Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/387
Title: | The Masculinity and Social Construction in Thai Novel Named "Roipa" ความเป็นชายกับการประกอบสร้างทางสังคมในนวนิยายไทยเรื่องร้อยป่า |
Authors: | Teemaporn Yeraboot ธีมาพร เยระบุตร Keerati Dhanachai กีรติ ธนะไชย Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences |
Keywords: | เพศสภาพ ความเป็นชาย การประกอบสร้างทางสังคม ตัวละคร นวนิยายไทยเรื่องร้อยป่า Gender Masculinity Social construction Character Thai novel named "Roi pa" |
Issue Date: | 31 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This thesis is aimed to study 1) the masculinity images in Thai novel named “Roi Pa” 2) study the masculinity images and social construction in Thai novel named “Roi Pa” by studying and analyzing the main characters and other characters who have the outstanding masculinity characteristics. The researcher chose to study Thai novel named “Roi Pa” was written by Aorachon (Sri Chaipreuk) and Pan Bangkok (Sompan Panateuk), Sillapabannakan publisher, part I, total 12 volumns.
The results found that there can be classified the masculinity images in Thai novel named “Roi Pa” into 4 points. The first point is the masculinity images by naming character which naming can indicate the outstanding characteristic, secondary sex characteristic, and social class of the character. The second point is the masculinity images indicate the character’s characteristic. It was found that the main characters and other characters in this novel have the different characteristics originated from socialization such as environment, nurturing, cultivation, education, social values, etc. The third point is the masculinity images from character’s physical appearance showing the physical difference of male character such as strong masculinity images, weak masculinity images, and slender shape masculinity images. The fourth point is the masculinity images, belief, values and social role of the characters such as the masculinity images and the belief of tattoo, the masculinity images and values of drinking alcohol, the masculinity images and belief of ordination, the masculinity images and the role of civil servants.
Furthermore, the masculinity images and social construction in Thai novel named “Roi Pa” can be separated into 3 points. First, the social construction of masculinity via the relationship between male character and other characters can be divided into 2 types: 1) the relationship between male and female character. 2) the relationship between two male characters. Second, the social construction of masculinity via the relationship between character and area are divided into 2 areas: 1) Forest area: the area for the social construction of masculinity as hero style. 2) City area: the area for honor, power and social class. Third, the social construction of ideology in Thai novel named “Roi Pa” which the story presents the lifestyle and social environment with the diversity of ideologies is patriarchy, nationalism, Buddhism, and educationism.
From the above mentioned points, it was found that Thai novel named “Roi Pa” reflects the viewpoint of gender diversity and believes that the masculinity was not naturally happened but originated from socialization. It also reflects the social construction of ideology diversity depends on thought, belief, attitude, and values of people in society of each generation. วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพความเป็นชายในนวนิยายไทยเรื่องร้อยป่าและภาพความเป็นชายกับการประกอบสร้างทางสังคมในนวนิยายไทยเรื่องร้อยป่า ผู้วิจัยเลือกศึกษาวิเคราะห์ตัวละครเอก และตัวละครอื่นๆที่มีลักษณะความเป็นชายที่เด่นชัด โดยศึกษานวนิยายไทยเรื่องร้อยป่า เขียนโดย อรชร (ศรี ชัยพฤกษ์) และพันธุ์ บางกอก (สมพันธ์ ปานะถึก) สำนักพิมพ์ ศิลปาบรรณาคาร ภาคแรก ทั้งหมด 12 เล่ม ผลการศึกษาพบว่าสามารถจำแนกภาพความเป็นชายในนวนิยายไทยเรื่องร้อยป่าได้ 4 ประเด็น ประเด็นแรกคือภาพความเป็นชายจากการตั้งชื่อตัวละคร ซึ่งการตั้งชื่อสามารถบ่งบอกถึง ลักษณะเด่น สถานะทางเพศ และชนชั้นฐานะของตัวละครได้ ประเด็นที่สองคือ ภาพความเป็นชายบ่งบอกลักษณะนิสัยตัวละคร จะเห็นได้ว่าตัวละครเอกและตัวละครอื่นๆในเรื่องมีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเกิดจากการขัดเกลาทางสังคม เช่น สภาพแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู การปลูกฝัง การศึกษา ค่านิยมทางสังคม เป็นต้น ประเด็นที่สามภาพความเป็นชายจากลักษณะทางกายภาพของตัวละคร แสดงให้เห็นความแตกต่างทางกายภาพของตัวละครชาย เช่น ภาพความเป็นชายแบบแข็งแรงกำยำ ภาพความเป็นชายแบบอ่อนแอ และภาพความเป็นชายแบบรูปร่างอรชร ประเด็นที่สี่ภาพความเป็นชายกับความเชื่อ ค่านิยม และบทบาททางสังคมของตัวละคร เช่น ภาพความเป็นชายกับความเชื่อเรื่องการสัก ภาพความเป็นชายกับค่านิยมการดื่มสุรา ภาพความเป็นชายกับความเชื่อเรื่องการบวชเรียน และภาพความเป็นชายกับบทบาทการเป็นข้าราชการ นอกจากนี้ ในส่วนของภาพความเป็นชายกับการประกอบสร้างทางสังคมในนวนิยายไทยเรื่องร้อยป่า ผู้วิจัยได้จำแนกเป็น 3 ประเด็น ประเด็นแรกคือ การประกอบสร้างความเป็นชายผ่านความสัมพันธ์ของตัวละครชายกับตัวละครอื่น แบ่งเป็นความสัมพันธ์ 2 รูปแบบคือ 1) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครชายกับตัวละครหญิง 2) ความสัมพันธ์ของตัวละครชายกับตัวละครชาย ประเด็นที่สองคือ การประกอบสร้างความเป็นชายผ่านความสัมพันธ์ของตัวละครกับพื้นที่ โดยแบ่งออกเป็นสองพื้นที่คือ พื้นที่ป่าไม้: พื้นที่แห่งการประกอบสร้างความเป็นชายแบบวีรบุรุษ และ พื้นที่เมือง: พื้นที่แห่งศักดิ์ศรี อำนาจ และการแบ่งชั้นทางสังคม ประเด็นที่สามคือ ประกอบสร้างสังคมอุดมการณ์ในนวนิยายไทยเรื่องร้อยป่า ซึ่งตัวบทได้นำเสนอให้เห็นวิถีชีวิตและสภาพสังคมแห่งความหลากหลายทางอุดมการณ์ คือ อุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ อุดมการณ์ชาตินิยม อุดมการณ์พุทธศาสนา อุดมการณ์การศึกษา จากการวิเคราะห์ในประเด็นที่กล่าวมาผู้วิจัยพบว่า นวนิยายไทยเรื่องร้อยป่าสะท้อนให้เห็นมุมมองเพศสภาพที่มีความหลากหลาย และเชื่อว่าความเป็นชายไม่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หากแต่เกิดจากการขัดเกลาของกระบวนการทางสังคม อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นการประกอบสร้างความเป็นสังคมแห่งอุดมการณ์ที่มีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมของคนในสังคมแต่ละยุคสมัย |
Description: | Master of Arts (M.A.) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/387 |
Appears in Collections: | The Faculty of Humanities and Social Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57010180021.pdf | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.