Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/513
Title: A Study of Wat Chulamani Pagoda Stucco for Development from Gypsum Board Fragment to Decoration Material
การศึกษาเพื่อพัฒนาลวดลายปูนปั้นพระปรางค์ วัดจุฬามณี จากเศษแผ่นยิปซั่มเป็นวัสดุเพื่อการตกแต่ง
Authors: Chaisit Thongkam
ชัยสิทธิ์  ทองคำ
Ourarom Chantamala
อุรารมย์ จันทมาลา
Mahasarakham University. The Faculty of Fine and Applied Arts
Keywords: ปูนปั้น
พระปรางค์วัดจุฬามณี
ยิปซั่ม
วัสดุเตกแต่ง
Stucco
Wat Chulamani Pagoda
gypsum
Decoration Material
Issue Date:  15
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aim to study the development of material and design to enrich the artistic beauty and value from gypsum board fragment to wall decoration material this integration serve for utility, beauty of art, local demands and preference of local consumer. This research revealed in the purpose of the study which were to : 1) study to test gypsum fragment and combination of material in physical processes to new material for new product design 2) study wat Chulamani pagoda stucco in Phitsanulok province cooperate with new material to innovative develop and design the new product. This innovation will be enable the local people to produce and develop the new product on their own conveniently and efficiently according to the conceptual framework of this study, including these aspects. 1) source of material 2) material specify 3) product design and prototype This study revealed the following results. First Study of gypsum fragment source and physical test of gypsum fragment in Phitsanulok province as a suitable raw material for product development. It was found that the characteristics of gypsum fragment in local sources in general, the dumping of construction materials in the current surrounding the city is easily found. And the size of the most common gypsum fragment in the grinding test, 2 sizes, size 0.38 mm. and 0.22 mm. the characteristic of the gypsum fragment found is that the color of the gypsum fragment is mostly found in white and gray. The structure of loose powder, the experiment, the development of a mixture of materials and the production process of wall decoration materials products from the test to determine the proportion of the gypsum fragment crushed with glutinous rice flour glue and cow leather glue. Appropriate for use in the design and development of wall decoration materials, the mixture ratio between gypsum fragments is crushed with glutinous rice flour glue and cow leather adhesive was 80: 15: 5, which is the most suitable mixture ratio for wall decoration materials, with average stress value 422.55 kilogram per square centimeter, percentage of water absorption 4.23 and percentage, average mass loss 7.05 and experimental results. Forming wall decoration material products. The size of gypsum powder 0.38 mm and 0.22 mm is suitable for making wall decoration materials which are easy to produce wall decoration materials. And the integrity of the test sheet Especially the surface that is tightly bonded and evenly distributed on the surface. 2) The process of designing and producing prototype products, wall decoration materials that are inspired From the study of the characteristics of the stucco pattern of Wat Chulamani, it was found that the swan pattern from the stucco pattern around the base of pagoda Suitable for use as a pattern on the wall decoration materials to have the characteristics of the local Phitsanulok are suitable as a model inspired by stucco designs that uses the concept of designing patterns and shapes as a pattern from the underlying pattern. That adheres to the original manuscript has changed the original pattern by separating the patterns from the original prototypes to be lines that look easier and clearer using this prototype pattern can demonstrate the characteristics and communication patterns that show local characteristics well. The shape of the prototype plate is suitable as a sheet, combining the other sheets continuously. Production can be adjusted in many different colors and has the strength to install appropriate and the quality of the product from the opinions of experts and satisfaction of the sample group of consumers at the highest level in all questions.
งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาเพื่อพัฒนาวัสดุและการออกแบบวัสดุเตกแต่งผนังภายในอาคารจากเศษแผ่นยิปซั่มเพื่อเพิ่มคุณค่าด้านศิลปะและความงาม และเพิ่มมูลค่าให้แก่เศษแผ่นยิปซั่มซึ่งจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อท้องถิ่นทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการนำเศษวัสดุเหลือใช้ประเภทยิปซั่มมาทดลองและทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพเป็นวัสดุเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ 2) ศึกษาลวดลายปูนปั้นพระปรางค์วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลกบูรณาการร่วมกับวัสดุใหม่เพื่อออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบัน โดยมีขอบเขตงานวิจัย คือ มุ่งเน้นศึกษาแนวทางการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อถ่ายทอดให้คนในท้องถิ่นสามารถผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้เศษแผ่นยิปซั่มเป็นวัสดุหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามกรอบแนวคิดที่กำหนด ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านพื้นที่ ด้านวัสดุ ด้านการออกแบบและผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) การศึกษาแหล่งเศษแผ่นยิปซั่มและทดสอบทางกายภาพของเศษแผ่นยิปซั่มในจังหวัดพิษณุโลกเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบที่เหมาะสมต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พบว่า ลักษณะที่พบเศษแผ่นยิปซั่มในแหล่งของท้องถิ่น โดยทั่วไปเป็นที่ทิ้งวัสดุก่อสร้างในปัจจุบันโดยรอบตัวเมืองพบเห็นได้ง่ายทั่วไป และขนาดของเศษแผ่นยิปซั่มที่พบมากที่สุดในการทดสอบบด 2 ขนาด คือ ขนาด 0.38 มิลลิเมตร และ 0.22 มิลลิเมตร ลักษณะของเศษแผ่นยิปซั่มที่พบ คือ สีของเศษแผ่นยิปซั่มพบส่วนใหญ่จะมีสีขาวเทา โครงสร้างของผงจับตัวกันหลวมๆ การทดลองพัฒนาส่วนผสมของวัสดุและกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์วัสดุตกแต่งผนังจากการทดสอบเพื่อหาปริมาณ ประโยชน์เพื่อการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุตกแต่งผนังพบอัตราส่วนผสมระหว่างเศษแผ่นยิปซั่มบดกับกาวแป้งข้าวเหนียวและกาวหนังวัว คือ 80: 15: 5 เป็นอัตราส่วนผสมที่มีความเหมาะสมที่สุดในการทำแผ่นวัสดุตกแต่งผนังมีค่าความเค้นเฉลี่ย 422.55 k/sc. ค่าร้อยละของการดูดซึมน้ำ 4.23 และค่าร้อยละการสูญเสียมวลเฉลี่ย 7.05 และผลการทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์วัสดุตกแต่งผนังพบขนาดของผงยิปซั่ม 0.38 มิลลิเมตร และ 0.22 มิลลิเมตร มีความเหมาะสมในการทำผลิตภัณฑ์วัสดุตกแต่งผนังซึ่งง่ายต่อการผลิตวัสดุตกแต่งผนัง และมีความสมบูรณ์ของแผ่นทดสอบ โดยเฉพาะพื้นผิวที่ยึดเกาะกันแน่น และกระจายบนผิวหน้า ได้สม่ำเสมอ 2) กระบวนการออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบวัสดุตกแต่งผนังที่ได้แรงบันดาลใจ จากการศึกษาข้อมูลลักษณะเฉพาะของลวดลายปูนปั้นพระปรางค์วัดจุฬามณี พบว่าลวดลายจากลายปูนปั้นหงส์รอบฐานพระปรางค์เหมาะสมต่อการนำไปใช้เป็นลวดลายบนแผ่นวัสดุตกแต่งผนังให้มีลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นพิษณุโลกมีความเหมาะสมเป็นต้นแบบที่ได้แรงบันดาลใจาก ลวดลายปูนปั้นที่ใช้แนวคิดในการออกแบบลวดลายและรูปทรงเป็นลักษณะจากลวดลายต้นแบบ ที่ยึดถือตามแบบอย่างต้นฉบับเดิม มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบลวดลายเดิม โดยการแบ่งแยกลวดลายจากลายต้นแบบเดิมให้เป็นลายเส้นที่ดูง่ายและชัดเจนขึ้น การใช้ลวดลายต้นแบบนี้สามารถแสดงให้เห็นถึงลักษณะ และการสื่อสารรูปแบบที่แสดงลักษณะท้องถิ่นได้ดี รูปทรงของแผ่นแผ่นต้นแบบที่เหมาะสมมี ลักษณะเป็นแผ่นผสานเชื่อมแผ่นอื่นได้อย่างต่อเนื่อง การผลิตสามารถปรับเปลี่ยนสีได้หลายแบบและมีความแข็งแรงในการติดตั้ง มีความเหมาะสมและมีคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคในระดับมากที่สุดในทุกประเด็นคำถาม
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/513
Appears in Collections:The Faculty of Fine and Applied Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56010660003.pdf15.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.