Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/390
Title: The Changes and the Preservation of Rituals and Traditions of Ban Non Duea Community Mueang District Mahasarakham Province  
การเปลี่ยนแปลงและการธำรงอยู่ของพิธีกรรมและประเพณีของชุมชนบ้านโนนเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Sangkharukphatchara Tiratummo
สังฆรักษ์พชร ซ้ายยศ (ถิรธมฺโม)
Kiattisak Bangperng
เกียรติศักดิ์ บังเพลิง
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: การธำรงอยู่
ความเปลี่ยนแปลง
ชุมชนบ้านโนนเดื่อ
พิธีกรรมและประเพณี
Remain
Changes
Ban Non Duea Community
Rituals and Traditions
Issue Date:  27
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:             This study utilized a Qualitative case study to investigate the change and preservation of rituals and traditions of Ban Non Duea Community, Mueang District, Mahasarakham Province. The data were analyzed and presented in the form of descriptive analysis.           The findings indicated that the Ban Non Duea community is the Lao community or “Thailsan” in the context of the Thai state like most communities in this region. Emerging is community that grew out of Ban Kho in year 2420. With leaders important person is father Boon Lakonthip to in addition the movement of people has spread Believe and Culture at Ban Kho to Ban Non Duea. Believe primitive at Community (Choapu Chang Wang and Mahaisaklakban holy thing consequential) and Buddhism is integrated into the culture of the community most traditional production methods are farming.  The time of the transition to the Non Duea community was combined with the growth of the city of Mahasarakham and the globalization that affected the landscape change, Economy and periodic community culture. The social economy and the community has a more structured urban structure. the Culture Consumption and tastes are according to the way of life of city people such as struggling economic passage. Trading, Construction contractor, include operations oneself any. The city encroach appreciable capital comes in Project a create to housing development increase. The Community begin outsider intermingle society Ban Non Duea to social to consist household hybridize old and new. Urban society living of life model giving provide the individual uplifting.           The however in Religion and Culture Non Duea community dominated to advancement at mentioned cause adjust Tradition Hit-Khong lose situation adjust follow to economy and culture social such as Hit reduction somewhat be Boonkhua karma, Boonkunlan, Boonbangfi, Boonsomha, and Boonkhaopradubdin. These Hit Implication to production path is community farming while become city. Hit render lose nonetheless not even waive Hit-Khong community. Community are Believe and Religion waste veriest but have adapted and comprehend Believe and Religion Tradition with context present as Srongpu Chang Wang ceremony brought in represent Boonbangfi recreation hilarious to vogue but ceremony pay homage and pray Choapu Chang Wang which is considered a sacred thing that the community has held for a long time. The which may come to act as a mental response coinciding with the economic lifestyle that faces risks of income and success therefore the unpredictable changes the community faces though Ban Non Duea community become a city being but meaning and adjust Culture according to their situation. The reflects that Ban Non Duea community representative community Lao/Thailsan the capriciousness to encounter the retain maintain Weremony and Tradition which reflects the community interweave thru adaptation bargain comprehend tradition flow oneself.      
        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการเปลี่ยนแปลงและการธำรงอยู่ของพิธีกรรมและประเพณีของชุมชนบ้านโนนเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยระเบียบวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม สังเกตุและสัมภาษณ์  แล้วนำข้อมูลมาพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านโนนเดื่อเป็นชุมชนลาวหรือ “ไทยอีสาน” ในบริบทรัฐไทยเฉกเช่นชุมชนโดยส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ เป็นชุมชนเกิดใหม่ที่ขยายตัวออกมาจากบ้านค้อในปี 2420 โดยมีผู้นำคนสำคัญคือ พ่อบุญ ลครทิพย์ ทั้งนี้นอกจากการเคลื่อนย้ายของคนแล้วยังแผ่กระจายความเชื่อและวัฒนธรรมจากบ้านค้อมายังหมู่บ้านโนนเดื่อด้วย ชุมชนจึงมีความเชื่อดั้งเดิม (โดยมีเจ้าปู่จางวาง และมเหศักดิ์หลักบ้านเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญ) และพุทธศาสนาผสมผสานกันเป็นวัฒนธรรมของชุมชน วิถีการผลิตดั้งเดิมส่วนใหญ่คือการทำนา ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่าน ชุมชนโนนเดื่อ ถูกผนวกเข้ากับการเจริญเติบโตของเมืองมหาสารคามและกระแสโลกาภิวัตน์จนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมของชุมชนเป็นระยะ ในด้านสังคมและเศรษฐกิจชุมชนมีโครงสร้างสังคมเป็นลักษณะเมืองมากขึ้น วัฒนธรรม การบริโภค และรสนิยม              เป็นตามวิถีชีวิตของคนเมือง อาทิ การดิ้นรนทางเศรษฐกิจ ทำการค้าขายบ้าง รับเหมาก่อสร้างบ้าง รวมถึงประกอบกิจการของตัวเองบ้าง การเป็นเมืองที่รุกคืบเข้ามานั้น ยังเห็นได้จากกรณีที่ทุนเข้ามาสร้างโครงการบ้านจัดสรรขึ้น จนเริ่มมีคนนอกเข้าแทรกตัวอยู่ในชุมชน สังคม บ้านโนนเดื่อจึงเป็นสังคมที่ประกอบไปด้วยครัวเรือนผสมผสานทั้งเก่าและใหม่ ดำเนินชีวิตแบบสังคมเมือง และเริ่มให้ความเป็นปัจเจกสูง แต่อย่างไรก็ดี ในด้านศาสนาและวัฒนธรรมนั้น ชุมชนโนนเดื่อที่ถูกครอบงำด้วยความเจริญตามที่กล่าวมาย่อมส่งผลให้จารีตฮีตคองปรับเปลี่ยน ลดหาย และปรับย้ายไปตามเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม อาทิ การลดหายไปของฮีตบางส่วน คือ บุญเข้ากรรม  บุญคูณลาน บุญบั้งไฟ บุญซำฮะ และบุญข้าวประดับดิน ซึ่งฮีตเหล่านี้มีนัยสัมพันธ์กับวิถีการผลิตคือ การทำนา แต่เมื่อชุมชนกลายเป็นเมืองแล้ว ทำให้ฮีตดังกล่าวนั้นเริ่มหมดหน้าที่และลดหายไป แต่ถึงกระนั้นชุมชนก็ไม่ถึงกับละทิ้งฮีตคอง ความเชื่อ และศาสนาไปจนสูญเสียความเป็นชุมชนเสียโดยสิ้นเชิง แต่ได้ปรับตัวและตีความหมายความเชื่อและวัฒนธรรมจารีตให้เข้ากับบริบทปัจจุบัน เช่น การจัดพิธีสรงเจ้าปู่จางวาง ที่ถูกนำเข้ามาแทนที่บุญบั้งไฟ อันเป็นการละเล่นเฮฮาตามสมัย แต่ก็เป็นการทำพิธีกราบไหว้บูชาและขอพรเจ้าปู่จางวางที่ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนยึดถือมาช้านาน ซึ่งอาจจะเข้ามาทำหน้าที่ตอบสนองทางจิตใจประจวบเหมาะกับวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจที่เผชิญกับความเสี่ยงเรื่องรายได้และความสำเร็จ ฉะนั้น ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่ชุมชนเผชิญอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ แม้ชุมชนบ้านโนนเดื่อกำลังกลายเป็นเมือง แต่ก็ตีความหมายและปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมของตนเองตามสถานการณ์อยู่เสมออันสะท้อนให้เห็นว่า ชุมชนบ้านโนนเดื่อในฐานะตัวแทนชุมชนลาว/ไทยอีสาน เมื่อเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง ก็ยังธำรงรักษาพิธีกรรมและประเพณีอันสะท้อนความเป็นชุมชนไว้อย่างผสมผสานผ่านการปรับตัวต่อรองและตีความหมายจารีตประเพณีของตัวเองอย่างเลื่อนไหล
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/390
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010154004.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.