Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/497
Title: A development of mathematics learning activities by using inquiry process with Polya's problem solving to promote Mathematics problem solving ability in Matthayomsuksa 5 students
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางคณิตศาสตร์ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Authors: Pachunya Tananta
ปชัญญะ ถานันตะ
Montri Thongmoon
มนตรี ทองมูล
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
Mathemematics problem solving ability
Issue Date:  22
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were to 1) develop of Mathematics learning activities on Vector by using inquiry process with Polya’s problem solving to promote Mathematics problem solving ability in Mathayomsuksa 5 with a required efficiency of 70/70, 2) compare learning achievement on Vector by using inquiry process with Polya’s problem solving in Mathayomsuksa 5 with the criterion of 70 percent, 3) compare Mathematics problem solving ability on Vector by using inquiry process with Polya’s problem solving in Mathayomsuksa 5 with the criterion of  70 percent, 4) investigate the students’ satisfaction on the  Mathematics learning activities management using inquiry process with Polya’s problem solving. The research sample consisted of 51 Mathayomsuksa 5/10 students attending Sarakhampittayakhom school in the second semester of academic year 2018 that selected by purposive sampling. The instruments used in the study were 9 lesson plans for inquiry process with Polya’s problem solving, the achievement tset on learning was 20 item and 4 multiple choice, the mathematics problem solving ability test on learning was 5 item, subjective test and the satistaction of student teat on the mathematics learning activity was 15 items. The statistical method employed for data analysis was percentage, mean, standard deviation and t – test (one sample) which were used in the testing hypotheses. The results of the research were as follows: 1. The mathematical-learning activity by using inquiry process with Polya’s problem solving on vector for Mathayomsuksa 5 had an efficiency of 82.68/76.96, which is higher than the threshold set. 2. The students who learned by using inquiry process with Polya’s problem solving on vector had mathematical learning achievement higher than the 70 percent criterion at .05 level of significance. 3. The students who learned by using inquiry process with Polya’s problem solving on vector had ability in Mathematics problem solving ability higher than the 70 percent criterion at .05 level of significance. 4. The students who learned by using inquiry process with Polya’s problem solving had satisfaction as a whole at a high level. In conclusion, an organization of mathematical-learning activity  by using inquiry process with Polya’s problem solving on Vector for Matthayomsuksa 5 was appropriately efficient that could make the learning achievement even higher and ability in mathematics problem solving ability even higher. The teacher should be supported to implement this in learning plan and teaching method in the future.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง เวกเตอร์ในสามมิติ โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางคณิตศาสตร์ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เวกเตอร์ในสามมิติ โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางคณิตศาสตร์ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เวกเตอร์ในสามมิติ โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง เวกเตอร์สามมิติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/10 โรงเรียนสารคามพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 51 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เวกเตอร์ในสามมิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ชนิดเขียนตอบ จำนวน 5 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (One Sample) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้           1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางคณิตศาสตร์ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.68/76.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 70/70           2. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางคณิตศาสตร์ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05           3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางคณิตศาสตร์ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05           4. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางคณิตศาสตร์ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา มีความพึงพอใจเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เวกเตอร์ในสามมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางคณิตศาสตร์ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยามีประสิทธิภาพเหมาะสม ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนสูงขึ้นด้วย จึงควรสนับสนุนให้ครูนำวิธีการนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไป
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/497
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010556004.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.