The Representation of Marginalized Heroines in Contemporary Thai Novels 
หญิงม่าย : ภาพแทนนางเอกชายขอบในนวนิยายไทยร่วมสมัย
Authors: Laongdaw Jitpiriyakan
ละอองดาว จิตต์พิริยะการ
Nittaya Wannakit
นิตยา วรรณกิตร์
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: ภาพแทน
ความเป็นชายขอบ
นวนิยายไทยร่วมสมัย
ตัวละครนางเอกม่าย
Representation
Marginalized
Contemporary Thai Novel
Widows and Divorcees Heroines
Issue Date:  30
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This thesis has the objectives to study the representatives of the widows and divorcées of contemporary Thai novels and the marginalization of the protagonists in 8 stories as follow: Samakommai by Ganokreka, Lablaelaimek by Piyaporn Sakgasem, Klingularb by W.Winichaigoon, Dtamlompliw by W.Winichaigoon, Khakhonghuachai by Kingchat, Rakkrangsuttaitiplairung by Clear Ice, Chaobanchaoruan by Gaokaew, and Chuddabnaiduangdtawan by W.Winichaigoon. The study used qualitative data within the framework of representation of divorcées, widows, the marginalized and the the theory of characters. The result of the study found that all nine contemporary Thai novels display the representation of female protagonists in five sides; the representation of women who have not met their desired lovers because of their husbands’ deaths or they had been cheated on leading to divorce and failure in relationships. Another representation is of the women who are good wives and mothers. Forth, the stories represent the women who are leaders of the families taking care of their parents and children. and lastly, the stories represented the modern women who are confident in themselves. The marginalization of these protagonists who are divorcées or widows send the messages to the readers in 6 main topics: the marginalization of these women was the result of how women were seen as just sex objects, the main value which placed women as wives and mothers, the decrease in value in women after getting married, the responsibility of taking care of the family alone facing obstacles to provide for the family, and being viewed negatively sexually because of the inequality in society.  From the hypothesis of the researchers through the perspective of these characters, the researchers found that these characters do not bow down to the attitude of society and these women often respond by adjusting, building meaning and making space in society to accept their value as humans.
วิทยานิพนธ์นี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาพแทนของนางเอกม่ายในนวนิยายไทยร่วมสมัยและความเป็นชายขอบของนางเอกม่ายในนวนิยายไทยร่วมสมัย จำนวน 8 เรื่อง ดังนี้ 1) สมาคมม่าย ของกนกเรขา 2) ลับแลลายเมฆ ของปิยะพร ศักดิ์เกษม 3) กลิ่นกุหลาบ ของ ว.วินิจฉัยกุล 4) ตามลมปลิว ของ ว.วินิจฉัยกุล 5) ค่าของหัวใจ ของกิ่งฉัตร 6) รักครั้งสุดท้ายที่ปลายรุ้ง ของเคลียร์ ไอซ์ 7) เจ้าบ้านเจ้าเรือน ของแก้วเก้า และ 8) จุดดับในดวงตะวัน ของ ว.วินัจฉัยกุล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพตามกรอบแนวคิดเกี่ยวกับหญิงม่าย ภาพแทน คนชายขอบ และตัวละครในนวนิยายไทย ผลการศึกษาพบว่า นวนิยายไทยร่วมสมัยทั้ง 8 เรื่อง ได้นำเสนอภาพแทนของนางเอกม่ายใน 5 ประเด็น ได้แก่ ภาพแทนของผู้หญิงที่ไม่สมปรารถนาในชีวิตคู่ ที่เป็นม่ายเพราะสามีเสียชีวิต ถูกสามีนอกใจจนต้องหย่าร้างและล้มเหลวในการดำเนินชีวิตคู่ ภาพแทนของผู้หญิงที่เป็นกุลสตรีคือการเป็นเมียและแม่ที่ดี ภาพแทนของผู้หญิงที่เป็นหัวหน้าครอบครัวที่เป็นทั้งพ่อและแม่ให้แก่ลูกและเป็นผู้นำครอบครัว และภาพแทนของผู้หญิงสมัยใหม่ที่มีความมั่นใจในตนเอง  ความเป็นเป็นชายขอบของนางเอกม่ายในนวนิยายไทยร่วมสมัยมีการสื่อความหมายใน 6 ประเด็น ได้แก่ ความเป็นชายขอบทางเพศวิถีที่หญิงม่ายถูกตีค่าให้เป็นเพียงวัตถุทางเพศ ความเป็นชายขอบทางเพศสภาพที่สังคมกระแสหลักได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของการเป็นแม่และเมียที่ดี ความเป็นชายขอบทางสถานภาพที่หญิงม่ายถูกลดคุณค่าให้น้อยกว่าผู้หญิงที่ยังไม่ผ่านการแต่งงาน ความเป็นชายขอบทางครอบครัวที่หญิงม่ายต้องรับผิดชอบครอบครัวเพียงลำพังและถูกสังคมมองว่าเป็นครอบครัวที่ขาดพร่อง ความเป็นชายขอบทางเศรษฐกิจที่หญิงม่ายต้องเป็นผู้หารายได้หลักของครอบครัวและเผชิญกับความยากลำบากในการหาเลี้ยงชีพ และการถูกประทับตราจากสังคมกระแสหลักที่ให้นิยามหญิงม่ายในทางลบว่าเป็นผู้หญิงมี “ตำหนิ” ซึ่งเป็นอคติทางเพศ แสดงให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียม     จากการตั้งข้อสังเกตของผู้วิจัยผ่านมุมมองของตัวละครทำให้ทราบว่า ภายใต้บริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ตัวละครนางเอกม่ายในนวนิยายไทยร่วมสมัยก็ไม่ได้ยอมจำนวนต่อทัศนะของสังคมกระแสหลัก โดยพวกเธอได้ตอบโต้แนวคิดดังกล่าวด้วยการปรับตัว สร้างความหมาย และพื้นที่ทางสังคมจนเกิดการยอมรับในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียม
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/385
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010180014.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.