Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/450
Title: Developing Emotional Quotient of Mattayom Suksa 1 Students Using Contemplative Education Activities
การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้วยกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 
Authors: Yupin Srichat
ยุพิน  ศรีชาติ
Araya Piyakun
อารยา ปิยะกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ความฉลาดทางอารมณ์
จิตตปัญญาศึกษา
กิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา
Emotional Quotient
Contemplative Education
Contemplative education activities
Issue Date:  5
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of the study included (1) to develop contemplative education activities for EQ development of Matthayom 1 students; (2) to compare the students EQ level before and after the experiment; (3) to investigate the result of the development of EQ of Matthayom 1 students using contemplative education activities. 20 Matthayom 1/10 students of That Narai School were selected as the samples of the study by using Sample random sampling. The first semester of academic year 2018. The instruments included (1) 12 EQ development using contemplative education activity plans for Matthayom 1 students; (2) EQ test of 52 items particularly developed for Thai citizens aged between 12-60, by Department of Mental Health; and (3) students’ journal. Average, standard deviation, and T-test paired samples test were used for data analysis. The findings of the study showed that:         1. the contemplative education activities for Mattayom 1 students included 3 patterns of learning: deep sensing, contemplation, and mediation were the most appropriate for developing the students’ EQ at 4.565 on average;          2. there was a significant difference at .05 in three aspects of IQ, behavior, and self-fulfillment found in the experimental group after the program at .05;         3. after participating in the contemplative education activities, the students found their fundamental changes leading to their EQ development as follows: (1) they understood facts about EQ and recognized those who have EQ; (2) they were able to solve problems and expressed themselves effectively; (3) they had good relationships with other people; and (4) they were able to create their own inner peace.  
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อพัฒนากิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และ(3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/10 โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling)  ใช้เวลาทดลอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 3 ชนิด คือ (1) แผนกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  จำนวน 12 กิจกรรม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.565 (2) แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ ของกรมสุขภาพจิต สร้างขึ้นใช้กับประชากรไทยโดยเฉพาะ ที่มีอายุระหว่าง 12-60 ปี จำนวน 52 ข้อ (3) แบบบันทึกการเขียนอนุทินของนักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.356 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ T-test  Paired Samples Test  ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏ ดังนี้        1. กิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย กระบวนการเรียนรู้ 3 ลักษณะ คือ 1) การรับรู้อย่างลึกซึ้ง (Deep Sensing) 2) การน้อมสู่ใจอย่างใคร่ครวญ (Contemplation) 3) การเฝ้ามองเห็นตามที่เป็นจริง (Meditation) โดยมีผลการประเมิน ในระดับ เหมาะสมมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.565        2. การเปรียบเทียบความแตกต่างของกลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลังการเข้าร่วมกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์หลังทดลองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านดี ด้านเก่ง และด้านมีความสุข        3. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเข้าร่วมกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตนเอง  ในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์  โดยนักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความหมายและลักษณะของผู้มีความฉลาดทางอารมณ์  สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น และสามารถสร้างความสุขสงบทางใจให้เกิดกับตนเองได้  
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/450
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010581008.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.