Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/465
Title: Developing a Program of Strengthen Teachers in Teaching Creative Sciences Project for Schools under the Office of Secondary Educational Service Area 25
การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 
Authors: Siwaporn Buabud
ศิวพร  บัวบุตร
Thatchai Chittranun
ธัชชัย จิตรนันท์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: โปรแกรมพัฒนาครู
โครงงานวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์
Program Developing Teacher
Creative Sciences Project
Issue Date:  1
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study aimed to 1) study the components of the teaching creative sciences project, 2) study the current state and desirable state of teaching creative sciences project of schools under the office of Secondary Education Service Area 25, 3) developing a program of strengthen teacher in teaching creative sciences project for schools under the office of Secondary Education Service Area 25. The study were divided  into 3 phases, the first phase was study the components of teaching creative sciences project and assessment the components’ suitability used research instrument was the suitability form assessed by 5 luminaries, the second phases was study the current state and desirable state of teaching creative sciences project of schools under the office of Secondary Education Service Area 25, research instrument was the current state and desirable state questionnaire and collected data from the sample group included 169 science teachers under the office of Secondary Education Service Area 25, and the third phase was developing a program of strengthen teacher in teaching creative sciences project for schools under the office of Secondary Education Service Area 25, research instrument were the interview form and the program suitability and possibility assessment form, assessed by 5 luminaries. Descriptive statistics used in this study were mainly percentage, mean and standard deviation. The result of this study were found:                                                                                                               1. The components of teaching creative sciences project included 7 component were as follow: 1) Determine problems that will be studied by themselves 2) Assume hypothesis 3) Designing experiments 4) Conducting experiments 5) Translating results and conclusions 6) project reporting 7) project exhibit. The suitability of components overall and all aspects were at high level.                              2. The result of current state and desirable state of teaching creative sciences project for schools under the office of Secondary Education Service Area 25 has the current state overall were at high level and the desirable state overall were at highest level.                                                                            3. The program of strengthen teachers in teaching creative sciences project for schools under the Office of Secondary Educational Service Area 25 used 4 methods for strengthen teachers were 1) training 2) self study 3) study visit and 4) internal supervision. The program has 5 components included 3.1) principles 3.2) objectives 3.3) content 3.4) procedures and 3.5) program evaluation. The  suitability assessed of program overall were at high level and the possibility assessed of program overall were at highest level. 
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน  สภาพที่พึงประสงค์ของการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 และ 3) พัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 การวิจัยแบ่งออกเป็น  3  ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จำนวน 40 โรงเรียน รวมประชากรทั้งสิ้น 169 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง ของ Krejcie และ Morgan และใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) และระยะที่ 3 พัฒนาโปรแกรมการพัฒนาครูด้านการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า                                                                                                    1. ผลการศึกษาองค์ประกอบของการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์  ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร  ตำรา  งานวิจัยและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์  และได้สังเคราะห์องค์ประกอบการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ได้  7  องค์ประกอบ  คือ 1) กำหนดปัญหาที่จะศึกษาด้วยตนเอง 2) ตั้งสมมุติฐาน 3) ออกแบบการทดลอง 4) ดำเนินการทดลอง  5) แปลผลและสรุปผลการทดลอง 6) เขียนรายงานโครงงาน 7) จัดแสดงโครงงาน ผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก                                                                                   2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 พบว่า มีสภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก                              3. โปรแกรมพัฒนาครูด้านการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 มีวิธีการที่ใช้ในการ พัฒนาครู ประกอบด้วย 4 วิธี คือ 1) การฝึกอบรม 2) การศึกษาด้วยตนเอง 3) การศึกษาดูงาน และ 4) การนิเทศภายใน องค์ประกอบของโปรแกรม ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ  ดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) วิธีดำเนินการ 5) การประเมินผลโปรแกรม ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมโดยรวม  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/465
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010586075.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.