Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/422
Title: The Development of Productivity Based Instruction Model for Enhancing The Educational Innovation Skills for Undergraduate Student in The Faculty of Education in The North Eastern Rajabhat University.
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Authors: Tananya Khamkhum
ทนันยา คำคุ้ม
Thapanee Seecha
ฐาปนี สีเฉลียว
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ
นวัตกรรมการศึกษา
Productivity Based Instruction Model
Educational Innovation
Issue Date:  31
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:        The Development of Productivity Based Instruction Model for Enhancing The Educational Innovation Skills for Undergraduate Student in The Faculty of Education in The North Eastern Rajabhat University. The purpose aims to  1) Study the elements of Productivity Based Instruction 2) Development of Productivity Based Instruction and 3) Compare of the innovation skills of the students using Productivity Based Instruction Model of the experimental group with the normal teaching of the control group. The research method was divided into 3 phases. Phase 1: Study the elements of Productivity Based Instruction. Phase 2: Development of Productivity Based Instruction and Phase 3: Compare of the innovation skills of the students using Productivity Based Instruction Model of the experimental group with the normal teaching of the control group. The samples of this research included 28 student’s in the faculty of Education Roi Et Rajabhat University was learned the course on Innovation and Technology in Education are experimental group used the Productivity Based Instruction Model. The  statistics  used  were  percentage,  mean,  standard  deviation,  and  Independent  samples  t-test.        The  research  results  were  as  follows.        1.  The study of the elements of Productivity Based Instruction Model  has 4 main elements that are 1) Principles and concepts  2) The purpose of the model  3) Teaching Process and  4) Measurement and Evaluation        2.  Productivity Based Instruction Model has 4 main elements that are 1) Principles and concepts of Productivity Based Instruction Model  2) The purpose of Productivity Based Instruction Model  3) Teaching Process of Productivity Based Instruction Model  and  4) Measurement and Evaluation of Productivity Based Instruction Model.  The process of teaching productivity for enhancing the educational innovation skills  has 4 steps that are 1) Planning and preparation 2) Self-Directed 3)  Presentation of progress and 4) Measurement and Evaluation. Used of technology to support all teaching activities.        3.  The results of the comparison of students' innovation skills between experimental group and control group are 1) The average score on the cognitive domain of experimental group was an overall cognitive score on the principle of innovation after used this model higher than the control group at the statistical significance level of .05 2) Psychomotor Domain score of experimental group had the average skill range was very good and control group had the average skill range was good 3) Analyze learners' satisfaction toward Productivity Based Instruction Model found the learners were satisfied with the Productivity Based Instruction Model at the high level.
       การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา  สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพฯ  2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพฯ 3) เปรียบเทียบทักษะการสร้างนวัตกรรมการศึกษาของนักศึกษาที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ ฯ ของกลุ่มทดลองกับการเรียนการสอนแบบปกติของกลุ่มควบคุม ผู้วิจัยแบ่งขั้นตอนการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ  และระยะที่ 3 การเปรียบเทียบทักษะการสร้างนวัตกรรมการศึกษาของนักศึกษาที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ ฯ ของกลุ่มทดลองกับการเรียนการสอนแบบปกติของกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ชั้นปีที่ 2 ที่เรียนในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา จำนวน 28 คน เป็นกลุ่มทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพฯ ที่พัฒนาขึ้น  สถิติที่ใช้ ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ  Independent  Samples  t-test        ผลการวิจัยพบว่า        1.  ผลการศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพฯ  พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพฯ โดยการศึกษาจากทฤษฎีและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  แล้วนำมาสังเคราะห์เป็นองค์ประกอบของรูปแบบ สรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพฯ ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและแนวคิด  2)  วัตถุประสงค์ของรูปแบบ  3) กระบวนการจัดการเรียนการสอน และ 4)  การวัดและประเมินผล         2.  ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและแนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ  2)  วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ    3) กระบวนการจัดการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ  และ 4)  การวัดและประเมินผล  มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ เพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผนและเตรียมความพร้อม  2) การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 3) การนำเสนอความก้าวหน้า 4) การวัดและประเมินผล  โดยมีการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนทุกขั้นตอน        3.  ผลการการเปรียบเทียบทักษะการสร้างนวัตกรรมการศึกษาของนักศึกษาที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ ฯ ของกลุ่มทดลองกับการเรียนการสอนแบบปกติของกลุ่มควบคุม จากการวัดประเมินทั้ง 3 ด้าน คือ 1) การประเมินด้านพุทธิพิสัยหลังเรียนคะแนนเฉลี่ยด้านด้านพุทธิพิสัย หลังเรียนของกลุ่มทดลองมีคะแนนด้านความรู้ความเข้าใจในภาพรวมเกี่ยวกับหลักการสร้างนวัตกรรมการศึกษาหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม  ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) การประเมินด้านทักษะพิสัยผู้เรียนกลุ่มทดลองที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพฯ  มีคะแนนรวมด้านทักษะพิสัยเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก และผู้เรียนกลุ่มควบคุมที่จัดการเรียนการสอนแบบปกติ มีคะแนนรวมด้านทักษะพิสัยอยู่ในระดับดี  3)  การประเมินด้านจิตพิสัยโดยการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อรูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพฯ  พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพเพื่อพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการศึกษา อยู่ในระดับพึงพอใจมาก  
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/422
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55010563006.pdf8.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.