Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/476
Title: | Problem Solving for Grade 3 Students about Reading Disabilities Using Multimedia การแก้ปัญหานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านโดยใช้สื่อประสม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 |
Authors: | Sunanta Wongchumpa สุนันทา วงษ์จำปา Songsak Phusee - orn ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | ความบกพร่องทางการเรียนรู้ การอ่าน สื่อประสม Learning Disabilities Reading Multimedia |
Issue Date: | 18 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The research is aimed to solve problems of students with learning disabilities Grade 3 reading using multimedia. Is a way to solve the reading problems of students with learning disabilities using multimedia. To be a guideline for those involved in organizing teaching and learning activities for students with learning disabilities in reading development, creating innovative media for students with learning disabilities risk groups develop reading ability to be more efficient. To improve reading ability this target group Is a grade 3 student with reading learning disabilities Chum chon Wang Pla Pom Witthayasuksa School at Nong Bua Lamphu Primary Educational Service Area Office 2, 3 persons, obtained from the screening results that are students with reading learning disabilities. The tools used in this research were 10 individual lesson plans, reading test on reading assessment test with the consistency index between 0.60–1.00. With an overview of problem solving tools for students with learning disabilities in reading using multimedia Grade 3 is appropriate. Can be used to read test and behavior observation. Statistics used in data analysis are percentage and content analysis.
The research found that:
1. Grade 3 students with reading learning disabilities Learning by using multimedia have better learning behavior responsible for the work assigned.
2. Grade 3 students with reading learning disabilities learning by using multimedia have the ability to read Thai words after studying 60 percent higher than before studying. การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแก้ปัญหานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้สื่อประสม เป็นแนวทางการแก้ปัญหาด้านการอ่านของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยใช้สื่อประสม เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านได้พัฒนา สร้างสื่อ นวัตกรรม สำหรับนักเรียนกลุ่มภาวะเสี่ยงที่บกพร่องทางการเรียนรู้ พัฒนาความสามารถด้านการอ่าน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กลุ่มเป้าหมายในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน โรงเรียนชุมชนวังปลาป้อมวิทยศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 จำนวน 3 คน ได้จากผลการคัดกรองว่าเป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการสอนเฉพาะบุคคล จำนวน 10 แผน แบบทดสอบการอ่าน เรื่องแบบทดสอบความสามารถด้านการอ่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องมีค่า ตั้งแต่ 0.60-1.00 โดยภาพรวมของเครื่องมือการแก้ปัญหานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน โดยใช้สื่อประสม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้แบบทดสอบการอ่าน และแบบสังเกตพฤติกรรม สถิติที่ใข้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ที่เรียนโดยใช้สื่อประสม มีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ดีขึ้น รับผิดชอบการทำงานที่ได้รับมอบหมาย 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ที่เรียนโดยใช้สื่อประสม มีความสามารถในการอ่านคำภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ 60 ขึ้นไป |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/476 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57030581021.pdf | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.