Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/40
Title: | Development Of Project-Based Learning Management Approach For Teachers Under Buengkan Primary Educational Service Area Office การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ |
Authors: | Poramate Muthapon ปรเมศวร์ มุทาพร Suracha Amornpan สุรชา อมรพันธุ์ Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน การพัฒนาแนวทาง Project-Based Learning Management Development Guideline |
Issue Date: | 15 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This “Development Of Project-Based Learning Management Approach For Teachers Under Buengkan Primary Educational Service Area Office” research focused on 1) studying the need assessment of Project-Based Learning (PBL) arrangement of the teachers under Buengkan Primary Educational Service Area Office and 2) developing the development guideline for teachers in arrangement of PBL, by using Research and Development methods devided in 2 phases. The first phase was to study the current conditions and desirable conditions for arranging the PBL. The samples were 329 primary school teachers determined by using Krejcie and Morgan’s sample size calculation formula. This phase’s instruments were approved by 5 specialists. The second phase was to develop the development guideline for teachers in PBL arrangement by studying 3 best well-known of PBL arrangement schools, selected by purposive sampling, which were 1) Ban Phum Community School under the Roi-Et Primary Education Service Area Office 2 2) Ban Nong Han School (Teacher's Day 2502) under Udon Thani Primary Education Service Area office 3 And 3) Ban Don Kha School Sisaket Primary Education Service Area Office 4. The development guideline was evaluated by 5 specialists. The data were collected by using evaluation form, interview form.
The research found that
1) The need assessment of PBL arrangement of teachers under Buengkan Primary Educational Service Area Office consisted of 6 aspects which were most needed to develop, sorted in descending order as followed, 1) Project Presentation 2) Project Launching 3) Problem Identification and Topic Choosing 4) Process Report Writing 5) Project Planing Outline and 6) Related Theories Studying.
2) Buengkan Primary Educational Service Area Office had a development guideline for teachers under control in arranging PBL in 6 aspects which were Problem Identification and Topic Choosing, Related Theories Studying, Project Planing Outline, Process Report Writing and Project Presentation. The Evaluation from specialist also showed that the suitability of the guideline for developing teacher under Buengkan Primary Educational Service Area Office in PBL arrangement was in the highest level and the possibility is in high level. การศึกษาวิจัย การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 2) เสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 329 คน โดยการคำนวณจากสูตรของเครซีและมอร์แกน ผู้เชี่ยวชาญเครื่องมือการวิจัย จำนวน 5 คน และระยะที่ 2 เสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู โดยการศึกษาสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีเยี่ยม จำนวน 3 แห่ง โดยการเลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์การพิจารณาคือ มีการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นที่ประจักษ์เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน ดังนี้ 1) โรงเรียนชุมชนบ้านผำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 2) โรงเรียนบ้านหนองหาน (วันครู 2502) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 และ 3) โรงเรียนบ้านดอนข่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1. ความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ซึ่งประกอบไปด้วย 6 ด้าน พบว่า ลำดับความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) การนำเสนอผลงาน 2) การลงมือดำเนินงาน 3) การกำหนดปัญหาเลือกหัวข้อ 4) การเขียนรายงานการดำเนินงาน 5) การวางแผนเขียนเค้าโครงการ และ 6) การศึกษาข้อมูลทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ 2. แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มีการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 1) ส่งเสริมสนับสนุน 2) จัดให้ครูดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกัน และ 3) ประเมินความก้าวหน้า ผลการประเมินแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/40 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59030580041.pdf | 2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.