Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/498
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Yuangkaew Seepacha | en |
dc.contributor | ยวงแก้ว สีพาชา | th |
dc.contributor.advisor | Sumalee Chookhampaeng | en |
dc.contributor.advisor | สุมาลี ชูกำแพง | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University. The Faculty of Education | en |
dc.date.accessioned | 2019-11-19T09:35:11Z | - |
dc.date.available | 2019-11-19T09:35:11Z | - |
dc.date.issued | 2/8/2019 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/498 | - |
dc.description | Master of Education (M.Ed.) | en |
dc.description | การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) | th |
dc.description.abstract | The purposes of this study were: 1) To study the problems and learning behavior in scientific problem solving of Mathayomseuksa 4 students 2) To development of the Ability in Scientific Problem-solving by Using Problem Based Learning with Fishbone Diagram of Mattayomsueksa 4 Student compared to 70 percent. The sample in this study consisted of 37 Matthayomsueksa students at Phadungnaree School at Mahasarskham province in the second semester of the academic year 2019, The purposive sampling was used to select the target group. The research process was divided into 4 main periods consisting of 4 steps each one; planning, acting, assessment and learning reflection. The instruments used in the research were: 1) lesson plans about problem-based learning with Fishbone Diagram; 2) the problem-solving ability test; 3) behaviors observation of scientific problem solving ability; 4) Reflections on students; and 5) Record form professional learning communities. The data was analyzed by using mean, percentage and standard deviation. The result of this research was follows: 1. The survey of problems and learning behaviors of Mathayomseuksa 4 students were: The students wanted to study by studying the information themselves, the teaching process provides examples such as pictures, videos or situations. So that learners can solve various problems that occur. The Using the science problem-solving ability test of Mathayomseuksa 4 students, , It was found that 20 students not passed the criterion 70% of full scores (54.05%). this research target were Mathayomseuksa 4 student 2. The students being taught by Biology learning activities by using Problem-Based Learning cooperated Fishbone Diagram obtained scores of Ability in Scientific Problem-solving pass criteria 70 percent. When considering each action cycle, it was found as follows: In the first cycle, the students studied using Problem Based Learning cooperated Fishbone Diagram. It was found that 4 students passed the criterion 70% of full scores (20.00%). In the second cycle, the students studied using Problem Based Learning cooperated Fishbone Diagram and focused on the participation in doing experiments. had examples of problem situations, and explained the techniques of problem solving. It was found that 12 students passed the criterion 70% of full scores (60.00%). In the third cycle, the students studied using Problem Based Learning cooperated Fishbone Diagram and focused on identify the problem and analyze the cause of the problem. It was found that 18 students passed the criterion 70% of full scores (90.00%). | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังก้างปลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนผดุงนารี อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 37 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง แผนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบ่งเป็น 3 วงรอบปฏิบัติการ แต่ละวงรอบมีกระบวนการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การลงมือแก้ปัญหา การประเมินผล และการสะท้อนการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังก้างปลา 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์แบบอัตนัย 36 ข้อ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ 4) แบบบันทึกอนุทินนักเรียน 5) แบบบันทึก PLC วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. จากการสำรวจสภาพปัญหาและพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนอยากเรียนรู้ด้วยการศึกษาข้อมูลเอง กระบวนการสอนมียกตัวอย่างให้เห็น ได้แก่ รูปภาพ วีดิโอ หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ และจากการใช้แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า มีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 54.05 ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยนี้ 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังก้างปลามีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 และเมื่อพิจารณาในแต่ละวงจรปฏิบัติการ พบว่า วงจรปฏิบัติการที่ 1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังก้างปลา พบว่า จำนวนนักเรียนที่มีคะแนนการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 20.00 วงจรปฏิบัติการที่ 2 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังก้างปลา โดยเน้นให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ยกตัวอย่างสถานการณ์ปัญหา และอธิบายเทคนิคในการแก้ปัญหา พบว่า จำนวนนักเรียนที่มีคะแนนการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 วงจรปฏิบัติการที่ 3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังก้างปลา โดยเน้นการแก้ปัญหาด้านการระบุปัญหาและหาสาเหตุของปัญหา พบว่า จำนวนนักเรียนที่มีคะแนนการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มจำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 90.00 | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | การคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ | th |
dc.subject | การใช้ปัญหาเป็นฐาน | th |
dc.subject | ผังก้างปลา | th |
dc.subject | Ability in Scientific Problem-solving | en |
dc.subject | Problem Based Learning | en |
dc.subject | Fishbone Diagram | en |
dc.subject.classification | Biochemistry | en |
dc.subject.classification | Decision Sciences | en |
dc.title | Development of the Ability in scientific problem solving by Using Problem – Based Learning with Fishbone Diagram of Mattayomsueksa 4 Students | en |
dc.title | การพัฒนาความสามารถการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังก้างปลาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60010556005.pdf | 2.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.