Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/386
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorSomnuek Bochonen
dc.contributorสมนึก บ่อชนth
dc.contributor.advisorJaruwan Thammawatraen
dc.contributor.advisorจารุวรรณ ธรรมวัตรth
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciencesen
dc.date.accessioned2019-11-19T07:39:39Z-
dc.date.available2019-11-19T07:39:39Z-
dc.date.issued6/8/2019
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/386-
dc.descriptionMaster of Arts (M.A.)en
dc.descriptionศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)th
dc.description.abstractResearch study The Dynamics Of Sermons and tradition Boon Phawade In Roi-Et province With the objective (1) to study the creation of Boon Phawade tradition in Roi Et Province (2) to study the sermon according to the method of literary study Boon Phawade or Boon Month 4 is a tradition in the heat 12 of the Isaan people who have practiced for a long time. Considered a very important tradition Because he believed that if he had finished listening to the Mahavesandon Chadok sermon on the same day, he would receive the highest merit Resulting in the creation of the religion of PhaSri Ariyamettai mentioned in the book of the Malai mane Malai Saen, therefore, the Isan people have organized the merit-making ceremony as a tradition. Especially in Roi-Et province, there is an annual merit-making event in the community of Boon Phawade. Later, Roi Et Province Saw the organizing of the province's unique traditions To promote cultural tourism Therefore had a meeting and chose the tradition of Boon Phawade as a tradition in Roi Et Province Because I believe that the content of Boon Phawade is consistent with the legend of Roi Et Which was originally believed to be the city of Saket nakhonTo be a tradition of Roi Et province since 1991 Because it is seen as an important tradition of Isaan people In organizing the event each year, there will be a lot of interested participants to join both Thai and foreigners. The study indicated that The organizing of the Boon Phawade Tradition, Roi Et Province The beginning of the event There is a two-day event scheduled like the traditional festival of Boon Phawade in Roi Et province, which is Saturday and Sunday in the first week of March. Later in the since 1993, the organizing committee extended the event from two days to three. By adding Friday Saturday and Sunday in the first week of March In order to make the event more efficient and bigger, and in 1999, it was considered a transitional period of the event organized according to the Amazing Thailand policy of the Tourism Authority of Thailand. Making the Boon Phawade tradition With the creation of the event format By adding activities to a variety of activities, such as organizing contests in various activities, distribution of shatsadokmahatran, light show, sound, mixed media in the Palang event, etc. in order to make the work more diverse and attract tourists. There are two main types of preaching in Roi Et Province. Is a sermon based on the book of leaves that scholars have authored as a long cast for preaching With the Dharma Isan alphabet But at present there are translations in Thai characters Which at present found that there are many expressions together But popular expressions used in preaching at the Boon Phawade tradition, Roi Et province are the expressions of S. Thammaphakdi. Such expressions require time to preach throughout the day to be able to preach to the end. Thus making the preacher who has expertise in writing poetry There is a new sermon created to make the sermon more concise. But the content of the story remains the same in all respects. It is called the Sermon or Sermon. The preacher must have a good tone. Allowing the listener to enjoy listening and not be bored with listening Can convince listeners to follow the Bodhisattva This application of sound sermons or sermons has a good results on the melodious sound that makes listeners to be able to benefit both the substance and the ritual. Boon Phawade is a traditional merit-making event that expresses unity and strength in the community. But the current economic and social conditions have changed Therefore requires cooperation from public and private organizations For each event to be successful Able to convey the culture which will lead to further promotion of cultural tourism.en
dc.description.abstractการศึกษาวิจัย การสร้างสรรค์บทเทศน์และการสร้างสรรค์ประเพณีบุญผะเหวดในจังหวัดร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์ประเพณีบุญผะเหวดในจังหวัดร้อยเอ็ด (2) เพื่อศึกษาตัวบทเทศน์ตามระเบียบวิธีวรรณกรรมศึกษา บุญผะเหวด หรือ บุญเดือน 4 เป็นประเพณีในฮีต 12 ของชาวอีสาน ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน ถือเป็นประเพณีอันสำคัญยิ่ง เพราะเชื่อว่าถ้าได้ฟังเทศน์มหาเวสสันดรชาดกให้จบในวันเดียวจะได้อานิสงส์สูงสุด ทำให้ได้เกิดร่วมศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรย์ ดังมีกล่าวไว้ในหนังสือมาลัยหมื่น มาลัยแสน ดังนั้นชาวอีสานจึงได้จัดงานบุญผะเหวดเป็นประเพณีสืบมา โดยเฉพาะในจังหวัดร้อยเอ็ดได้มีการจัดงานประเพณีบุญผะเหวดตามวัดในชุมชนเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว ต่อมาทางจังหวัดร้อยเอ็ด ได้เล็งเห็นถึงการจัดงานประเพณีเอกลักษณ์ของทางจังหวัด เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จึงได้มีการประชุมและเลือกเอาประเพณีบุญผะเหวดเป็นประเพณีประจำจังหวัดร้อยเอ็ด เพราะเชื่อว่าเนื้อหาของบุญผะเหวดสอดคล้องกับตำนานเมืองร้อยเอ็ด ซึ่งเดิมเชื่อกันว่าคือเมืองสาเกตุนคร ให้เป็นประเพณีเอกลักษณ์ประจำจังหวัดร้อยเอ็ดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา เพราะเห็นว่าเป็นงานประเพณีที่สำคัญของชาวอีสาน ในการจัดงานในแต่ละปีจะมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมงานทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก ผลการศึกษาพบว่า การจัดงานประเพณีบุญผะเหวดจังหวัดร้อยเอ็ด ช่วงเริ่มต้นของการจัดงาน มีการกำหนดวันจัดงานสองวันเหมือนการจัดงานประเพณีบุญผะเหวดทั่วไปในจังหวัดร้อยเอ็ด คือ วันเสาร์และอาทิตย์ในสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 ทางคณะกรรมการการจัดงานได้ขยายเวลาการจัดงานจากสองวันเป็นสาม โดยเพิ่มวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ในสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม เพื่อให้การจัดงานมีประสิทธิภาพและยิ่งใหญ่มากขึ้น และในปี พ.ศ. 2542 ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของรูปแบบการจัดงานตามนโยบาย Amazing Thailand ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทำให้การจัดงานประเพณีบุญผะเหวดเปลี่ยนแปลงไป มีการสร้างสรรค์รูปแบบการจัดงาน โดยการเพิ่มกิจกรรมให้มีความหลากหลาย เช่น การจัดการประกวดในกิจกรรมต่าง ๆ การแจกสัตสดกมหาทาน การแสดง แสง สี เสียง สื่อผสม ในงานพาแลง เป็นต้น เพื่อให้งานมีความหลากหลายและเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยว รูปแบบการเทศน์ผะเหวดของจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน มีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การเทศน์แบบลำผะเหวด เป็นการเทศน์ตามหนังสือใบลานที่นักปราชญ์ได้ประพันธ์ไว้เป็นร่ายยาวสำหรับเทศน์ ด้วยตัวอักษรธรรมอีสาน แต่ในปัจจุบันมีการแปลเป็นตัวอักษรไทย ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีหลายสำนวนด้วยกัน แต่สำนวนที่นิยมนำมาใช้เทศน์ในงานประเพณีบุญผะเหวดจังหวัดร้อยเอ็ด คือ สำนวนของ ส.ธรรมภักดี สำนวนดังกล่าวต้องใช้เวลาในการเทศน์ตลอดทั้งวันจึงจะสามารถเทศน์ให้จบได้ จึงทำให้พระนักเทศน์ที่มีความชำนาญด้านการเขียนกลอนเทศน์ มีการสร้างสรรค์ตัวบทเทศน์ขึ้นใหม่เพื่อให้ตัวบทเทศน์มีความกระชับขึ้น แต่เนื้อหาสาระของเรื่องยังเหมือนเดิมทุกประการ เรียกว่า การเทศน์เสียงหรือการเทศน์แหล่ประยุกต์ ผู้เทศน์จะต้องมีน้ำเสียงที่ดี ทำให้ผู้ฟังได้อรรถรสในการฟังและไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายต่อการนั่งฟัง สามารถโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังอยากทำตามพระโพธิสัตว์ การเทศน์เสียงหรือการเทศน์แหล่ประยุกต์นี้มีผลดีตรงที่ไพเราะเสนาะหูทำให้ผู้ฟังคล้อยตามทำให้ได้ประโยชน์ทั้งด้านสาระและพิธีกรรม บุญผะเหวดเป็นงานบุญประเพณีที่แสดงออกถึงความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันในชุมชน แต่ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้การจัดงานแต่ละครั้งประสบความสำเร็จ สามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมซึ่งจะนำไปสู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต่อไปth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectการสร้างสรรค์th
dc.subjectบทเทศน์th
dc.subjectประเพณีบุญผะเหวดth
dc.subjectCreationen
dc.subjectsermonsen
dc.subjectBoon Phawade traditionen
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.titleThe Dynamics of sermons and tradition Boon Phawade in Roi-Eten
dc.titleการสร้างสรรค์บทเทศน์และประเพณีบุญผะเหวดในจังหวัดร้อยเอ็ดth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010180016.pdf5.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.