Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/458
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Sukanya Taros | en |
dc.contributor | สุกัญญา ทารส | th |
dc.contributor.advisor | Songsak Phusee - orn | en |
dc.contributor.advisor | ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University. The Faculty of Education | en |
dc.date.accessioned | 2019-11-19T09:19:11Z | - |
dc.date.available | 2019-11-19T09:19:11Z | - |
dc.date.issued | 23/6/2019 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/458 | - |
dc.description | Master of Education (M.Ed.) | en |
dc.description | การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) | th |
dc.description.abstract | The objectives of this study were 1) to study the factors that are related to the drop out of Mahasarakham University students 1st year undergraduate degree 2) to formulate discriminant equation of first year undergraduate students’ drop out at Mahasarakham University, 3) to study on guidelines in decreasing a number of first year undergraduate students’ drop out at Mahasakham University. This research was studied quantitatively and qualitatively. The participants of this study were 239 first year students who enrolled the courses at least one semester in 2015 at Mahasarakham University, which the sample obtained by stratified random sampling, divided by subject groups including humanities and social sciences Science and technology And health science. Moreover, 5 first year students who attended the courses at least one semester in 2015 at Mahasarakham University were also chosen in this study by purposive sampling. The instruments used in this study were 5-likert scale questionnaire to formulate discriminant equation of undergraduate students’ drop out at Mahasarakham University. The variables were divided into 4 aspects with 45 factors including: 1) students’ problems including 6 factors which were basic thought (X11), time management (X12), absence (X13), health and mind problems (X14), deviant behavior (X15) and internet use behavior (X16), 2) instructors’ problems including 4 factors which were teaching technique (X21), knowledge and skills in the content of teaching (X22), educational measurement and evaluation (X23), and instructors’ behavior, 3) students’ family problem including 4 factors which were education support (X31), family’s economic status (X32), relationship within family (X33) and 4) institution’s problem including 6 factors which were general services (X41), adviser system (X42), curriculum and instruction (X43), buildings (X46). Those former variables had discrimination value (rxy) from .27 to .80 and reliability value ( ) from .84 to .90. Furthermore, interview form was also used as an instrument in this study to statistically analyze data to find out mean and standard deviation. The discriminant analysis by using stepwise method proposed by Wilk’s Lambda was also used in this study. The results revealed that: 1. There were 2 factors which can discriminate first year undergraduate students’ drop out at Mahasarakham University consisted of students’ problem (X1) and family problems (X3). The two factors affected discriminant equation with students who were studying and students who dropped out with the significant differences at the .01 level and accurately predicted group membership of students who were studying and students who dropped out at 76.60%. In addition, the sub-variables were also used to analyze discriminant factors that can discriminate students who were studying and students who dropped out found. It was found that 4 factors out of 19 factors were selected to put in discriminant equations which were basic thought (X11) internet use behavior (X16), education support (X31), family’s economic status (X32). Those factors affected discriminant equation with students who were studying and students who dropped out with the significant differences at the .01 and accurately predicted group membership of students who were studying and students who dropped out at 84.90%. The discriminant equation in the form of raw scores and standard scores were shown as follows: Discriminant function equation of main variables Discriminant equation in the form of raw scores Y' = -8.805 + 2.832X1 - .492X3 Discriminant equation in the form of standard scores Z'y = 1.097Z1 - .297Z3 Discriminant function equation of sub-variables Discriminant equation in the form of raw scores Y' = -7.938 + 1.215X11 +1.632X16 -0.435X31 +0.466X32 Discriminant equation in the form of standard scores Z'y = 0.745Z11 + 0.669Z16 -0.343Z31 +0.294Z32 2. The guidelines in decreasing number of first year undergraduate students’ drop out at Mahasakham University were found that. 2.1) Students Aspect: Having activities for changing student’s attitudes was recommended to path students in the good ways including giving educational guidance in order that students will know their requirement and aptitude in choosing their major Moreover, information about advantage and disadvantage of using internet should be provided to students so they would be aware of the effect of overusing internet. Furthermore, educating responsibility and duty was recommended to guide students in order that students would know how to adjust themselves to live happily in the university. 2.2) Family Aspect: University ought to support students in education, family income, and relationship within family by holding the meeting in order to make an agreement between university and parents. Moreover, university should notify students to have an income such as part-time job during their study. Additionally, university was suggested to find the ways to solve the students’ problem. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการออกกลางคันของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 2) สร้างสมการจำแนกการออกกลางคันของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 3) ศึกษาแนวทางการลดจำนวนการออกกลางคันของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ซึ่งดำเนินการศึกษาค้นคว้าทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ที่เข้าศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษาในปีการศึกษา 2558 จำนวน 239 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งตามกลุ่มสาขาวิชา ได้แก่ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ที่เข้าศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา ในปีการศึกษา 2558 จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ชนิด ประกอบด้วย แบบสอบถามเพื่อสร้างสมการจำแนกการออกกลางคันของนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งเป็น 4 ด้าน จำนวน 45 ข้อ ประกอบด้วย 1) ตัวแปรปัญหาด้านนิสิต (X1) ซึ่งมีตัวแปรย่อย 6 ตัวแปร ได้แก่ ความคิดพื้นฐาน (X11) การบริหารเวลา (X12) การขาดเรียน (X13) ปัญหาสุขภาพร่างกายและจิตใจ (X14) พฤติกรรมเบี่ยงเบน (X15) และพฤติกรรมด้านการใช้อินเทอร์เน็ต (X16) 2) ตัวแปรปัญหาด้านอาจารย์ผู้สอน (X2) ซึ่งมีตัวแปรย่อย 4 ตัวแปร ได้แก่ เทคนิคการสอน (X21) ความรู้และทักษะในเนื้อหาที่สอน (X22) การวัดและการประเมินผล (X23) พฤติกรรมของอาจารย์ผู้สอน (X24) 3) ตัวแปรปัญหาด้านครอบครัวของนิสิต (X3) ซึ่งมีตัวแปรย่อย 4 ตัวแปร ได้แก่ การสนับสนุนในการเรียน (X31) ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว (X32) ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว (X33) และ 4) ปัญหาด้านด้านสถานศึกษา (X4) ซึ่งมีตัวแปรย่อย 6 ตัวแปร ได้แก่ ด้านการให้บริการต่าง ๆ (X41) ด้านระบบอาจารย์ที่ปรึกษา (X42) ด้านหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน (X43) ด้านอาคารสถานที่ (X44) ด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน (X45) และสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา (X46) มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ .27 ถึง .80 มีค่าความเชื่อมั่น ( ) ตั้งแต่ .84 ถึง .90 และแบบสัมภาษณ์แบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์จำแนกประเภท (Discriminant Analysis) แบบขั้นตอน (Stepwise Method) โดยวิธีวิลค์ แลมบ์ดา (Wilk’s Lambda) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. ปัจจัยที่สามารถจำแนกการออกกลางคันของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มี 2 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรปัญหาด้านนิสิต (X1) และปัจจัยด้านครอบครัวนิสิต (X3) ซึ่งตัวแปรในสมการจำแนกประเภททั้ง 2 ตัวแปร มีส่วนในการจำแนกกลุ่มนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ และกลุ่มนิสิตที่ออกกลางคัน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และร่วมกันทำนายการเป็นสมาชิกของกลุ่มนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ และกลุ่มนิสิตที่ออกกลางคัน โดยทำนายการออกกลางคันถูกต้องร้อยละ 76.60 นอกจากนี้เมื่อนำตัวแปรย่อยมาวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่สามารถจำแนกกลุ่มนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ และกลุ่มนิสิตที่ออกกลางคัน พบว่า ตัวแปรที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาในสมการจำแนกกลุ่มมี 4 ตัวแปร และจากตัวแปรที่นำมาศึกษาทั้งหมด 19 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรความคิดพื้นฐาน (X11) ตัวแปรพฤติกรรมด้านการใช้อินเทอร์เน็ต (X16) ปัญหาการสนับสนุนในการเรียน (X31) และปัญหาฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว (X32) ซึ่งตัวแปรในสมการจำแนกประเภททั้ง 4 ตัวแปร มีส่วนในการจำแนกกลุ่มนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ และกลุ่มนิสิตที่ออกกลางคัน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และร่วมกันทำนายการเป็นสมาชิกของกลุ่มนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ และกลุ่มนิสิตที่ออกกลางคัน โดยทำนายการออกกลางคันถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 84.90 ซึ่งมีสมการจำแนกในรูปคะแนนดิบและในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ สมการจำแนกประเภท (Discriminant Function) ของตัวแปรหลัก สมการจำแนกประเภทในรูปคะแนนดิบ Y' = -8.805 + 2.832X1 - .492X3 สมการจำแนกประเภทในรูปคะแนนมาตรฐาน Z'y = 1.097Z1 - .297Z3 สมการจำแนกประเภท (Discriminant Function) ของตัวแปรย่อย สมการจำแนกประเภทในรูปคะแนนดิบ Y' = -7.938 + 1.215X11 + 1.632X16 - 0.435X31 + 0.466X32 สมการจำแนกประเภทในรูปคะแนนมาตรฐาน Z'y = 0.745Z11 + 0.669Z16 - 0.343Z31 + 0.294Z32 2. แนวทางการลดจำนวนการออกกลางคันของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มีแนวทางการดำเนินการดังนี้ 2.1) ด้านนิสิต ควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อปรับทัศนคติของนิสิตให้เป็นไปในแนวทางที่ดีต่อการศึกษา รวมถึงการแนะแนวแก่นิสิตเพื่อให้นิสิตทราบความต้องการหรือความถนัดของตนเองต่อการเลือกเรียนในสาขานั้น ๆ รวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของการใช้อินเทอร์เน็ตแก่นิสิต เพื่อให้นิสิตตะหนักถึงผลที่จะเกิดขึ้นหากใช้อินเทอร์เน็ตมากเกินไป การปลูกฝังความรู้สึกรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวนิสิตเอง และส่งเสริมให้นิสิตรู้จักปรับตัวถึงการอยู่ร่วมกันภายในมหาวิทยาลัยได้ 2.2) ด้านครอบครัวของนิสิต มหาวิทยาลัยควรสนับสนุนให้มีการส่งเสริมทางด้านการเรียน ด้านรายได้ของครอบครัว และด้านความสัมพันธ์กับครอบครัว โดยการประชุมเพื่อทำความเข้าใจกับผู้ปกครองของนิสิตในด้านการเรียนการสอนในแต่ละสาขาวิชา การชี้แจงการส่งเสริมให้นิสิตมีรายได้ระหว่างเรียน รวมทั้งการร่วมกันหาวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแก่นิสิต | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | การออกกลางคัน | th |
dc.subject | การจำแนกประเภท | th |
dc.subject | Students Dropping Out | en |
dc.subject | Discriminant Analysis | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.title | Discriminant Factors of Undergraduate Students DroppingOut in Mahasarakham University | en |
dc.title | ปัจจัยจำแนกการออกกลางคันของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57010584022.pdf | 2.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.