Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/452
Title: The Development of Good Personality Characteristics of Good Personality of Pratomsuksa 6 Students in School under Chaiyaphum Primary Education Service Area Office 1
การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1
Authors: Channarong Wilaichon
ชาญณรงค์ วิไลชนม์
Tatsirin Sawangboon
ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนา
เครื่องมือวัดคุณลักษณะความเป็นคนดี
The Development
Good Personality Characteristics’s Measurement
Issue Date:  4
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:   The purposes of this research was development of Good Personality Characteristic’s Measurement for Prathomsuksa VI Students in Chaiyaphum Primary Education Service Area Office 1. The first sample to construct quality scale on goodness were two teachers, thirty parent and thirty students. The second sample to construct quality scale on goodness were two teachers, thirty parent, thirty known group students and thirty unknown group students. The third sample to construct quality scale on goodness were one-hundred and seventy one students, twenty-six teachers and one-hundred and seventy one parent by Stratified Random Sampling form twenty-six schools. Instruments in this research were the Good Personality Characteristic’s Measurement of Prathomsuksa VI Students to consist of The first Good Personality Characteristic’s Measurement of students for teachers. It was forty-three item of Rating scale. The second Good Personality Characteristics’ Measurement of students for parent. It was forty-two item of Rating scale. The third Good Personality characteristic’s Measurement of students for students. It was thirty situation measurements of multiple choices. Each measurement form, feature measurement the goodness of the 5 students is honesty. responsibility Discipline Generosity and diligence. The content validity of measurement form by Index of Item Objective Congruence (IOC), construct validity by Known Group method, Discrimination by Item total correlation and Reliability by α–Coefficient. The results of the study : 1. The Good Personality characteristics’ Measurement for Prathomsuksa VI Students consist of three measurement form. Each measurement form, feature measurement the goodness of the 5 students is honesty. responsibility Discipline Generosity and diligence. As follows The first Good Personality Characteristic’s Measurement of students for teachers. It was forty-three item of Rating scale. The second Good Personality Characteristic’s Measurement of students for parent. It was forty-two item of Rating scale. The third Good Personality Characteristic’s Measurement of students for students. It was thirty situation measurements of multiple choices. 2. The quality of the Good Personality Characteristic’s Measurement of students as follows.      2.1 The first Good Personality Characteristic’s Measurement of students for teachers. 1) The content validity of the Good Personality Characteristic’s Measurement of students by five experts have index of Item Objective Congruence since 0.60-1.00. 2) The construct validity of the Good Personality Characteristic’s Measurement of students by known group method found that the average value of students with high personality characteristics and students with low personality characteristics were significantly different at the level of .01 that mean the first Good Personality Characteristic’s Measurement of students for teachers have the construct validity. 3) Discrimination of the first Good Personality Characteristic’s Measurement of students for teachers since 0.422-0.851. 4) The item reliability of the first Good Personality Characteristic’s Measurement of students for teachers since 0.888-0.924 and whole of reliability is 0.970.      2.2 The second Good Personality Characteristic’s Measurement of students for parent. 1) The content validity of the Good Personality Characteristic’s Measurement of students by five experts have index of Item Objective Congruence since 0.60-1.00. 2) The construct validity of the Good Personality Characteristic’s Measurement of students by known group method found that the average value of students with high personality characteristics and students with low personality characteristics were significantly different at the level of .01 that mean the second Good Personality Characteristic’s Measurement of students for parent have the construct validity. 3) Discrimination of the second Good Personality Characteristic’s Measurement of students for parent since 0.232-0.707. 4) The item reliability of the second Good Personality Characteristic’s Measurement of students for parent since 0.734-0.844 and whole of reliability is 0.936.      2.3 The third Good Personality Characteristic’s Measurement of students for Students. 1) The content validity of the Good Personality Characteristic’s Measurement of students by five experts have index of Item Objective Congruence since 0.60-1.00. 2) The construct validity of the Good Personality Characteristic’s Measurement of students by known group method found that the average value of students with high personality characteristics and students with low personality characteristics were significantly different at the level of .01 that mean the third Good Personality Characteristic’s Measurement of students for students have the construct validity. 3) Discrimination of the third Good Personality Characteristic’s Measurement of students for students since 0.234-0.891. 4) The item reliability of the third Good Personality Characteristic’s Measurement of students for students since 0.465-0.917 and whole of reliability is 0.933.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือวัดคุณลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างมี 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มตัวอย่างเพื่อหาคุณภาพเครื่องมือวัดคุณลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งที่ 1 ได้แก่ ครูประจำชั้น จำนวน 2 คน ผู้ปกครอง จำนวน 30 คน และนักเรียน จำนวน 30 คน (2) กลุ่มตัวอย่างเพื่อหาคุณภาพเครื่องมือวัดคุณลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งที่ 2 ได้แก่ ครูประจำชั้นจำนวน 2 คน ผู้ปกครอง จำนวน 30 คน นักเรียนที่มีลักษณะความเป็นคนดีสูง จำนวน 30 คน และนักเรียนที่มีลักษณะความเป็นคนดีต่ำ จำนวน 30 คน (3) กลุ่มตัวอย่างเพื่อทดสอบหาคุณภาพเครื่องมือวัดคุณลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 368 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งประชากรออกเป็น 3 ชั้นภูมิ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 171 คน ครูประจำชั้น จำนวน 26 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 171 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 368 คน จาก 26 โรงเรียน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดคุณลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียน 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนโดยครูประจำชั้นเป็นผู้ประเมิน เป็นแบบวัดปลายปิดแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 43 ข้อ ฉบับที่ 2 แบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนโดยผู้ปกครองเป็นผู้ประเมิน เป็นแบบวัดปลายปิดแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 42 ข้อ และฉบับที่ 3 แบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนโดยนักเรียนเป็นผู้ประเมิน เป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ แบบเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบวัดแต่ละฉบับวัดคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน 5 ด้าน ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ ความขยันหมั่นเพียร หาคุณภาพของแบบวัดในด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญลงความคิดเห็น (IOC) ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยใช้เทคนิคกลุ่มรู้ชัด ค่าอำนาจจำแนก โดยการหาความสัมพันธ์ของข้อคำถามนั้น ๆ กับคะแนนรวมของข้อคำถามที่เหลือของแบบวัดทั้งฉบับ (Item Total Correlation) และค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการสร้างแบบวัดคุณลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วยแบบวัด 3 ฉบับ แต่ละฉบับวัดลักษณะความเป็นคนดี 5 ด้าน คือ ความซื่อสัตย์สุจริตความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ ความขยันหมั่นเพียร ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนโดยครูประจำชั้นเป็นผู้ประเมิน เป็นแบบวัดที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 43 ข้อ ฉบับที่ 2 แบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนโดยผู้ปกครองเป็นผู้ประเมินเป็นแบบวัดที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 42 ข้อ ฉบับที่ 3 แบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนโดยนักเรียนเป็นผู้ประเมิน เป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ แบบปรนัย 5 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 2. ผลการหาคุณภาพของแบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปรากฏผลดังนี้      2.1 ฉบับที่ 1 แบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียน โดยครูประจำชั้นเป็นผู้ประเมิน 1) ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 2) ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิคกลุ่มรู้ชัด พบว่าค่าเฉลี่ยของนักเรียนที่มีลักษณะความเป็นคนดีสูงและนักเรียนที่มีลักษณะความเป็นคนดีต่ำมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าแบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ฉบับที่ 1 โดยครูประจำชั้นเป็นผู้ประเมิน มีความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง 3) ผลการวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนกของแบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ฉบับที่ 1 โดยครูประจำชั้นเป็นผู้ประเมิน มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.422 ถึง 0.851 4) ผลการวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดคุณลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ฉบับที่ 1 โดยครูประจำชั้นเป็นผู้ประเมิน ทั้งรายด้านและทั้งฉบับ พบว่า แบบวัดฯ มีค่าความเชื่อมั่นรายด้าน ตั้งแต่ 0.888-0.924 และ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.970      2.2 ฉบับที่ 2 แบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนโดยผู้ปกครองเป็นผู้ประเมิน 1) ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 2) ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิคกลุ่มรู้ชัด พบว่าค่าเฉลี่ยของนักเรียนที่มีลักษณะความเป็นคนดีสูงและนักเรียนที่มีลักษณะความเป็นคนดีต่ำมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าแบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ฉบับที่ 2 โดยผู้ปกครองเป็นผู้ประเมิน มีความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง 3) ผลการวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนกของแบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ฉบับที่ 2 โดยผู้ปกครองเป็นผู้ประเมิน มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.232 ถึง 0.707 4) ผลการวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดคุณลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ฉบับที่ 2 โดยผู้ปกครองเป็นผู้ประเมิน ทั้งรายด้านและทั้งฉบับพบว่า แบบวัดฯ มีค่าความเชื่อมั่นรายด้าน ตั้งแต่ 0.734-0.844 และ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.936      2.3 ฉบับที่ 3 แบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนโดยนักเรียนเป็นผู้ประเมิน 1) ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 2) ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิคกลุ่มรู้ชัด พบว่าค่าเฉลี่ยของนักเรียนที่มีลักษณะความเป็นคนดีสูงและนักเรียนที่มีลักษณะความเป็นคนดีต่ำมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าแบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ฉบับที่ 3 โดยนักเรียนเป็นผู้ประเมิน มีความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง 3) ผลการวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนกของแบบวัดลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ฉบับที่ 3 โดยนักเรียนเป็นผู้ประเมิน มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.234 ถึง 0.891 4) ผลการวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดคุณลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ฉบับที่ 3 โดยนักเรียนเป็นผู้ประเมิน ทั้งรายด้านและทั้งฉบับพบว่า แบบวัดฯ มีค่าความเชื่อมั่นรายด้าน ตั้งแต่ 0.465-0.917 และ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.933
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/452
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010583001.pdf5.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.