Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/45
Title: Development of Care Process for Patient Using Warfarin in Primary Care: a Case Study of Kamalasai District Health Region, Kalasin Province
การพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินของหน่วยบริการปฐมภูมิ: กรณีศึกษาเขตสุขภาพ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
Authors: Archaree Siha
อัจฉรีย์ สีหา
Kritsanee  Saramunee
กฤษณี สระมุณี
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: กระบวนการดูแลผู้ป่วย
ยาวาร์ฟาริน
หน่วยบริการปฐมภูมิ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
Patient care process
Warfarin
Primary care
Action research
Issue Date:  3
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Background: Close monitoring of warfarin patients is necessary as improper use of warfarin might lead to adverse effect and unsuccessful treatment outcome. All level of health care should be able to provide an appropriate care process to avoid complications that might occur to these patients. According to warfarin patients’ medical records at 10 health promotion hospitals in Kamalasai District, Kalasin, prescription of drugs that could interact with warfarin was frequently found. Therefore, it was important to develop a patient care process to monitor these patients for health promotion hospitals to improve safety of warfarin therapy. Objective: To develop and a care process for patients using warfarin during their attendance to health promotion hospitals of Kamalasai District, Kalasin, and to monitor the impacts of such process  Methods: Action research was conducted to develop warfarin patient care process at health promotion hospitals in Kamalasai District, Kalasin. The research included 4 steps: planning, action, observing, and reflecting. The first step (planning) involved collecting data from three types of stakeholders: warfarin clinic staffs, patients taking warfarin, and primary care prescribers. This step intended to seek a collaborative agreement for a care process at primary care. The second step (action) involved taking the care process in action at all health promotion hospitals. The third step (observing) focused on quantitative data collection such as pre-/post-assessment of prescriber’s knowledge related to warfarin and pre-post-comparison of incidence of inappropriate prescription for warfarin patients. The last step (reflecting) related to letting primary care prescribers to reflect their opinions and to adjust/improve the care process. Results: The care process included multiple components: alerting tools to alarm staffs the use of warfarin, posters providing information on precaution medicines with suggested alternative choices, list of patients taking warfarin, protocol for injectable drugs, protocol for patient referral, and issuing patient card. After implementation, primary care prescribers were motivated via LINE® application. The results showed that the inappropriate prescription of warfarin-interacted drugs decreased from 1.6% to 1.4%, though no statistical significance (p=0.906). Primary care prescribers showed better understanding of warfarin significantly (p<0.001) and more confidence on warfarin use. In addition, the staffs became more aware on the safety of warfarin therapy.  Conclusion: The developed warfarin care process has not been proved to provide a significant improvement in the inappropriate prescription of warfarin-interacted drugs; however, it helped primary care prescribers to better understand and concern about warfarin and being willing to collaborate in this patient care process.
หลักการและเหตุผล ผู้ป่วยที่รับยาวาร์ฟารินเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงหรือการรักษาไม่ได้ผล สถานพยาบาลทุกระดับควรมีแนวทางการดูแลกลุ่มนี้ที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว จากข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ของอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่ามีเหตุการณ์การจ่ายยาที่เกิดอันตรกิริยากับวาร์ฟารินให้แก่ผู้ป่วยกลุ่มนี้บ่อยครั้ง  ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยใน รพ.สต. เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาให้กับผู้ป่วย วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยที่รับยาวาร์ฟารินใน รพ.สต. เขตอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ และติดตามผลของกระบวนการ ฯ วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน ใน รพ.สต. เขตอำเภอกมลาไสย และติดตามผลการใช้กระบวนการ ฯ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่  ดังนี้ 1. การวางแผน (planning) เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3 กลุ่ม ได้แก่ บุคลากรในคลินิกวาร์ฟาริน ผู้ป่วย และบุคลากรที่เป็นผู้สั่งใช้ยาใน รพ.สต. เพื่อจัดเตรียมข้อมูลนำเข้าในการพัฒนากระการดูแลผู้ป่วยที่รับยาวาร์ฟาริน มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาวาร์ฟารินให้แก่เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และมีการประชุมกลุ่มเพื่อหาแนวทางในการดูแลผู้ป่วย 2. การปฏิบัติ (action) เป็นการประกาศใช้กระบวนการร่วมกัน 3. การสังเกต (observing) เน้นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ สัดส่วนเหตุการณ์การจ่ายยาที่เกิดอันตรกิริยากับวาร์ฟาริน และระดับความรู้ของเจ้าหน้าที่ รพ.สต. 4. การสะท้อนกลับ (reflecting) เป็นการให้เจ้าหน้าที่ รพ.สต. สะท้อนความคิดเห็นและความเปลี่ยนแปลงในตัวเอง  ผลการศึกษา กระบวนการที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยมีหลายองค์ประกอบ ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยเตือนให้เจ้าหน้าที่ทราบว่าผู้ป่วยรายนี้ใช้ยาวาร์ฟาริน โปสเตอร์ที่แสดงรายการยาที่ควรระวังพร้อมระบุรายการยาทางเลือกและแนวทางการใช้ยา ทะเบียนรายชื่อผู้ป่วย แนวทางในการบริหารยาฉีด แนวทางการส่งตัวผู้ป่วยเมื่อพบภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาวาร์ฟาริน แนวทางการกระตุ้นการปฏิบัติงานผ่านกลุ่มไลน์ และการออกบัตรประจำตัวผู้ป่วย จากการติดตามผลเชิงปริมาณพบว่า อุบัติการณ์การจ่ายยาที่เกิดอันตรกิริยากับวาร์ฟารินลดลงจากร้อยละ 1.6 เป็น 1.4 สำหรับก่อนและหลังการศึกษาตามลำดับ แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.906) แต่ระดับความรู้ที่เกี่ยวกับยาวาร์ฟารินของกลุ่มเจ้าหน้าที่ รพ.สต มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) จากข้อมูลสะท้อนกลับพบว่า เจ้าหน้าที่ รพ.สต. มีความรู้เกี่ยวกับยาวาร์ฟารินเพิ่มขึ้น และในส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้สะท้อนกลับมานั้นก็พบว่า ความรู้และความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยของเจ้าหน้าที่ รพ.สต. เพิ่มขึ้น ได้มีการทำงานร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลและ รพ.สต. และเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ตระหนักในความปลอดภัยของผู้ป่วยมากขึ้น สรุปผลการศึกษา กระบวนการดูแลผู้ป่วยที่รับยาวาร์ฟารินที่พัฒนาขึ้นยังไม่ส่งผลช่วยลดเหตุการณ์การจ่ายยาที่ไม่เหมาะสมในผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่กระบวนการพัฒนางานร่วมกันนั้นช่วยให้ความรู้ของเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ดีขึ้น เกิดการทำงานแบบมีส่วนร่วม และได้แก้ปัญหาร่วมกัน  
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/45
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010781016.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.