Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/438
Title: Developing a Program to Strengthen Science Teacher’s through Applyingin Managing Learning to Promote Student Critical Thinkingfor Secondary School
การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา
Authors: Tanasak Charernthum
ธนศักดิ์ เจริญธรรม
Sutham Thamatasenahant
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาโปรแกรม
การจัดการเรียนรู้
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
Developing a Program
Learning Management
Critical Thinking
Issue Date:  27
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were to study 1) elements and indicators of managing learning to promote student critical thinking for secondary school, 2) current conditions, desirable conditions and how to managing learning to promote student critical thinking for secondary school, 3) develop the development program strengthen science teacher’s through applying in managing learning to promote student critical thinking for secondary school and 4) evaluate the developed program and the implementation of development managing learning to promote student critical thinking for secondary school. The study was divided into 4 steps. The first step, 7 experts were selected using the purposive sampling in order to identify the learning factors and indicator of managing learning to promote student critical thinking for secondary school. After that, The research sample consisted of 306 secondary education, each school consists of secondary science teachers, high school science teacher, head academic Included 918 teachers were selected by multi-stage random sampling. Then, the researcher investigated 13 experts using purposive sampling method to verify and confirm the developing a program to strengthen science teacher’s through  applying in managing learning to promote student critical thinking for secondary school. In the last step, the researcher used the program to strengthen science teacher’s through  applying in managing learning to promote student critical thinking for secondary school with 15 science teachers of Anukulnaree school in Kalasin Province who volunteered to develop using such program and 30 students of Anukulnaree school. Instructional corrective data with the research instruments were obtained as; the Validation Checklist Suitability Configurations and Indicators Assessment, the Actual and Preferred Perception Questionnaire, the Science Teacher Development Method Questionnaire, the Semi-Structured Interviews, the Interpersonal Behavior Observation Form, the Recording Focus Group Discussion Data Form, the Suitability and Possibility of program, the Programming User Guide Suitability Assessment, the Pretest and Posttest Assessment, the evaluation of learning management teacher, and the Satisfactory Questionnaire were examined. Statistically significant was analyzed with percentage, mean, standard deviation, Modified Priority Needs Index (PNImodified) and t-test with the quantitative data, and the content analysis was analyzed with the qualitative data. The results of this research study have found that: 1. Learning  factor and indicators of learning management to promote student critical thinking for secondary school were at highest level. There were 6 main learning factor and 38 indicators, which composes of; 1) 2 indicators of learners analysis, 2) 3 indicators of curriculum analysis, 3) 2 indicators of Objective, 4) 14 indicators of learning design, 5) 14 indicators of learning activity, and 6) 3 indicators of  measurement and evaluation.                   2. Results of current characteristic of managing learning to promote student critical thinking for secondary school were at high level and the desirable characteristic were at the highest level. In terms of the developing methods indicate that consists of; 1) self-study, 2) watching videos with excellent practice in schools,3) workshop, 4) professional learning community, 5) practicing integration, 6) school-based learning, 7) supervision, and 8) mentoring and teaching evaluation.  3. Developing program to develop strengthen science teacher’s through applying in managing learning to promote student critical thinking for secondary school comprised two elements: 1) Program and 2) Manual ; comprised of the main elements: 1) Principles 2) Objectives 3) Contents 4) Development methods and  5) Measurement and Evaluation which consisted of the four modules namely: Module 1 Learners Analysis Module 2 Curriculum Analysis Module 3 Learning Design and Module 4 Learning Activities. How to develop consisted of self- study learning, watching school videos with best practice. workshop, professional learning community, on the job training, school base, supervision and coaching and mentoring. Evaluation program results is highest level. 4. The results of using Developing program to develop strengthen science teacher’s through applying in managing learning to promote student critical thinking for secondary school to develop target group showed that using the program, the score means of the target group’s responses of their pretest and posttest for science teachers are used of the program for enhancing critical thinking abilities, it has found that science teachers’ responses of their pre and post using the program were differences of 52.89% and 85.56%, significantly (ρ<.01) all on scales and pasting the criteria of 70% were compared. The abilities for enhancing students’ critical thinking abilities reveal that as the highest level on all scales, namely; analyzing learners, analyzing curriculum, designing learning inventory, and learning activities, respectively. the satisfactions of their using program for enhancing students’ critical thinking abilities in secondary educational schools indicate that of the highest level on three of four scales, excepted on the content activities and documentations indicate that of the high level, namely; developing activities, training facilities, and facilities, respectively. the satisfactions of students who had the science learning management using enhancing students’ critical thinking abilities were satisfied total in high level. excepted on learners analysis learning design and learning activities indicate that of the high level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายการวิจัยเพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา 2) การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีการพัฒนาวิธีการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา 3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้โปรแกรมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา การวิจัย แบ่งออก เป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน   โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีการพัฒนาวิธีการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 306 โรง แต่ละโรงเรียนมีผู้ให้ข้อมูล 3 คน ประกอบด้วยครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และครูหัวหน้างานวิชาการ รวมจำนวน 918 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Two-stage Random Sampling) ระยะที่ 3 ออกแบบโปรแกรมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 13 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และระยะที่ 4 ศึกษาผลการใช้โปรแกรมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนอนุกูลนารี จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่สมัครใจเข้ารับการพัฒนา จำนวน 15 คน และนักเรียนโรงเรียนอนุกูลนารี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินตรวจสอบความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัดฯ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และแบบสอบถามวิธีการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสังเกตพฤติกรรม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้โปรแกรม และแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน แบบประเมินพฤติกรรม และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น PNI และการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้              1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา มี 6 องค์ประกอบหลัก 38 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ผู้เรียน จำนวน 2 ตัวชี้วัด 2) การวิเคราะห์หลักสูตร ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด 3) การกำหนดจุดประสงค์ ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด 4) การออกแบบการเรียนรู้ ประกอบด้วย 14 ตัวชี้วัด 5) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 14 ตัวชี้วัด 6) การวัดและประเมินผล ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด              2. สภาพปัจจุบันการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด วิธีการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา ทั้ง 6 องค์ประกอบ ใช้วิธีการพัฒนา คือ 1) การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) การฝึกอบรม 3) การฝึกปฏิบัติในงาน 4) การใช้ระบบพี่เลี้ยง 5) การสอนแนะงาน  6) การศึกษานอกสถานที่ 7) การนิเทศ และ 8) โรงเรียนเป็นฐาน              3. โปรแกรมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) โปรแกรมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา และ 2) คู่มือการใช้โปรแกรมโปรแกรมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา โดยมีองค์ประกอบของโปรแกรม คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) วิธีการพัฒนา และ 5) การวัดและประเมินผล โดยมีรายละเอียดเนื้อหาครอบคลุมองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วยกิจกรรม 4 Module คือ Module 1 การวิเคราะห์ผู้เรียน Module 2 การวิเคราะห์หลักสูตร Module 3 การออกแบบการเรียนรู้ และ Module 4 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยมีวิธีการพัฒนา ได้แก่ 1) การศึกษาด้วยตนเอง 2) การชม วีดีทัศน์โรงเรียนที่มีวิธีการปฏิบัติเป็นเลิศ 3) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 4) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 5) การบูรณาการแบบสอดแทรกกับการปฏิบัติงาน 6) โรงเรียนเป็นฐาน 7) การนิเทศ และ 8) ระบบ พี่เลี้ยงและการสอนแนะ โดยใช้เวลาในการพัฒนา จำนวน 65 ชั่วโมง ผลการประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ของโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด และคู่มือการใช้โปรแกรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด                   4. ผลการศึกษาการนำโปรแกรมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา ไปใช้                  4.1 คะแนนจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยรวมก่อนการพัฒนาได้คะแนนร้อยละ 52.89 หลังการพัฒนาได้คะแนนร้อยละ 85.56 พบว่า คะแนนหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งโดยรวมและรายด้าน และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ทุกคน                  4.2 ความสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโดยรวมหลังการพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การวิเคราะห์ผู้เรียน การวิเคราะห์หลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการออกแบบการเรียนรู้ ตามลำดับ                  4.3 ความพึงพอใจโปรแกรมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับดีมากทุกด้าน ยกเว้นกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับมาก โดยด้านกิจกรรมเนื้อหาและเอกสารประกอบมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาด้านกิจกรรมการพัฒนา และด้านสถานที่ฝึกอบรมและสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ                  4.4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาวิทยาศาสตร์ มีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การวิเคราะห์หลักสูตร การกำหนดจุดประสงค์ และการวัดและประเมินผล มีระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการวิเคราะห์ผู้เรียน การออกแบบการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/438
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010560003.pdf8.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.