Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/391
Title: Buddhism Identity of the Thai Siamese-Malaysia Community in Ban Makison Village Pedang  District of Kedah in Malaysia
อัตลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาของชุมชนชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยในหมู่บ้านไม้สน อำเภอเมืองเปิ้นดัง รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย
Authors: panyatheerapon Somsuay Jantaprathak (Theerapanyo)
ปัญญาธีราภรณ์ สมสวย จันทร์ประทักษ์ (ธีรปัญโญ)
Kiattisak Bangperng
เกียรติศักดิ์ บังเพลิง
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: อัตลักษณ์ทางพุทธศาสนา
ชุมชนชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย
บ้านไม้สน
Buddism Tradition Identity
Siamese-Malaysia Community
Ban Makison
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:      This research aims To study the Buddhist identity of the Ban Son Son community in relation to Thai being in the context of the national state By participatory research methodology Observe and interview And then use the data to describe the analysis.       The research found that buddism tradition identity in the past to the present it is important buddhist day such as Makha Bucha Day, Vesak Day, Asanha Bucha Day, Khao Phansa Day, The End of Buddhist Lent Day, Tradition Ordination, Songkran Festival, Parade Candle Lent, Kathin Ceremony, Loykratong Festival, Nora Teachers Ceremony etc. The tradition has the relationship with Thailand all traditions. Although the characteristics are minorities can also preserve culture religion and languages which the identity of self. Which Malaysia is a country that pays much attention to Islam but Siamese-Malaysian community in Ban Mai Son descent in the northern part of the country buddhism is still in the area as well. By the measure of the center of the mind is the role of various functions over is a religious place is the existence of a buddhist, a buddhist source of knowledge in thai language. In addition the value of ordination the Siamese-Malaysian community in Ban Mai Son it reflects that Buddhism is rooted in the soul. And create a mental value for the Siamese-Malaysian community in Ban Mai Son maintaining good ritual traditions in ordination to maintain his status as a successor to the successor to buddhism, and maintain a religious institution with dignity in society, and culture of racism. Which the ritual of ordination also show the unity power of the community members to be united.        Participation in such traditions and rituals it is the communication of people in the community from generation to generation. And it also gives Siamese-Malaysian community descent the opportunity to learn and understand the context of their own community through inheritance, tradition, culture, religion, beliefs and rituals the thai identity is still under borders the Thai-Malay states split into two. Siamese-Malaysian community in Ban Mai Son thai traditions still remain significantly link with thai through traditional culture the key is Buddhism even in the midst of the Muslim community that is the main population of the country.
     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตลักษณ์พุทธศาสนาของชุมชนบ้านไม้สนที่สัมพันธ์กับความเป็นไทยในบริบทรัฐชาติ โดยระเบียบวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม สังเกตและสัมภาษณ์ แล้วนำข้อมูลมาพรรณนาวิเคราะห์      ผลการวิจัยพบว่า ประเพณีทางพุทธศาสนาที่มีอัตลักษณ์เฉพาะชุมชนในอดีตจนถึงปัจจุบัน คือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา อาทิ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา ประเพณีการบวช ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ประเพณีทอดกฐิน ประเพณีลอยกระทง พิธีกรรมโนราโรงครู เป็นต้น ซึ่งประเพณีที่กล่าวมามีความสัมพันธ์กับไทยทุกประเพณี แม้ลักษณะเป็นชนกลุ่มน้อยที่ยังสามารถดำรงรักษาวัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของตนเองไว้ได้ ซึ่งประเทศมาเลเซียนั้นเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับศาสนาอิสลามเป็นหลักแต่ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยบ้านไม้สนทางตอนเหนือของประเทศยังคงดำรงพุทธศาสนาในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี โดยใช้วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจทำให้วัดมีบทบาทหน้าที่ต่างๆ มากกว่าการเป็น ศาสนสถาน คือ การดำรงความเป็นชาวพุทธ การเป็นแหล่งความรู้ทางพุทธในการถ่ายทอดภาษาไทย นอกจากนี้ ค่านิยมการบวชของชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยบ้านไม้สนยังสะท้อนให้เห็นว่าพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกอยู่ในจิตวิญญาณ และสร้างคุณค่าทางจิตใจให้ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยบ้านไม้สนยังคงไว้ซึ่งพิธีกรรมประเพณีอันดีงามในการบวชเพื่อดำรงตนในฐานะศาสนทายาทที่ช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงสถาบันศาสนาไว้ได้อย่างมีศักดิ์ศรีท่ามกลางสังคมและวัฒนธรรมต่างชนชาติ ซึ่งพิธีกรรมการบวชยังแสดงพลังความสามัคคีของสมาชิกในชุมชนให้เป็นปึกแผ่นด้วย      การมีส่วนร่วมในประเพณีและพิธีกรรมดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการติดต่อสื่อสารของคนในชุมชนจากรุ่นสู่รุ่น และยังทำให้ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยได้มีโอกาสเรียนรู้และเข้าใจในบริบทชุมชนของตนเองผ่านการสืบทอดขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อและพิธีกรรม ที่ยังคงความมีตัวตนผสมผสานกับความเป็นไทยอยู่ภายใต้เส้นพรมแดนที่แยกออกเป็นสองรัฐชาติไทย-มาเลย์ ชุมชนมาเลเซียเชื้อสายไทยในหมู่บ้านไม้สนจึงยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทยอย่างมีนัยสำคัญเชื่อมโยงกับความเป็นไทยผ่านวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญคือพุทธศาสนา ถึงแม้จะอยู่ท่ามกลางการล้อมรอบด้วยชุมชนมุสลิมที่เป็นประชากรหลักของประเทศ
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/391
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010154010.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.