Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/433
Title: Developing Professional Learning Community-based Internal Supervision Model for Secondary School
การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา
Authors: Athis Chaikhirin
อธิศ ไชยคิรินทร์
Boonchom Srisa-ard
บุญชม ศรีสะอาด
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนารูปแบบ
การนิเทศภายใน
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
Development of Model
Professional learning Community
Internal Supervision
Issue Date:  9
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to develop and evaluate effectiveness of internal supervision model by using professional learning community processes for secondary schools. Research methodology as research and development the implementation of 3 stages of research were to study current and desirable states on internal supervision and professional learning community in secondary school; development of internal supervision model by using professional learning community-based for secondary school; and evaluation of effectiveness of internal supervision model by using a professional learning community for secondary schools. 280 of target groups on phase 1 were school administrator, teacher and educational personnel, and 38 of target groups on phase 3 were the deputy director of academic affairs, and head of learning group. The research instruments used were 5-point rating scale questionnaires, structured interview, performance assessment form and satisfaction assessment form were used for data collection. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, PNIModified, and paired t-test. The findings were as follows: 1) The study current and desirable states on internal supervision and professional learning community in secondary school, 1) overall, the current state was at a high level (Mean = 3.68) and the desirable state on the internal supervision in the secondary school was also at a high level (Mean = 3.89), respectively. When considering the need index, it was found that the internal supervision on planning gained the need index with the highest level from all 5 aspects. 2) All in all, the current state was at a high level (Mean = 3.84) and the desirable state on professional learning community was also at a high level (M = 3.95), respectively. When considering the need index, it was found that the professional learning community was shared vision base with the highest level of the need index from all 6 aspects. 2) Internal supervision model by using the professional learning community process for secondary school, it were found that the internal supervision model consisted of 5 elements, namely: preparing; planning; implementing; reflecting, improving and evaluating; and concluding and reporting. In addition, the professional learning community consisted of 6 elements, namely; shared vision; collaborative teamwork; shared leadership; professional learning and development; caring community; and supportive structures. The model, on the whole, was theoretical reasonable and possible at a high level (Mean = 4.32, SD = 0.38) 3) Deputy directors of academic affairs and the heads of learning department gained higher knowledge score on internal supervision and professional learning communities than before with statistical significance (p <0.001) that the score increased up to 9.57 (95% CI: 8.63-10.52). Implementing score based on internal supervision model and professional learning community, on the whole, were higher than before with statistical significant (p <0.001) that the scores increased up to 1.54 points (95% CI: 1.35-1.72), as well as the satisfaction score was overall at a high level (Mean = 4.14, SD = 0.3) 
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการวิจัยและพัฒนาการดำเนินการวิจัย 3 ระยะคือ การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการดำเนินการนิเทศภายในและการใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในและการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มเป้าหมายในระยะที่ 1 เป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 280 คน และระยะที่ 3 เป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการ และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 38 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมินการปฏิบัติงาน และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน PNIModified และสถิติทดสอบที (Paired t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการดำเนินการนิเทศภายในและการใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า 1) สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.68) และสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.89) เมื่อพิจารณาค่าดัชนี ความต้องการจำเป็น พบว่า การนิเทศภายในด้านการวางแผนมีดัชนีความต้องการจำเป็นมากที่สุด จากทั้งหมด 5 ด้าน และ 2) สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.84) และสภาพที่พึงประสงค์ของกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.95) เมื่อพิจารณาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น พบว่า กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านวิสัยทัศน์ร่วม มีดัชนีความต้องการจำเป็นมากที่สุดจากทั้งหมด 6 ด้าน 2. รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า รูปแบบการนิเทศภายใน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ การเตรียมการ การวางแผน การปฏิบัติการ การสะท้อนผล ปรับปรุงและประเมินผล และการสรุปและการรายงานผล ส่วนกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ ด้านวิสัยทัศน์ร่วม ทีมร่วมแรงร่วมใจ ภาวะผู้นำร่วม การเรียนรู้พัฒนาวิชาชีพ ชุมชนกัลยาณมิตร และโครงสร้างสนับสนุนชุมชน และรูปแบบฯ มีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีและความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.32, SD = 0.38) 3. รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงานวิชาการ และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการนิเทศภายในและชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพหลังการพัฒนามากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) โดยมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นเท่ากับ 9.57 คะแนน (95% CI: 8.63-10.52) มีคะแนนการดำเนินงานตามรูปแบบการนิเทศภายในและชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยรวมหลังการพัฒนา มากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.54 คะแนน (95%CI: 1.35-1.72) และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.14, SD = 0.3)
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/433
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010566008.pdf4.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.