Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/471
Title: Development of Training Program for Preventing Bad-Purpose Internet of Students in Mathayomsuksa 4
การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการรับรู้การใช้อินเทอร์เน็ตไม่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Authors: Chariya Chambairak
จริญา จำใบรัก
Sombat Thairueakham
สมบัติ ท้ายเรือคำ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนา
โปรแกรมฝึกอบรม
ไม่พึงประสงค์
Program
Training Program
Bad-Purpose
Issue Date:  17
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this study were to 1) create and develop and test the training program for preventing students from bad-purpose internet surfing of Matthayomsuksa 4 students and 2) study the result of the program for senior high-school students. The samples of this study were 35 students of a class studying in Matthayomsuksa 4 of Prajacksilapakarn School in the semester 2 of the academic year 2561. They were selected though cluster-random sampling method. They had joined the trainings for 17 times. The research instruments used in the study were the training program for preventing students from bad-purpose internet surfing of the students and the test of the training program for preventing students from bad-purpose internet surfing. containing 40 questions.  The test has scale with discriminating power ranging 0.313 - 0.708 and a reliability of 0.980 The statistics used for analyzing the collected data were mean, standard deviation, and One-way Repeated Measure MANOVA. The study showed that : 1. The developed program has 17 activities and takes 8 weeks (2 hours a week) The program for self-awareness of using the internet for the bad purpose of senior high-school students was evaluated by the five experts, and its quality (IOC) was at best level. 2. The students who had joined the training and the follow-up program had the post-test score higher than the pre-test after they had joined the program for 2 week at the 0.01 level of significance. The students who joined the program had the endurance of knowledge in conclusion.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างและพัฒนาการใช้โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการรับรู้การใช้อินเทอร์เน็ตไม่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2)เพื่อศึกษาผลหลังการใช้โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมต่อการใช้อินเทอร์เน็ตไม่พึงประสงค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคารอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 35 คน 1 ห้องเรียน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 17ครั้งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการรับรู้การใช้อินเทอร์เน็ตไม่พึงประสงค์ และแบบวัดการรับรู้การใช้อินเทอร์เน็ตไม่พึงประสงค์  จำนวน 40 ข้อมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.313-0.708 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.980 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way Repeated Measure MANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการรับรู้การใช้อินเทอร์เน็ตไม่พึงประสงค์ที่ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาขึ้นมี 17 กิจกรรม ใช้เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน ๆ ละ 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 17 ชั่วโมง มีความตรงเชิงเนื้อหาจากการประเมินโครงร่างโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการรับรู้การใช้อินเทอร์เน็ตไม่พึงประสงค์ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พบว่า ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด 2. นักเรียนที่เข้าร่วมโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการรับรู้การใช้อินเทอร์เน็ตไม่พึงประสงค์ มีคะแนนการรับรู้การใช้อินเทอร์เน็ตไม่พึงประสงค์หลังการใช้โปรแกรม (Post-test) สูงกว่าคะแนนการรับรู้การใช้อินเทอร์เน็ตไม่พึงประสงค์ก่อนการใช้โปรแกรม (Pre-test) และมีคะแนนการรับรู้การใช้อินเทอร์เน็ตไม่พึงประสงค์หลังเข้าร่วมโปรแกรม 2 สัปดาห์ (Follow Up) สูงกว่าคะแนนก่อนการใช้โปรแกรม (Pre-test) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/471
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57030581001.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.