Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/486
Title: | The Development of Reading and Writing in Thai Words of Pratomsuksa 2 Students through Brain-Based Learning Activities การพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียนคำภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน |
Authors: | Krittayakarn Inphitak กฤตยากาญจน์ อินทร์พิทักษ์ Somsong Sitti สมทรง สิทธิ Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | การอ่านและการเขียนคำภาษาไทย การเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน Reading and Writing in Thai Words Brain-Based Learning Activities |
Issue Date: | 8 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purposes of this research were : 1) to develop the ability in reading Thai words for Prathom Suksa 2 students with the brain-based learning activity as the base To pass the criteria of 75 percent 2) to develop the ability to write in Thai words for Prathom Suksa 2 students with learning activities based on the brain concept as the base To pass the criteria of 75 percent 3) to study the satisfaction of Prathom Suksa 2 students towards learning Thai language by learning activities based on the brain concept as the base Target groups of 9 Prathom Suksa 2 students, 2nd semester, academic year 2017, Ban Na Lom Khok Sawang School. School of Education Quality Development Center Nong Nong Kosum Phisai District Mahasarakham province Under the Office of Primary Education Area, Maha Sarakham District 3. The research tools are 1) 8 learning management plan development of reading and writing Thai words of grade 2 students with Brain-based learning activities on, 2 hours each, total 16 hours. 2) a 20 words practical test, the ability to read words with spelling is not in accordance with the section. 3) The ability to write words with spelling. Not in accordance with number 2, with issue 1, is subjective, dictation type, number 15, and issue 2 is subjective, written type, answer is a measure of ability to write sentences from 10 words and 4) a 10-items questionnaire asking students’ satisfaction towards Thai language learning by using brain-based learning activities with three rating scale. This research uses action research (AR) model by using development action in 2 cycles. The statistics used for data analysis with percentage, mean, standard deviation, and present the data by analyzing the description.
The results of the study were as follows :
1. Prathom Suksa 2 students learning by brain-based learning activities are the subject of reading words with spelling not in accordance with the section. Have the ability to read in Thai words on average, 84.44 percent, which has passed the 75 percent threshold set. There are details of each cycle as follows. The development process in the 1st round has 6 students who passed the criteria. Did not pass the criteria of 3 people on average of 75.01 percent. The development process in the second round has 9 students on average of 84.44 percent.
2. Prathom Suksa 2 students learning with brain-based learning activities are the basis of writing words with spelling not in accordance with the section. Have the ability to write in Thai words on average, 83.95 percent, which has passed the 75 percent threshold set. There are details of each cycle as follows. The development process in the 1st round has 4 students who passed the criteria. Did not pass the criteria of 5 people on average of 75.06 percent. The development process in the second round has 9 students on average of 83.95 percent.
3. The learning satisfaction of Prathom Suksa 2 students towards the learning Thai language by using brain-based learning activities was at the high level.
In summary, the learning activity based on the brain concept can develop students' ability to read and write Thai words with better spelling of the section, to progress more in learning. Therefore, should encourage teachers to apply this teaching technique to teaching and learning activities in other content and other levels. การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านคำภาษาไทยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 2) เพื่อพัฒนาความสามารถการเขียนคำภาษาไทยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนภาษาไทยด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านนาล้อมโคกสว่าง กลุ่มโรงเรียนศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาเหล่าหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสาคาม เขต 3 จาก 1 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง 2) แบบวัดความสามารถการอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา จำนวน 1 ฉบับ เป็นการทดสอบภาคปฏิบัติ 20 คำ 3) แบบวัดความสามารถการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา จำนวน 2 ฉบับ โดยฉบับที่ 1 เป็นแบบอัตนัยชนิดเขียนตามคำบอก จำนวน 15 ข้อ และฉบับที่ 2 เป็นแบบอัตนัยชนิดเขียนตอบ คือ แบบวัดความสามารถการเขียนแต่งประโยคจากคำ จำนวน 10 ข้อ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนภาษาไทยด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เป็นแบบวัดมาตราส่วนประมานค่า (Rating Scale) 3 ระดับ จำนวน 10 ข้อ การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research : AR) แบ่งออกเป็น 2 วงรอบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและนำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง การอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา มีความสามารถในการอ่านคำภาษาไทย โดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 84.44 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ที่ตั้งไว้ มีรายละเอียดแต่ละวงรอบ ดังนี้ การดำเนินการพัฒนาในวงรอบที่ 1 มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 6 คน ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 3 คน โดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 75.01 การดำเนินการพัฒนาในวงรอบที่ 2 มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 9 คน โดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 84.44 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา มีความสามารถการเขียนคำภาษาไทย โดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 83.95 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ที่ตั้งไว้ได้ มีรายละเอียดแต่ละวงรอบ ดังนี้ การดำเนินการพัฒนาในวงรอบที่ 1 มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 4 คน ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 5 คน โดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 75.06 การดำเนินการพัฒนาในวงรอบที่ 2 มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 9 คน โดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 83.95 3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนภาษาไทยด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน สามารถพัฒนาความสามารถของนักเรียนในการอ่านและเขียนคำภาษาไทย ที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราได้ดีขึ้น มีความก้าวหน้าในการเรียนมากขึ้น จึงควรสนับสนุนส่งเสริมให้ครูผู้สอนได้นำเทคนิควิธีการสอนนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในเนื้อหาอื่นและระดับชั้นอื่นต่อไป |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/486 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59010585028.pdf | 5.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.