Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/503
Title: Development of Scientific Conceptual Understanding of Grade 11 student by Using Predict-Observe-Discuss-Synthesis Learning Cycle
การพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบ ทำนาย-สังเกต-อภิปราย-สังเคราะห์
Authors: Kamonlapat Puengpan
กมลภัทร พึ่งปาน
Kanyarat Sonsupap
กันยารัตน์ สอนสุภาพ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์
วัฏจักรการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อภิปราย-สังเคราะห์
Scientific Conceptual Understanding
Predict-Observe-Discuss- Synthesis (PODS) learning cycle
Issue Date:  21
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:            The purpose of this research aims to develop scientific conceptual understanding of Grade 11 students by Predict-Observe-Discuss-Synthesis learning cycle, with the intention to achieve complete understanding or partial understanding level and development the students’ achievement in order to not lower than the criterion of 70 percent of full score. The target group was 16 students in mathayomsuksa 5/8 students Sarakhampittayakhom School, Thailand, studied in the second semester of academic year 2018. Action Research was used in this research which consist of 3 cycles. The research instruments were: 1. eight lesson plans with Predict-Observe-Discuss-Synthesis  learning cycle 2. the multiple-choice test with rational explanation covering 15 questions on electricity 3. the semi- structured interview and 4. the learning achievement test which consist of 30 items with 4 multiple choice.            The research presented that in the first cycle, 9 students (56.25%) had scientific concepts understanding on partial understanding or complete understanding levels. Furthermore, 9 students got achievement score higher than 70 percent of full score.In the second cycle, 13 students (81.25%) had scientific concepts understanding on partial understanding or complete understanding levels. Moreover, 14 students got achievement score higher than 70 percent of full score. In the third cycle, 15 students (93.75%) had scientific concepts understanding on partial understanding or complete understanding levels. Additionally, 15 students got achievement score higher than 70 percent of full score.
      การวิจัยครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบ ทำนาย-สังเกต-อภิปราย-สังเคราะห์ ให้อยู่ในระดับความเข้าใจที่ถูกต้องสมบูรณ์ หรือระดับความเข้าใจถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8 จำนวน 16 คน โรงเรียนสารคามพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โดยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการจำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบ ทำนาย-สังเกต-อภิปราย-สังเคราะห์ จำนวน 8 แผน 2) แบบวัดมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่องไฟฟ้ากระแสจำนวน 15 ข้อ และ 3) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ   ผลการวิจัยพบว่า วงจรปฏิบัติการที่ 1 จำนวนนักเรียนมีระดับความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ในระดับความเข้าใจที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ หรือความเข้าใจที่สมบูรณ์ จำนวน 9 คนคิดเป็นร้อยละ 56.25 อีกทั้งพบว่ามีนักเรียนจำนวน 9 คนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณ์ ร้อยละ 70 วงจรปฏิบัติการที่ 2 จำนวนนักเรียนมีระดับความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ในระดับความเข้าใจที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ หรือความเข้าใจที่สมบูรณ์ จำนวน 13 คนคิดเป็นร้อยละ 81.25 อีกทั้งพบว่ามีนักเรียนจำนวน 14 คนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณ์ ร้อยละ 70 วงจรปฏิบัติการที่ 3 จำนวนนักเรียนมีระดับความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ในระดับความเข้าใจที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ หรือความเข้าใจที่สมบูรณ์ จำนวน 15 คนคิดเป็นร้อยละ 93.75 อีกทั้งพบว่ามีนักเรียนจำนวน 15 คนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ททางการเรียนผ่านเกณ์ ร้อยละ 70
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/503
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010556016.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.