Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/44
Title: Decorative Sculptors of Buddhist Place in Isan
ช่างประติมากรรมประดับตกแต่งพุทธสถานในภาคอีสาน
Authors: Supojana Suwannapaxdee
สุพจน์ สุวรรณภักดี
Supachai Singyabuth
ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์
Mahasarakham University. The Faculty of Fine and Applied Arts
Keywords: ประติมากรรม
ประดับตกแต่ง
พุทธสถาน
Decorative
Sculptors
Buddhist Places
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Decorative sculptors of Buddhist places in Isan are those who create sculpture related to Buddhist beliefs which are made much more distinct.  This yields the specific characteristic of the aesthetics created by the decorative sculptors in Isan and Lan Xang regions which share the same social culture of people in Isan and those in Laos.  However, the same social culture of the two regions is separated because of different national states.      The research aimed to investigate three aspects, namely, 1) the identity of the decorative sculptor of Buddhist places in Isan named Mr. Uthaithong  Chantakorn focusing on his beautiful decoration of local Buddhist places which signified cultural identity of the two ethnic groups in Isan and Lan Xang regions,  2) the process of sculptural creation by Mr. Uthaithong Chantakorn, the decorative sculptor of Buddhist places in Isan and his travel to and fro between the two national states on either side of the Mekhong River,  and 3) the aesthetics of Isan and Lan Xhang decorative sculptor named Mr. Uthaithong  Chantakorn of which his sculpture was influenced by Thai decorative sculpture.  However, the highlight of investigation was the identity of Buddhist places in Isan.      The findings revealed that the land formerly called Lan Xhang which belonged to Lao People's Democratic Republic and the land called Isan which is a part of Thailand have shared the same culture and ways of life for a long time, especially Buddhism which ties to rites, beliefs in ancestral spirits and Brahman religion.  In order to build Buddhist places in communities, sculptors with high skills and a blend of local wisdom and other skills in decorative sculpture are required.  Mr. Uthaithong  Chantakorn, the decorative sculptor who travelled back and forth from either side of the Mekhong River, has created his works of sculpture till he is accredited for his identity of decorative sculpture which is influenced by a mixture of royal sculpture of Lan Xang, Vientiane, Luang Prabang and Thailand and the traditional sculpture of Isan.  Thus, this accounts for a blend of decorative sculpture of Buddhist places found in both Lao People's Democratic Republic and Thailand without any differences of ethnic groups.  Furthermore, the creation process of his sculpture is influenced by that of Lan Xang which is considered the royal sculpture.  Thus, the Lan Xang creation process of sculpture depicting aesthetics strongly influences the decorative sculpture of Buddhist places in Isan.  More importantly, the decorative sculpture of Buddhist places in Isan is considered unique.
ช่างประติมากรรมประดับตกแต่งพุทธสถานในภาคอีสานเป็นผู้สร้างสรรค์ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอคติความเชื่อทางพุทธศาสนาให้เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดความงามทางสุนทรียภาพอันเป็นลักษณะเฉพาะตัวของช่างในกลุ่มชาติพันธุ์อีสานล้านช้างบนพื้นที่ทางสังคมวัฒนธรรมที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างประชาชนในภาคอีสานของประเทศไทยกับประเทศลาวซึ่งมีวัฒนธรรมร่วมกันแต่ถูกแยกออกเป็นรัฐชาติที่ต่างกัน      วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษา 3 ประการ คือ  1) ศึกษาอัตลักษณ์ของช่างประติมากรรมประดับตกแต่งพุทธสถานในภาคอีสาน นายอุทัยทอง  จันทกรณ์ ในการใช้พื้นที่พุทธสถานของท้องถิ่นแสดงออกด้านความงามที่สื่อถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของความเป็นชาติพันธุ์อีสานล้านช้าง  2) ศึกษากระบวนการสร้างผลงานของนายอุทัยทอง  จันทกรณ์ ช่างประติมากรรมประดับตกแต่งพุทธสถานในภาคอีสานกับการข้ามแดนรัฐชาติสองฝั่งแม่น้ำโขง  3) ศึกษาสุนทรียศาสตร์ของช่างประติมากรรมอีสานล้านช้าง นายอุทัยทอง  จันทกรณ์ ในการแสดงตัวตนภายใต้บริบทงานศิลปกรรมของรัฐชาติ  โดยเน้นการศึกษาอัตลักษณ์งานช่างในพื้นที่พุทธสถานภาคอีสานเป็นตัวบท      ผลการวิจัยพบว่าพื้นที่อันเป็นดินแดนที่เรียกว่าล้านช้างของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและดินแดนภาคอีสานของประเทศไทยมีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมาตั้งแต่บรรพกาล โดยมีพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นแก่นสำคัญในพิธีกรรมความเชื่อที่ผสมผสานกับคติการนับถือผีบรรพชนและศาสนาพราหมณ์ร่วมด้วย  ในการสร้างพุทธศาสนสถานประจำชุมชนเมืองนั้นย่อมมีช่างที่ได้รับการฝึกฝนและหล่อหลอมทักษะฝีมือตลอดจนความคิดมาจากภูมิปัญญาชุมชนผสมผสานกับที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากภายนอก ซึ่งนายอุทัยทอง  จันทกรณ์ เป็นช่างประติมากรรมที่ข้ามแดนไปมาระหว่างสองฝั่งแม่น้ำโขง  ได้เรียนรู้ฝึกฝนการสร้างสรรค์ผลงานจนปรากฏอัตลักษณ์ที่มีการผสมผสานรูปแบบจากงานศิลปะของราชสำนักล้านช้างเวียงจันทน์ หลวงพระบาง  ประเทศไทย  และศิลปะดั้งเดิมของอีสาน  เกิดเป็นผลงานประติมากรรมประดับตกแต่งพุทธสถานในพื้นที่สองรัฐชาติไทยลาวที่กลืนเข้ากับชุมชนโดยไม่มีรอยต่อทางชาติพันธุ์  อีกทั้งกระบวนการสร้างสรรค์ก็ใช้รูปแบบที่เพาะบ่มมาจากดินแดนล้านช้างจนถือได้ว่าเป็นช่างหลวงแห่งล้านช้างเอามาประทับลงบนพื้นที่พุทธสถานที่ถูกกำกับโดยรัฐชาติในราชอาณาจักรไทยด้วยการกำหนดลักษณะของสุนทรียภาพทางทัศนศิลป์อย่างงดงาม จนถือได้ว่าเป็นรูปแบบงานช่างประดับตกแต่งพุทธสถานในภาคอีสานที่มีความโดดเด่นอีกกลุ่มหนึ่ง
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/44
Appears in Collections:The Faculty of Fine and Applied Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55010660006.pdf12.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.