Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/456
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorMattaneeya Moonseekaewen
dc.contributorมัทนียา มูลศรีแก้วth
dc.contributor.advisorTatsirin Sawangboonen
dc.contributor.advisorทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญth
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2019-11-19T09:19:11Z-
dc.date.available2019-11-19T09:19:11Z-
dc.date.issued15/7/2019
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/456-
dc.descriptionMaster of Education (M.Ed.)en
dc.descriptionการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.abstractThe purposes of this study were the followings: 1) to study the research characteristics related to the teaching and learning management according to the philosophy of sufficiency economy. 2) to compare the effect size classified by research characteristics on teaching and learning management according to the philosophy of sufficiency economy. The data were thirty-four research paper related to the teaching and learning management according to the philosophy of sufficiency economy published between the years 2006–2015. Glass, Mckor and Smiths’ Meta–Analysis technique was employed to calculate the effect size of the research. The research instruments were research quality assessment form and research characteristic recorded form. The statistic, One-way ANOVA was employed for data analysis. Findings of the study revealed as follows: 1. The overall quality analysis of the research on teaching and learning management according to the philosophy sufficiency economy was in good level. From thirty-four synthesis research, the research in the years 2011, 2012 and 2014 were the most published research, the most research were conducted from Sakon Nakorn Rajabhat University, the most research were conducted from Master of Education Program in Curriculum and Instruction and Master of Education Program in Educational Research and Evaluation/Master of Education Program in Research and Development in Education, the most researchers’ educational level was Master’s degree, teaching and learning based on Constructivism theory was the most teaching and learning management form, Learning Area of Science was the most learning area that manage the teaching and learning according to the sufficiency economy philosophy, the results of the most common learning management was the cognitive aspect, grade six was the most common population and sample, the most experiment duration was more than 30 hours, the most definition of key term found was the sufficiency economy philosophy project, mean of the number of independent variables is 1.35, mean of the number of dependent variables is 2.26,  mean of the number of populations is 216.12, mean of the number of samples is 1.29, mean of the number of experiments’ populations is 31.97, means of the number of controls’ populations is 31.71, the most purposes found is to compare the research hypotheses, the research design that most found is One group pretest-posttest designs, the purposive sampling technique was the most used to select the samples, the research instrument that was used the most is learning achievement test form, the instrument was verified in 4 aspect; validity, reliability, difficulty and discrimination. The most basic statistics used were mean, standard deviation. Additionally t- test is the most used to analyze the data. The most finding showed that students’ posttest scores are higher than pretest scores, and in research discussion; they were explained conform to the previous research.    2. The result of effect size analysis on teaching and learning management according to the philosophy of sufficiency economy showed that there were 6 methods employed on teaching and learning according to the philosophy of sufficiency economy as follows: 1) Teaching and learning management according to Constructivism theory. 2) Cooperative Learning. 3) Experiential teaching and learning. 4) Technology-based teaching and learning. 5) Integrated teaching and learning. 6) Student-based teaching and learning. There was no difference in the overall effect size on teaching and learning management according to the philosophy of sufficiency economy. In addition, the researcher classified the results of the learning of teaching and learning management according to the philosophy of sufficiency economy in order to develop students’ learning based on Bloom’s theory in three domains; Cognitive domain, Affective domain and Sensory domain. There was no the difference when comparing the effect size of teaching and learning management according to the philosophy of sufficiency economy in all three aspects.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลที่จำแนกตามคุณลักษณะงานวิจัยของการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์คือ งานวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พิมพ์เผยแพร่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2549-2558 จำนวน 34 เรื่อง คำนวณค่าขนาดอิทธิพลด้วยการวิเคราะห์อภิมานตามวิธีการของกลาส แม็คกรอ และสมิทธ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ทั้งหมดมีจำนวน 34 เรื่อง พบว่า งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ตีพิมพ์มากที่สุดในปี พ.ศ. 2554, พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2557 สถาบันที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร สาขาที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุดคือ  สาขาหลักสูตรและการสอน  สาขาวิจัยและประเมิน/วิจัยและพัฒนาการศึกษา ระดับการศึกษาของผู้วิจัยที่มากที่สุดคือ ระดับปริญญาโท รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พบมากที่สุดคือ การเรียนการสอนตามแนวทฤษฏี Constructivism กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่จัดการเรียนการสอนมากที่สุดคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผลของการจัดการเรียนรู้ที่พบมากที่สุดคือ ด้านพุทธิพิสัย ระดับชั้นของประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างที่พบมากที่สุดคือ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระยะเวลาในการทดลองที่มากที่สุดคือ มากกว่า 30 ชั่วโมง นิยามศัพท์เฉพาะที่นิยามมากที่สุดคือ  หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  จำนวนตัวแปรต้นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.35  จำนวนตัวแปรตามมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.26 จำนวนประชากรมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 216.12 คน จำนวนของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.29 จำนวนประชากรของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 31.97 คน จำนวนประชากรของกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 31.71 คน วัตถุประสงค์ของการวิจัยที่พบมากที่สุดคือ การเปรียบเทียบ สมมุติฐานของงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นสมมุติฐานแบบมีทิศทาง แบบแผนของการวิจัยส่วนใหญ่เป็นแบบแผนการวิจัยแบบทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design รูปแบบการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่ใช้มากที่สุดคือ การเลือกแบบเจาะจง ประเภทเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้มากที่สุดคือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การทดสอบคุณภาพของเครื่องมือมีการตรวจสอบทั้ง 4 ด้าน คือ ความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น ความยากง่าย  และอำนาจจำแนก สถิติพื้นฐานที่ใช้มากที่สุดคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติทดสอบที่ใช่ในงานวิจัยมากที่สุดคือ t-test ผลการวิจัยที่พบมากที่สุดคือ คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน การอภิปรายผลของงานวิจัยส่วนใหญ่จะมีการอภิปรายผลสอดคล้องกับงานวิจัยที่ผ่านมา 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลของการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีการจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 6 วิธี คือ 1) การจัดการเรียนการสอนตามแนวทฤษฏี Constructivism 2) การเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ 3) การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ 4) การเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี 5) การเรียนการสอนแบบบูรณาการ 6) การเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลของการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวม พบว่าไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้จำแนกผลของการเรียนรู้ของการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย พบว่า ค่าขนาดอิทธิพลของการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาไม่แตกต่างกันทั้ง 3 ด้านth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectสังเคราะห์งานวิจัยth
dc.subjectการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงth
dc.subjectMeta – Analysisen
dc.subjectTeaching and Learning Using Philosophy of Sufficiency Economyen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleThe Synthesis of Research on Teaching and Learning Using Philosophy of Sufficiency Economy by Meta-Analysisen
dc.titleการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการวิเคราะห์อภิมานth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010584009.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.