Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/421
Title: The Development of Blended Learning Environment Model for Communicative Language Teaching Using Active Learning  to Enhance Creative Communication Skill and Collaboration skills for Undergraduate Students 
การพัฒนาโมเดลสภาพแวดล้อมการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแบบผสมผสาน ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมทักษะในการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ และทักษะการทำงานร่วมกันของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Authors: Jintana Verapreyagoon
จินตนา วีระปรียากูร
Pachoen Kidrakarn
เผชิญ กิจระการ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: สภาพแวดล้อมการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
กระบวนการเรียนรู้เชิงรุก
ทักษะในการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์
ทักษะการทำงานร่วมกัน
ภาษาอังกฤษ
blended learning environment
active learning
creative communication skill
collaboration skill
communicative language
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The specific objectives of the research were to 1) study the currents problems, conditions, and requirements of the blended learning environment model for communicative language teaching using active learning to enhance creative communication skill and collaboration skills for lectures and students, 2) study and develop the main factors and characters of the blended learning environment model for communicative language teaching and 3) investigate the results of using the developed blended learning environment model for communicative language teaching using active learning to enhance creative communication skill and collaboration skills for undergraduate students. There are 4 phases in this research. Phase 1, the deep interview form for the experts and the questionnaires for lectures and students were used to gather the information about currents problems, conditions, and requirements of the blended learning environment model for communicative language teaching using active learning.  Phase 2, studies and developed the main factors and characters of the blended learning environment by using the questionnaires from the 93 samples included 29 lectures and 64 students. There were the 3 assessment tools were assessed by 7 experts. Phase 3 was to investigate the results of using the developed blended learning environment courseware and the classroom activities based on the model and phase 4  was to analyze the data from using the model. The results found that    1) the currents problems for lecturers were a moderate level but at a high level for the students. The requirements of the blended learning environment model for communicative language teaching using active learning from lectures and students were in high level.   2) the experts agreed with  5 all the main factors and characters: learning physical environment, psychological environment, social environment, information environment, and teaching and learning processes at the high level. 3) the results of using the developed blended learning environment model were increased statistically significant at the level of 0.05. The collaboration skills were in high level. However, the creative communication skills, there was only one group from 5  got to pass by doing the activities from the blended learning environment model while the other groups got good scores. The students were satisfied with their good attitude to the blended learning environment model at the high level.
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาปัญหา สภาพปัจจุบัน และความต้องการ ต่อสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนในการเรียนการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแบบผสมผสาน ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก ของอาจารย์ และนักศึกษา 2) เพื่อศึกษา พัฒนาองค์ประกอบหลัก และโมเดลสภาพแวดล้อมในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 3) เพื่อทดลองและศึกษาผลการใช้โมเดลสภาพแวดล้อมการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแบบผสมผสาน ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมทักษะในการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ และทักษะการทำงานร่วมกันของนักศึกษาระดับปริญญาตรี การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหา สภาพปัจจุบัน และความ ต้องการ ต่อสภาพแวดล้อมของการเรียนการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแบบผสมผสาน ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ให้ข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์  และการสอบถามเกี่ยวกับปัญหา สภาพปัจจุบันและความต้องการจากกลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 2 สำรวจและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการพัฒนาโมเดลฯ จากอาจารย์ผู้สอน 29 คน และนักศึกษา 64 คนรวม 93 คน       ด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับความสอดคล้องขององค์ประกอบการสร้างและพัฒนาโมเดล พร้อมกับตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดโมเดลฯ ที่มี 3 ฉบับ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ และแบบวัดทักษะการทำงานร่วมกัน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน ระยะที่ 3 การทดลองรูปแบบบทเรียนแบบแบบผสมผสาน ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก ซึ่งจะมีการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีกระบวนการประเมินทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ร่วมกัน และการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามโมเดลฯ การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามโมเดลฯ และการสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาต่อโมเดลฯ ในระยะนี้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ที่เข้าร่วมการทดลองจำนวน 35 คน หรือ 1 ห้องเรียน ระยะที่ 4 การวิเคราะห์ผลการใช้โมเดลฯ ซึ่งเน้นที่ทักษะการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหาเป็นหลัก ผลการวิจัยพบว่า   1) สภาพแวดล้อมของการเรียนการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร แบบผสมผสาน ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ของอาจารย์ผู้สอนและของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ พบว่าปัจจุบันสภาพแวดล้อมฯ ยังเป็นปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาระบุว่าเป็นปัญหาค่อนข้างมาก นอกจากนี้ทั้งอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษามีระดับความต้องการมากต่อสภาพแวดล้อมของการจัดการเรียนการสอนฯ 2) องค์ประกอบโมเดลสภาพแวดล้อมฯ ที่สำคัญและมีค่าความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก จากการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านกายภาพ 2. ด้านจิตภาพ 3. ด้านสังคม 4. ด้านสารสนเทศ และ 5. ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน 3) ผลการทดลองและศึกษาผลการใช้โมเดลฯ ที่ทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานและรูปแบบการจัดกิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนเชิงรุก พบว่า โมเดลฯ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางตัดสถิติที่ระดับ 0.05  ในส่วนของทักษะการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์  ในการเรียนบทเรียนแบบผสมผสานและรูปแบบการจัดกิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนเชิงรุก เรื่องการบอกทิศทาง จากผลการประเมินนักศึกษาทั้ง 5 กลุ่ม มี 4 กลุ่มที่ ปฏิบัติได้ในระดับดี มีเพียง 1 กลุ่มเท่านั้นที่ปฏิบัติได้ในระดับผ่าน และระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/421
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55010563004.pdf4.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.