Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/501
Title: | The Development of Learning Activities using Polya's Problem Solving Process for develop Mathematical Problem Solving Ability in Matthayomsuksa 4 Students การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโพลยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 |
Authors: | Wilaiwan Surawanichakul วิไลวรรณ สุระวนิชกุล Montri Thongmoon มนตรี ทองมูล Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดโพลยา Mathematical problem solving ability Polya’s problem solving process |
Issue Date: | 31 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research aim to develop the Mathematical problem solving ability of Mutthayomsuksa 4 students in Sarakhampittayakhom School, Mahasarakham, Thailand. The average score pass of 60 percentage while a target group of this research was 32 students in the second semester of the 2018 academic year. They were selected by using Purposive Sampling. The instruments were are Learning Polya’s problems solving process having 8 lesson plans, and Mathematics problem solving ability test, a subjective type has 4 articles with Polya’s problem solving process. The data were analyzed by using mean, percentage and standard deviation. The result of this research followed: Mathematical problem solving ability of Mutthayomsuksa 4 students after learning with Polya’s problems solving process of Exponent and Exponential. All the target group have an average score following: Cycle 1, students have an average score of 30.09 or 62.70 percentage, Cycle 2 students have an average score of 28.63 or 59.65 percentage and Cycle 3 was have an average score of 35.06 or 73.05 percentage. As observed, there are higher than 60 percentage criterion with 28 students or 87.50 percentage of the target group. However, Mathematical problem solving development was higher, It achieves to be increased in Mathematical problem solving ability. การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโพลยา เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11 โรงเรียนสารคามพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโพลยา เรื่อง เลขยกกำลังและฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล จำนวน 8 แผนการจัดการเรียนรู้ และ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ประเภทอัตนัย ซึ่งมีขั้นตอนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา จำนวน 4 ข้อ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดโพลยา เรื่องเลขยกกำลังและฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล พบว่า วงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 30.09 คิดเป็นร้อยละ 62.70 ของคะแนนเต็ม วงจรปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 28.63 คิดเป็นร้อยละ 59.65 ของคะแนนเต็ม และหลังจบวงจรปฏิบัติการที่ 3 นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 35.06 คิดเป็นร้อยละ 73.05 ของคะแนนเต็ม ซึ่งนักเรียนที่มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 มีจำนวนทั้งสิ้น 28 คน คิดเป็นร้อยละ 87.50 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ยังพบว่า พัฒนาการของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนสูงขึ้น นักเรียนสามารถวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของข้อมูล สามารถเขียนลำดับ เลือกวิธีการแก้ปัญหา และเขียนแสดงขั้นตอนในการแก้ปัญหา จนนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถูกต้องได้ |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/501 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60010556008.pdf | 4.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.