Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/491
Title: Developing  a  program  to  Enhance  Learning  Leadership  of  Private  Schools’  Administration  under  the  Buriram  Provincial  Education  Office
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดบุรีรัมย์
Authors: Yuze Sun
Yuze Sun
Paiboon Limmanee
ไพบูลย์ ลิ้มมณี
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้
Developing the learning leadership enhancement program
Issue Date:  7
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were to study the status quo, the ideal and the needs of the learning leadership of the private schools teachers, and develop the their learning leadership enhancement program for the general education private schools under the office of the private education commission of Buriram Province. There are three phases: (1) study the components and indicators of teacher learning leadership. There are 5 experts Component evaluation. Research instruments were  assessment forms. The Statistics used for data analysis are mean and standard deviation. (2) studying the status quo, and the ideal of the learning leadership of private school teachers. The samples were 234 private school teachers. Research instrument was questionnaires. Statistics used for data analysis are percentage, mean and standard deviation. The statistics used for phase one. (3) developing the teachers’ learning leadership enhancement program for the general education private schools under the office of the private education commission of Buriram Province. There are 7 experts assessing the program.  Research instruments were project assessment forms and the focus group record forms. The Statistics used for data analysis are mean and standard deviation. The statistics used for this phase.            The results are as follow:                1. There are eight elements and indicators in developing the teachers’ learning leadership enhancement (1) team learning (2) using technologies (3) creative thinking (4) flexibility (5) integration (6) powerful environment for learning (7) research (8) innovation for learning. All elements are suitable and at high level of possibility.                2. It was found that the status quo of the learning leadership of the private schools in developing the teachers’ learning leadership enhancement program for the general education private schools under the office of the private education commission of Buriram Province was at high level. The consideration of individual is at high level in every aspects. For the ideal of learning leadership of the teachers revealed that status quo of the learning leadership of the private schools in developing the teachers’ learning leadership enhancement program for the general education private schools under the office of the private education commission of Buriram Province was at high level. Considering individual aspect is at high level every aspects.                3. The results of the developing the teachers’ learning leadership enhancement program for the general education private schools under the office of the private education commission of Buriram Province include 5 aspects (1) principle (2) objective (3) content (4) procedure (5) evaluate the program. Content scopes are eight modules (1) team learning (2) using technologies (3) creative thinking (4) flexibility (5) integration (6) powerful environment for learning (7) research (8) innovation for learning. The results for the assessment the suitability and the possibility of the program revealed that the suitability and the possibility of the program are at high level.
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำการเรียนรู้ของครูสถานศึกษาเอกชน และพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของครูสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดบุรีรัมย์  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของภาวะผู้นำการเรียนรู้ของครู โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเรียนรู้ของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูสถานศึกษาเอกชน จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของครูสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินโปรแกรม จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินโปรแกรม และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน            ผลการวิจัยปรากฏดังนี้                1. ผลการวิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดโปรแกรมพัฒนาการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของครู ได้ 8 องค์ประกอบ  คือ 1) การเรียนรู้เป็นทีม 2) การใช้เทคโนโลยี 3) ความคิดสร้างสรรค์ 4) ความยืดหยุ่น 5) การบูรณาการ 6) สภาพแวดล้อมต่อการเรียนรู้ 7) การวิจัย 8) นวัตกรรมการเรียนรู้ มีความเหมาะสม โดยรวมทุกองค์ประกอบ อยู่ในระดับมาก                2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเรียนรู้ของครู พบว่า สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำการเรียนรู้ของครูสถานศึกษาเอกชนประเภทสามัญศึกษา  สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดบุรีรัมย์  โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเรียนรู้ของครูสถานศึกษาเอกชนประเภทสามัญศึกษา  สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดบุรีรัมย์  โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก                3.  ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของครูสถานศึกษาเอกชนประเภทสามัญศึกษา  สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ 5 ส่วน ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) วิธีดำเนินการ และ 5) การประเมินผลโปรแกรม และขอบข่ายเนื้อหา แบ่งออก 8 Module ได้แก่ 1) การเรียนรู้เป็นทีม 2) การใช้เทคโนโลยี 3) ความคิดสร้างสรรค์ 4) ความยืดหยุ่น 5) การบูรณาการ 6) สภาพแวดล้อมต่อการเรียนรู้ 7) การวิจัย 8) นวัตกรรมการเรียนรู้ และ ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของโปรแกรม พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/491
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010586028.pdf2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.