Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/516
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPhenphak Horadeeen
dc.contributorเพ็ญพักตร์ หระดีth
dc.contributor.advisorRodchares Hanrinthen
dc.contributor.advisorรจเรศ หาญรินทร์th
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Pharmacyen
dc.date.accessioned2019-11-19T09:39:54Z-
dc.date.available2019-11-19T09:39:54Z-
dc.date.issued28/6/2019
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/516-
dc.descriptionMaster of Pharmacy (M.Pharm.)en
dc.descriptionเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)th
dc.description.abstractObjective: To evaluate the appropriateness of prescribing and developing a system to encourage the appropriate antibiotics use in hospital. Methods: Mixed methods with the concept mapping methods were used in this study. A purposive sampling method was used for sample selection. The samples were 22 medical staff and all patients recorded who were admitted to the ward from 1st October 2016 to 30th September 2017 in a community hospital in Roi Et Province. Four antibiotics including Meropenem, Vancomycin, Piperacillin/tazobactam and Amoxicillin/clavulanic acid were evaluated. The study was conducted between 1st March 2018 to 31st March 2019 at a community hospital in Roi Et Province. Tools  for data collection contain the General record form for participants, Documents for prescribing drugs, Criteria for prescribing drugs. In-depth interview with interview guides and supporting equipment for interviews including the voice recorder were used for data collection in phase 2. All forms and guides were content validated the content by the experts. Data were analyzed using descriptive statistics, multidimensional scaling and hierarchical cluster analysis. Results: From a total of 230 prescriptions, which came from 218 patients, there were 104 prescriptions that the criteria for drug use evaluation (DUE). According to the criteria and in accordance with the clinical practice guidelines, 77.9 percent of prescriptions were appropriate while 22.1 percent is inappropriate.  Meropenem were mostly prescribed inappropriately (53.6%). Inappropriate treatment duration was found the most (35.7%). There were 3 themes of problems classified including 1) practitioners, 2) communication and public relations, and 3) policy and regulation. Based on concept mapping method, there are 7 clusters as follows: 1. Information technology system 2. Policy and action plan 3. Communication 4. Participation of multidisciplinary teams. 5. Review of problems and present results. 6. Education 7. Drug use evaluation guideline. Conclusion: The concept map consisting of 7 issues with multidisciplinary team work should be taken into the action plan for promoting and supporting antibiotic stewardship program.en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความเหมาะสมในการสั่งใช้ยาและพัฒนาระบบการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในโรงพยาบาล วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดร้อยเอ็ด  ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560  ซึ่งผ่านเกณฑ์การคัดเข้าร่วมการวิจัย คือมีการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะ 4 รายการ ได้แก่ Meropenem, Vancomycin, Piperacillin/tazobactam และ Amoxicillin/clavulanic acid  และบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 22 คน  ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการแผนที่มโนทัศน์ (Concept Mapping) ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2561 ถึง 31 มีนาคม 2562 ณ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดร้อยเอ็ด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบเก็บข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปผู้เข้าร่วมวิจัย เอกสารประกอบการสั่งใช้ยา เกณฑ์การประเมินการสั่งใช้ยา  แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และอุปกรณ์สนับสนุนการสัมภาษณ์ ได้แก่ เครื่องบันทึกเสียง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือในเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดกลุ่มความคิด โดยใช้ Multidimensional scaling และ Hierarchical cluster analysis ผลการศึกษา: จากทั้งหมด 230  ใบสั่งยา  ซึ่งมาจากผู้ป่วยจํานวน 218 คน พบว่าใบสั่งยาที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้า 104 ใบสั่งยา ความเหมาะสมในการสั่งใช้ยาตามเกณฑ์การประเมินการสั่งใช้ยาของโรงพยาบาลและสอดคล้องตามมาตรฐานแนวทางรักษาโรค ร้อยละ 77.9 อีกร้อยละ 22.1 เป็นความไม่เหมาะสมในการสั่งใช้ยา รายการยาที่มีการสั่งใช้ไม่เหมาะสมสูงสุดคือ Meropenem  (ร้อยละ 53.6) ซึ่งพบความไม่เหมาะสมด้านระยะเวลาในการใช้ยาสูงเป็นอันดับที่ 1 (ร้อยละ 35.7) ปัญหาการดำเนินงานที่พบแบ่งเป็น 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ ด้านบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ และด้านนโยบายกับระเบียบปฏิบัติ การระดมสมองเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงาน ตามขั้นตอนการสร้างแผนที่มโนทัศน์ของ Trochim ได้แผนที่มโนทัศน์ แบ่งเป็น 7  กลุ่มย่อย ดังนี้ 1. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 2. นโยบายและแผนการดำเนินงาน  3. ประชาสัมพันธ์ระบบงาน เชิงรุก  4. การมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพ 5. กิจกรรมทบทวนปัญหาและนำเสนอผลการปฏิบัติงาน 6. กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญของบุคลากร และ 7. แนวทางปฏิบัติการประเมินการสั่งใช้ยาอย่างเหมาะสม สรุป: การนำแผนที่มโนทัศน์ที่ได้ไปวางแผนการดำเนินงานในระบบสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ยาอย่างเหมาะสมในโรงพยาบาลโดยอาศัยความร่วมมือจากทีม สหวิชาชีพในการมีส่วนร่วม ควรประกอบด้วย 7 ประเด็นที่สำคัญที่พบในการวิจัย เพื่อให้ได้แผนการดำเนินงานให้มีคุณภาพต่อไปth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectการประเมินความเหมาะสมในการสั่งใช้ยาth
dc.subjectแผนที่มโนทัศน์th
dc.subjectทีมสหวิชาชีพth
dc.subjectยาปฏิชีวนะth
dc.subjectDrug use evaluationen
dc.subjectConcept mappingen
dc.subjectmultidisciplinary teamsen
dc.subjectantibioticen
dc.subject.classificationHealth Professionsen
dc.titleDevelopment of the Supporting and Promoting System for Appropriate Antibiotics Use in a Community Hospital by Concept Mapping Techniques with a Multidisciplinary Teamen
dc.titleการพัฒนาระบบการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมในโรงพยาบาลชุมชนด้วยเทคนิคการสร้างแผนที่มโนทัศน์ร่วมกับทีมสหวิชาชีพth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010780004.pdf4.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.