Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/388
Title: Developing English Descriptive Writing Ability by Balancing the Process-Writing and Product-Writing Approaches
การพัฒนาความสามารถการเขียนพรรณนาภาษาอังกฤษโดยเน้นความสมดุลระหว่างการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการและการสอนเขียนแบบเน้นผลงาน 
Authors: Wichan Noimuengpuey
วิชาญ น้อยเมืองเปลือย
Pimyupa Praphan
พิมพ์ยุพา ประพันธ์
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: วิธีการสอนที่เน้นกระบวนการและวิธีสอนที่เน้นผลงาน
ความสามารถการเขียน
Process and Product Approaches
Writing Ability
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this study was to develop the English descriptive writing ability by balancing the process approach and the product approach. The research was an one group pretest posttest design and investigated the students' writing performance, identifying the students’ writing achievement, and measuring their satisfaction towards balancing the two approaches. The population in this study was 500 Grade 9 students who studied Fundamental English in the second semester of the academic year 2016 at Roi-Et Wittayalai School, Roi-Et province. The sample were 35 students selected by using purposive sampling technique. The length of the experiment was 4 weeks of 20 hours. The instruments included the pre-test, the post-test, the portfolio, the reflection paper, writing assignments, and a questionnaire to measure the students’ satisfaction. T-test dependent, mean and standard deviation were used to analyze the data.  It was found that teaching writing by balancing the process approach and the product approach could develop the English descriptive writing ability of the students. Regarding the assessment of the students' performance, achievement, and satisfaction, the study showed that all were satisfactory (x̄ = 4.43, x̄ = 13.71, and x̄= 4.962 respectively) and the difference between the pre-test and the post-test scores is statistically significant at the level of .01 by using a directional (one-tailed) test. This research has highlighted the benefits of both teaching approaches and contributed to the teaching of writing to lower secondary schools.    
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถการเขียนพรรณนาภาษาอังกฤษโดยเน้นความสมดุลระหว่างการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการและการสอนเขียนแบบเน้นผลงาน โดยเป็นงานวิจัยศึกษากลุ่มเดียวและวัดก่อน-หลังการทดลอง (One Group Pretest Posttest Design) ประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 500 คนที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ภาคเรียนที่ 2 ในปีการศึกษา 2560 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/8 จำนวน 35 คนที่เรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ คิดเป็น 20 ชั่วโมง  เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบการเขียนก่อนเรียนและหลังเรียน แฟ้มสะสมผลงาน แบบแสดงความคิดเห็นต่อการเขียน แบบฝึกการเขียนพรรณนาภาษาอังกฤษโดยเน้นความสมดุลระหว่างการเน้นกระบวนการและการเน้นผลงาน และ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อวิธีการสอนดังกล่าว การวิเคราะห์ข้อมูลการปฏิบัติงานและผลสัมฤทธิ์ใช้ ค่าสถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test dependent) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ การสอนเขียนโดยใช้วิธีเน้นความสมดุลระหว่างการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการและการสอนเขียนแบบเน้นผลงานสามารถพัฒนาความสามารถการเขียนพรรณนาภาษาอังกฤษของนักเรียนได้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ผลการแสดงการปฏิบัติงาน ได้แก่ แฟ้มสะสมงาน แบบแสดงความคิดเห็นต่อการเขียน มีคะแนนออกมาดังนี้ x̄ = 4.43 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน และผลสัมฤทธิ์ในการเขียนของนักเรียนก็มีคะแนนออกมาคือ  x̄ = 13.71 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ในด้านความพึงพอใจ นักเรียนพอใจมากต่อรูปแบบการเรียนการสอนเขียนพรรณนาภาษาอังกฤษโดยเน้นความสมดุลระหว่างการเขียนแบบเน้นกระบวนการและการเขียนแบบเน้นผลงาน (x̄= 4.962) ในส่วนของคะแนนหลังการเรียน นักเรียนได้คะแนนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปได้ว่างานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงข้อดีของการสอนเขียนโดยเน้นผลงานและเน้นกระบวนการควบคู่กันไปซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะการเขียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/388
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010181011.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.