Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/409
Title: Development of Spouted Bed Air Dehumidifier for Drying Process
การพัฒนาเครื่องลดความชื้นอากาศแบบสเปาเต็ดเบดสำหรับกระบวนการอบแห้ง
Authors: Arthit Peanngam
อาทิตย์  เพียรงาม
Nares Meeso
นเรศ มีโส
Mahasarakham University. The Faculty of Engineering
Keywords: การลดความชื้นในอากาศ
เทคนิคสเปาเต็ดเบด
ส่วนดูดซับความชื้นแบบดาวคัมเมอร์
ส่วนฟื้นฟูสภาพสารดูดซับความชื้นแบบสเปาส์
Air Dehumidification
Spouted-bed Technique
Downcomer Absorption
Spout Regeneration
Issue Date:  21
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objective of this study was to develop a spouted air dehumidifier for drying process of Hom Mali rice.The spouted air dehumidification was divided into two parts; namely, downcomer absorption studied included; absorption thicknesses of 3 6 and 9 cm, mass flow rate moisture absorbents of 0.1, 0.2 and 0.3 k/s and air flow rate of 2.0 ,3.0 and 4.0 m3/ min and spout regeneration studied included; air temperature of 60, 70 and 80 ºC , air velocities of 20, 22 and 24 m/s and height of the draft plate of 70 80 and 90 cm. The experimental result found that the spouted-bed air dehumidifies could reduce the air humidies ranged 80-85% RH to 15-20%RH. The optimum condition in the spouted-bed air Humidifier was that absorption thickness of 6 cm, mass flow rate moisture absorbents 0.2 k/s and air flow rate of 3.0 m3/ min. regeneration air temperature of 60 ºC , height of the draft plate 70 80 and 90 cm and regeneration air velocity of 22 m/s. Under such conditions baked and dried by using air with low temperature and low relative humidity originated from a spouted air dehumidifier Compared with conventional hot air paddy drying with low temperature 40 ± 2 ˚C, it can be concluded that the drying time can be reduced to 100 minutes when compared to general hot air. Increase the production capacity of paddy drying up to 35.7% and better quality than conventional hot air drying at high temperature levels.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเครื่องลดความชื้นอากาศแบบสเปาเต็ดเบดสำหรับกระบวนการอบแห้ง ซึ่งเครื่องลดความชื้นในอากาศดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนดูดซับความชื้นแบบดาวน์คัมเมอร์ ที่ศึกษาประกอบไปด้วย ความหนาของส่วนดูดซับความชื้น 3 6 และ 9 cm อัตราการไหลเชิงมวลของสารดูดซับความชื้น 0.1 0.2 และ 0.3 kg/s  อัตราการไหลเชิงปริมาตรของอากาศ 2.0 3.0 และ 4.0 m3/min และส่วนฟื้นฟูสภาพสารดูดซับความชื้นแบบสเปาส์ ที่ศึกษาประกอบด้วย อุณหภูมิอากาศ 60 70 และ 80 ºC และความเร็วของอากาศ 20 22 และ 24 m/s ความสูงของ draft plate 70 80 และ 90 cm จากผลการทดลองพบว่าเครื่องลดความชื้นในอากาศแบบสเปาเต็ดเบด สามารถลดความชื้นในอากาศจากช่วง 80-85% RH ลงเหลือ 15-20 %RH เงื่อนไขที่เหมาะของเครื่องลดความชื้นในอากาศแบบสเปาเต็ดเบด คือความหนาส่วนดูดซับความชื้น 6 cm อัตราการไหลเชิงมวลของสารดูดซับความชื้น 0.2 kg/s อัตราการไหลเชิงปริมาตรของอากาศ 3.0 m3/min อุณหภูมิของอากาศฟื้นฟู 60 ˚C ความสูงของ draft plate 80 cm และความเร็วอากาศของส่วนฟื้นฟู 22 m/s ซึ่งภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว นำไปอบแห้งข้าวเปลือกโดยใช้อากาศที่มีอุณหภูมิต่ำและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ที่กำเนิดจากเครื่องลดความชื้นอากาศแบบสเปาเต็ดเบด เปรียบเทียบกับการอบแห้งข้าวเปลือกด้วยอากาศร้อนทั่วไปที่มีอุณหภูมิต่ำ 40±2 ˚C สรุปได้ว่าสามารถลดระยะเวลาการอบแห้งได้ถึง 100 นาที เมื่อเปรียบเทียบกับอากาศร้อนทั่วไป เพิ่มกำลังการผลิตการอบแห้งข้าวเปลือกไปได้ถึง 35.7% และมีคุณภาพที่ดีกว่าการอบแห้งด้วยอากาศร้อนทั่วไปที่ระดับอุณหภูมิสูง
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/409
Appears in Collections:The Faculty of Engineering

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56010362009.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.