Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/392
Title: | The Sacred Space of the Communities to Promote Religious Tourism in the Area of Ban Mai Chaiyaphot District, Buriram Province, Case Study; Prang Ku Suan Taeng, Ku Ruesi and Phra Phutthajarn ความทรงจำพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาในเขตพื้นที่อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ กรณีศึกษา: ปรางค์กู่สวนแตง กู่ฤาษี และพระพุฒาจารย์ |
Authors: | Tanom Boonprajong ถนอม บุญประจง Chalong Phanchan ฉลอง พันธ์จันทร์ Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences |
Keywords: | ความทรงจำ พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ กู่ ประเพณีประดิษฐ์ การท่องเที่ยวเชิงศาสนา Memories Sacred areas Ku Invented tradition Religious tourism |
Issue Date: | 10 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research aims To study the history of religious places, Sacred space and Invented tradition To be used as a guideline to promote religious tourism in the area of Ban Mai Chaiyaphot District, Buriram province, Is a qualitative research using interview form From 39 samples / person, by in-depth interviews And observations To use the data to analyze the content and present the descriptive analysis.
The study indicated that there are 3 important religious places, namely Prang Ku Suan Taeng, Ku Ruedi and Phra Phutthajarn, Which is a valuable resource in the history of archeology and history in the area of religious places Which has a belief that is caused by the story of the ancestor's memory that is a sacred area with the protection of the satyr and the community has a ritual for blessing or to fulfill it for their purposes Caused by the belief in the sacredness that can be accomplished and can inspire fortune to fulfill With a holy water pool of 108 inverted ones That appeared in the Ku Risai area, called Barai, Is a quadruple shaped pool adorned with laterite stone, the edge of the pool In the legend, there is a belief that a serpent resides in the sanctuary. For Phra Phutthajarn Which is an ancient Buddha image, enshrined in the temple of Wat Sa Chan Which the local community has the belief that it is a sacred Buddha image and is a place of religious merit making. The Invented tradition Appears to have been held in the Prang Ku Suan Taeng area, ie the fire festival, Prang Ku Suan Taeng Festival and Bun Bai Fai and the Praang Ku Suan Taeng tradition. Ku Ruisi has organized a tradition of Ku Ruesi and festivals, Phra Phutthajarn There is a tradition of heat twelve. But the tradition is invented to blend seamlessly into popular society today. Therefore, religious tourism is based on research results. Background, Sacred space and artificial traditions, To be used as a guideline to promote religious tourism. งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นมาของศาสนสถาน ความทรงจำพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ และประเพณีประดิษฐ์ เพื่อใช้เป็นแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาในเขตพื้นที่อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 39 รูป/คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า มีศาสนสถานที่สำคัญ จำนวน 3 แห่ง คือ ปรางค์กู่สวนแตง กู่ฤๅษี และพระพุฒาจารย์ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี และความเป็นมาในพื้นที่ของศาสนสถาน ซึ่งมีคติความเชื่อที่เกิดจากเรื่องเล่าในความทรงจำของบรรพบุรุษว่าเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์มีเทพารักษ์คุ้มครองรักษา และชุมชนมีพิธีกรรมขอพรหรือบนบานให้สำเร็จตามจุดประสงค์ของตน เกิดจากคติความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถบันดาลให้สำเร็จ และสามารถบันดาลโชคลาภให้สมหวังได้ พร้อมด้วยมีสระน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ของฤๅษี 108 ตน ที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่กู่ฤๅษี เรียกว่า บาราย เป็นสระรูปสี่เหลียมประดับด้วยหินศิลาแลงกรุขอบสระ ในตำนานมีคติความเชื่อว่ามีพญานาคอาศัยอยู่เพี่อรักษาสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ สำหรับพระพุฒาจารย์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโบราณทรงประดิษฐานในพระอุโบสถของวัดสระจันทร์ ซึ่งชุมชนท้องถิ่นมีคติความเชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ และเป็นสถานที่บำเพ็ญบุญทางพระพุทธศาสนา ส่วนประเพณีประดิษฐ์ ปรากฏว่ามีการจัดขึ้นในพื้นที่ปรางค์กู่สวนแตง คือ งานประเพณีบุญบั้งไฟเสี่ยงทาย งานประเพณีปรางค์กู่สวนแตงและบุญบั้งไฟ และงานประเพณีปรางค์กู่ สวนแตง ส่วนกู่ฤๅษี มีการจัดงานประเพณีกู่ฤๅษี และงานประเพณีนักขัตฤกษ์ ส่วนพระพุฒาจารย์ มีการจัดงานประเพณีของฮีตสิบสอง แต่ประเพณีประดิษฐ์เข้าไปผสมผสานได้อย่างลงตัวเป็นที่นิยมของสังคมในปัจจุบัน ดังนั้น การท่องเที่ยวเชิงศาสนาเกิดขึ้นจากผลการวิจัย ความเป็นมาของศานสถาน ความทรงจำพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ และประเพณีประดิษฐ์ เพื่อนำมาเป็นแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนา |
Description: | Master of Arts (M.A.) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/392 |
Appears in Collections: | The Faculty of Humanities and Social Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59010154001.pdf | 9.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.