Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/445
Title: The development of instructional model  based  on  STEM Education approach to enhance the information and communication  technology  skills  for elementary students
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา
Authors: Sukruetai Changpetch
สุขฤทัย ช้างเพชร
Thapanee Seecha
ฐาปนี สีเฉลียว
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: รูปแบบการเรียนการสอน
STEM
STEM Education
ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Instructional model
STEM
STEM Education
ICT
ICT skills
Issue Date:  3
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:      The purposes of this study were 1) to study the elements of this model and steps of learning activities of the instructional model based on STEM Education approach to enhance the information and communication technology (ICT) skills for elementary students 2) to develop the instructional model and 3) to study about using instructional model. The study was conducted by research and development, design three phases, Phase I, to study the elements of this model and steps of learning activity of the instructional model. The samples were eight teachers and twenty-four sixth grade students. Questionnaires and semi-structured interviews were employed to collect data. The data were analyzed by descriptive data and summarized interpretation.  Phase II, to develop the instructional model. The target groups were two groups, 1) eleven experts and 2) five professionals. Questionnaire for the opinions and evaluation form of qualified models. Data analysis was the evaluation in the rating scale form scored by using the arithmetic mean and standard deviation. Phase III, to study about using instructional model. Twenty-five Samples comprised the sixth-grade student in Nam Phong Puripat municipal school, in 2018 academic year. Research instruments were the achievement test, the evaluation of ICT skills form, the student’s satisfaction form, and the product evaluation form. The data were analyzed by arithmetic mean, percentage, standard deviation and statistics employed for analyses of the data consisted of t-test.      The results show that:      1) The instructional model consists of five main elements: 1) Principles 2) Purpose 3) Content 4) Teaching and learning process and 5) Measurement and evaluation. There are six steps that consists of; 1) problem identification 2) related information search 3) solution design 4) planning and development 5) testing, evaluation and design improvement and 6) presentation. In summary, technology has been used to support learning all steps.      2) The development of this instructional model evaluation by experts found that the model was appropriate at a high level. The results of the evaluation and certifying the quality of the model by professionals found that the model was appropriate at a high level.      3) The results of using the instructional model were as follows: 1) students’ achievement found that the post-test results were higher than pre-test at the .05 level of significance 2) ICT skills of the sixth-grade students showed that students had higher than standard criteria at the .05 level of significance 3) the satisfaction of students found that the students were satisfied at a high level and 4) the result of the  students' product evaluation showed that the average score passed the criteria. Overall at a good level.
     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบฯและขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2)พัฒนารูปแบบฯ และ 3)ศึกษาผลการใช้รูปแบบฯ  ดำเนินการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ  คือ  ระยะที่ 1  การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบฯและขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูหรือผู้ใช้รูปแบบการสอนสะเต็มศึกษา  จำนวน 8  คน  และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวน  24  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างมีลักษณะคำถามปลายเปิด  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความหมาย  และเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ระยะที่ 2  การพัฒนารูปแบบฯ   กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่  ผู้เชี่ยวชาญ  จำนวน  11  ท่าน  และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน  5  ท่าน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่   แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและแบบประเมินเพื่อรับรองคุณภาพของรูปแบบฯสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ระยะที่ 3  การศึกษาผลการใช้รูปแบบฯ  กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลน้ำพองภูริพัฒน์  ปีการศึกษา 2561  จำนวน  25  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน แบบประเมินทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน  และแบบประเมินชิ้นงาน  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน  และสถิติทดสอบที      ผลการวิจัย  พบว่า      1. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา  เพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา  มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการแนวคิด  2)  วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา  4) กระบวนการจัดการเรียนการสอน และ 5)  การวัดและประเมินผล  และมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 6  ขั้นตอน  ได้แก่  1)  ขั้นระบุปัญหา  2)  ขั้นรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา  3)  ขั้นออกแบบวิธีการแก้ปัญหา  4)  ขั้นวางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา  5)  ขั้นทดสอบ  ประเมินผล  ปรับปรุงวิธีการแก้ปัญหา  และ  6)  ขั้นนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา  ผลการแก้ปัญหา ซึ่งในแต่ละขั้นตอนมีการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้      2.ผลการพัฒนารูปแบบฯ พบว่า  ผลการประเมินรูปแบบฯโดยผู้เชี่ยวชาญ  พบว่า  รูปแบบฯมีความเหมาะสมในระดับมาก   ผลการประเมินและรับรองคุณภาพของรูปแบบฯโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  พบว่า  รูปแบบฯมีความเหมาะสมในระดับมาก      3.ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบฯ  พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  พบว่าผลการทดสอบหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6  ที่เรียนด้วยรูปแบบฯ  พบว่า นักเรียนมีค่าเฉลี่ยของทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของระดับดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) ความพึงพอใจของผู้เรียน  พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 4)  ผลการประเมินชิ้นงานของนักเรียน  พบว่า  ชิ้นงานของนักเรียนแต่ละกลุ่มมีคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์  โดยรวมอยู่ในระดับดี
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/445
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010561503.pdf5.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.