Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/477
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Sumalai Boonruksa | en |
dc.contributor | สุมาลัย บุญรักษา | th |
dc.contributor.advisor | Yannapat Seehamongkon | en |
dc.contributor.advisor | ญาณภัทร สีหะมงคล | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University. The Faculty of Education | en |
dc.date.accessioned | 2019-11-19T09:31:47Z | - |
dc.date.available | 2019-11-19T09:31:47Z | - |
dc.date.issued | 13/7/2019 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/477 | - |
dc.description | Master of Education (M.Ed.) | en |
dc.description | การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) | th |
dc.description.abstract | Inclusive education between vocational education and high school education. It is an opportunity to increase professional education as an alternative for high school students who wish to study together in both general and vocational at the same time. To know the success of the project and including the consequences of the project that will lead to better project development. This research aimed to evaluate of inclusive education between Vocational Education and High School under Secondary Education Service Area Office 23 in Sakon Nakhon Province in 3 topics : input, process, and problems, obstacles, suggestions. The sample 78 Including 7 school administrators, 7 project coordinators, 23 teachers, 35 students and 6 parents acquired by stratified random sampling. The tools used for collect data 3 types: 2 questionnaires in 5-rating scale, 1 for administrators, coordinators and teachers, with the power of discrimination from 0.31 to 0.88 the reliability of 0.97, 2 for students, with the power of discrimination from 0.36 to 0.79, the reliability of 0.93; a 6-item structured observation; and 4 structured interviews, 1) 13-item for school administrators, 2) 12-item for coordinators and teachers, 3) 10-item for students, and 4) 9-item for parents. Analyze data used the percentage, average, standard deviation and content analysis. From answering two aspects of the questionnaire: input and process factors Overall at a high level (x ̅= 4.23) The results of the research were as follows: 1. Input factor The result of the evaluation of input factors from the questionnaire of the study project were at a high level (x ̅= 4.20). Based on observations and interviews, the results of the study were consistent and consistent with the questionnaires. It was found that teachers or personnel related to the study project had the potential to organize learning process activities and educational institutions have a policy to continuously support the implementation of the education program. But still lack the readiness of the budget for the implementation of the project. Including the branches that are open for teaching are also in line with the needs of the students and the venues used in the education program are not enough and appropriate as they should be. 2. Process factor The results of the process evaluation from the questionnaires of the study participants Overall opinions were at a high level (x ̅= 4.26). From observation and interview, the results of the study were consistent and matched with the questionnaire. It was found that the schools in the project had appointed a committee responsible for supervision and coordination especially. Have a policy clearly defined activities by conducting the work according to the plan or policy set according to the procedure, with supervision and monitoring. Organizing learning activities focusing on the development of important professional competencies. Encourage learners to have better skills and professional skills. Learners have practiced vocational skills from real practice. There is a satisfaction survey and the results are summarized to be used in the project implementation. But there is still little publicity for related people. 3. Problems and suggestions Problem study from observations and interviews, found that there is a problem of shortage of management budget shortages of personnel, lack of media, tools, equipment and classrooms, traveling to study, coordination, arrangement of student care systems activity arrangement adaptation of learners, workload, assignment time division and liability of learners. Suggestions study from the interview with the project participants, it was found that participants of the project gave suggestions on the relevant aspects according to their roles and responsibilities, such as the implementation of the Education Project, should receive budget support, media, materials, and additional equipment based on the readiness and suitability of each school, establishments and needs of learners. There should be a system for supervising students in the education program in the area of co-curricular activities clearly and appropriately, through joint consideration of the partner schools. There should be a survey of learners' needs and preparation in every area before accepting students. Including accepting students, students should accept the needs of the learner and should assist students in scholarships Higher quota in education In conclusion, Project of inclusive education between Vocational Education and High School under Secondary Education Service Area Office 23 in Sakon Nakhon Province has evaluated both the input and process factors at a high level should be pressed forward. For the problems, obstacles and suggestions from this study, it should consider reviewing the project to develop the project better in the future. | en |
dc.description.abstract | โครงการจัดการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) เป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาด้านวิชาชีพเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ความประสงค์จะเรียนควบคู่กันทั้งสายสามัญและสายอาชีพไปพร้อมกัน เพื่อให้ทราบถึงความสำเร็จของโครงการ การดำเนินงาน รวมถึงผลที่ตามมาของโครงการ อันจะนำไปสู่การพัฒนาโครงการที่ดีขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อประเมินโครงการทวิศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จังหวัดสกลนคร ใน 3 ด้าน ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านปัญหาและข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่าง 78 คน ได้แก่ ผู้บริหาร 7 คน ผู้ประสานงานโครงการ 7 คน ครูผู้สอน 23 คน นักเรียน 35 คน และผู้ปกครองนักเรียน 6 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 3 ชนิด ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 สำหรับผู้บริหาร ผู้ประสานงาน และครูผู้สอน โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.80 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.91 ฉบับที่ 2 สำหรับนักเรียน โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.31 ถึง 0.71 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86 แบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง จำนวน 1 ฉบับ 6 ข้อ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 4 ฉบับ ฉบับที่ 1 สำหรับผู้บริหาร จำนวน 13 ข้อ ฉบับที่ 2 สำหรับผู้ประสานงานโครงการและครูผู้สอน จำนวน 12 ข้อ ฉบับที่ 3 สำหรับนักเรียน จำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 4 สำหรับผู้ปกครอง จำนวน 9 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากการตอบแบบสอบถาม 2 ด้าน คือ ด้านปัจจัยนำเข้าและด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.23) มีผลดังนี้ 1. ด้านปัจจัยนำเข้า ผลจากการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าจากการตอบแบบสอบถามของผู้มีส่วนร่วมโครงการทวิศึกษามีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.20) จากการสังเกตและสัมภาษณ์ได้ผลการศึกษาที่สอดคล้องและตรงกับแบบสอบถาม โดยพบว่า ครูผู้สอนหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการทวิศึกษามีศักยภาพในการจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้และสถานศึกษามีนโยบายอย่างต่อเนื่องในการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการทวิศึกษามากที่สุด แต่ยังขาดความพร้อมด้านงบประมาณในการดำเนินงานตามโครงการ รวมถึงสาขาที่เปิดทำการสอนยังมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนน้อยและสถานที่เรียนที่ใช้ในหลักสูตรทวิศึกษายังไม่เพียงพอและเหมาะสมเท่าที่ควร 2. ด้านกระบวนการ ผลจากการประเมินด้านกระบวนการจากการตอบแบบสอบถามของผู้มีส่วนร่วมโครงการทวิศึกษา มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.26) จากการสังเกตและสัมภาษณ์ได้ผลการศึกษาที่สอดคล้องและตรงกับแบบสอบถาม โดยพบว่า สถานศึกษาในโครงการได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบดำเนินการ กำกับดูแล และประสานงานโดยเฉพาะ มีการกำหนดนโยบาย รูปแบบกิจกรรมไว้อย่างชัดเจน โดยได้ดำเนินงานตามแผนหรือนโยบายที่ตั้งไว้ตามขั้นตอน มีการนิเทศ กำกับ ติดตามอย่างสม่ำเสมอ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เน้นพัฒนาสมรรถนะสำคัญทางด้านอาชีพส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถและทักษะทางด้านอาชีพที่ดีขึ้น ผู้เรียนได้มีการฝึกทักษะอาชีพจากการปฏิบัติจริง มีการสำรวจความพึงพอใจและนำผลสรุปไปปรับใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ยังมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบน้อย 3. ด้านปัญหาและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาด้านปัญหา จากสังเกตและสัมภาษณ์พบว่า มีปัญหาคือ การขาดแคลนงบประมาณในการบริหารจัดการ ขาดแคลนบุคลากร ขาดแคลนสื่อ เครื่องมือ อุปกรณ์ และห้องเรียน การเดินทางไปเรียน การประสานงาน การจัดระบบดูแลนักเรียน การจัดกิจกรรม การปรับตัวของผู้เรียน ภาระงาน การมอบหมายงาน การแบ่งเวลาและความรับผิดของผู้เรียน ผลการศึกษาข้อเสนอแนะ จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนร่วมโครงการ พบว่า ผู้มีส่วนร่วมโครงการได้ให้ข้อเสนอแนะในแง่มุมที่เกี่ยวข้องตามบทบาทหน้าที่ ได้แก่ การดำเนินงานโครงการทวิศึกษาควรได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเพิ่มเติมโดยพิจารณาตามความพร้อมและความเหมาะสมของแต่ละสถานศึกษา สถานประกอบการและความต้องการใช้ของผู้เรียน ควรมีการจัดระบบดูแลนักเรียนที่อยู่ในโครงการทวิศึกษาในเรื่องของการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรไว้อย่างชัดเจนและเหมาะสมโดยผ่านการพิจารณาร่วมกันของโรงเรียนคู่ร่วมโครงการ ควรมีการสำรวจความต้องการของผู้เรียนและจัดเตรียมความพร้อมในทุก ๆ ด้านก่อนเปิดรับนักเรียน รวมไปถึงการรับนักเรียนนักศึกษาควรรับตามความต้องการของผู้เรียน และควรมีการช่วยเหลือนักเรียนในด้านทุนการศึกษา โควตาในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยสรุป โครงการจัดการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จังหวัดสกลนคร มีผลการประเมินทั้งด้านปัจจัยนำเข้าและด้านกระบวนการอยู่ในระดับมาก จึงควรดำเนินการต่อไป ในส่วนของปัญหาและข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ควรนำไปพิจารณาทบทวนโครงการเพื่อพัฒนาโครงการให้ดียิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | การประเมิน | th |
dc.subject | การจัดการเรียนร่วม | th |
dc.subject | Project Evaluation | en |
dc.subject | Coordinated Learning Management | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.title | Evaluation of Inclusive Education Between Vocational Education and High School under Secondary Education Service Area Office 23 in Sakon Nakhon Province | en |
dc.title | การประเมินโครงการจัดการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จังหวัดสกลนคร | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57030581023.pdf | 6.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.