Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/500
Title: Development  Of  Scientific Conception about Reproduction of flowering plants and growth Using Inquiry-Based Learning 7 E With Gallery Walk technique Of Mathayomsueksa 5 Student 
การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับกลวิธีการเดินชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Gallery Walk) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Authors: Ratchanok Kanchom
รัชนก กันชม
Sumalee Chookhampaeng
สุมาลี ชูกำแพง
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: มโนมติทางวิทยาศาสตร์
Gallery Walk
สืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น
conception
conceptual understanding
Issue Date:  22
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The Development  Of  Scientific Conception  Using Inquiry-Based Learning 7 E With Gallery Walk technique Of Mathayomsuksa 5 Student. Of academic year 2018 from Phadungnaree school in Thailand that selected by purposive sampling. This research aims to the Developing of Scientific Conception  and survey Problem  Scientific Conception Of Mathayomsuksa 5 Student.  By organizing Inquiry-Based Learning 7 E With Gallery Walk technique. The results were as follows: first, The effect of survey Problem  after  the Scientific Conception  test, The results, We found that  20 students passed. From the research, The effect of Scientific Conception  of Biology after the learning by Inquiry-Based Learning 7 E With Gallery Walk technique, after completion of the ring. The results, we found that first, the students had an average score of 24.13 points out of 40 points, which most students of conceptual understanding that is moving some of the classes in action. Second, the students had an average score of 28.45 points out of 40 points. When completed in the 3th cycle action research of the students have got the scored an average of 33.97points out of40 points, equivalent to an average of 84.92 %.There are the students who understand in Scientific Conception about 100%, Which is in understanding  the conception of light in biology at a level which is consistent with the purpose.
                    การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับกลวิธีการเดินชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Gallery Walk) การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์และพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  2. เพื่อพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกลวิธีการสอนเดินชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนผดุงนารี อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2561 จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับกลวิธีการเดินชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 แผน 12 ชั่วโมงและวัดมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้                 1. จากการศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์และพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ปัญหาของนักเรียนคือไม่ชอบเรียนวิชาชีววิทยาเพราะเนื้อหาเยอะ เรียนไม่เข้าใจ และเป็นวิชาที่น่าเบื่อ ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่ขาดมโนมติทางวิทยาศาสตร์ทำให้ไม่สามารถเข้าใจหรือทำข้อสอบได้และจากการสัมภาษณ์พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีพฤติกรรมในการเรียนรู้วิชาชีววิทยาคือ นักเรียนไม่กระตือรือร้นในการเรียนวิชาชีววิทยา ไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม ไม่พยายามที่จะเรียนรู้ และนำโทรศัพท์มือถือขึ้นมาเล่นในเวลาเรียนและพูดคุยกับเพื่อนร่วมโต๊ะทำให้เวลาสอบไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร จึงสอบไม่ผ่านและจากการใช้แบบวัดมโนมติทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 10 ข้อ กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 46 คน พบว่านักเรียนที่มีระดับความเข้าใจความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ระดับ PU/SM ขึ้นไปจำนวน 20 คน และนักเรียนที่มีระดับความเข้าใจความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ระดับ SM และ NU จำนวน 26 คน             2. มโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกลวิธีการสอนเดินชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยเท่ากับ 24.13 คะแนน คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 60.32 โดยมีนักเรียนที่มีระดับความเข้าใจความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ระดับ PU/SM ขึ้นไปจำนวน 34 คน และนักเรียนที่มีระดับความเข้าใจความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ระดับ SM และ NU จำนวน 12 คน วงจรปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมีคะแนนความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยเท่ากับ 28.45 คะแนน คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 71.12 โดยมีนักเรียนที่มีระดับความเข้าใจความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 1 ระดับและอยู่ใน PU/SM ขึ้นไปจำนวน 13 คน มีนักเรียนที่มีระดับความเข้าใจความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ไม่เปลี่ยนแปลงและอยู่ในระดับ PU/SM ขึ้นไปจำนวน 26 คนและนักเรียนที่มีระดับความเข้าใจความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ไม่เปลี่ยนแปลงและอยู่ในระดับ SM และ NU จำนวน 7 คน วงจรปฏิบัติการที่ 3 นักเรียนมีคะแนนความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยเท่ากับ 33.97คะแนน คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 84.92 โดยมีนักเรียนที่มีระดับความเข้าใจความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 1 ระดับและอยู่ใน PU/SM ขึ้นไปจำนวน 24 คน และมีนักเรียนที่มีระดับความเข้าใจความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ไม่เปลี่ยนแปลงและอยู่ในระดับ PU/SM ขึ้นไปจำนวน 22 คน หลังสิ้นสุดวงจรปฏิบัติการที่ 3 พบว่า นักเรียนทั้ง 46 คน มีคะแนนความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ที่ระดับ SM ขึ้นไปซึ่งบรรลุตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้           โดยสรุป การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับกลวิธีการเดินชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Gallery Walk) สามารถพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนโดยแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับกลวิธีการเดินชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Gallery Walk) ได้ ครูผู้สอนวิชาชีววิทยาหรือวิชาอื่นๆ ควรนำการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนต่อไป  
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/500
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010556007.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.