Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/518
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorSupaporn Kaewchanaen
dc.contributorสุภาภรณ์ แก้วชนะth
dc.contributor.advisorWanarat  Anusornsangiamen
dc.contributor.advisorวนรัตน์ อนุสรณ์เสงี่ยมth
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Pharmacyen
dc.date.accessioned2019-11-19T09:39:55Z-
dc.date.available2019-11-19T09:39:55Z-
dc.date.issued21/8/2019
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/518-
dc.descriptionMaster of Pharmacy (M.Pharm.)en
dc.descriptionเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)th
dc.description.abstractObjective: To develop the care model for chronic kidney disease stage 3-4 by multidisciplinary professionals at the chronic kidney disease clinic, outpatient department. Method: Action research was conducted. Twenty-nine patients were interviewed and visited at home to find out medication problems. There was a focus group meeting with 9 multidisciplinary professional teams: doctors, nurses, pharmacists, nutritionists and physiotherapists. They designed care model for patients with chronic kidney disease. This role model was practiced at the kidney disease clinic and evaluated the knowledge, behavior, satisfaction, clinical outcomes that comparing before and after modifying the care model. The duration of study was 7 months. Results: The most common medication problems were found as follows: inaccurate medicine storage 17.65%, incorrect medication administration 14.71%, difficulty in unwrapping pills due to hand muscles weakness at 14.71% and patients lacked knowledge about chronic kidney disease, the proper food, medicines, and herbals to take and avoid. Care model by each multidisciplinary professional’s role including doctor diagnosed disease then evaluated the stage of chronic kidney disease, comorbid diseases dose adjustment according to laboratory results; nurse guided the knowledge about chronic kidney disease, treatment guidelines and their treatment rights; pharmacist trained patients on how to take medicines, proper storage and warned of adverse drug reactions, and herbs that should be avoided; nutritionist advised patients about food that was suitable for chronic kidney disease patients;  physiotherapists instructed patients about the appropriate exercise for chronic kidney disease patients. Comparing to results before and after the development of care model found that: most of the samples were female, 65.52%, aged 41-60 years and above. The most common comorbid disease, 14 cases, the average number of medications, 8.67 items. Disease knowledge scores increased from 9.83 ± 2.14 to 12.52 ± 1.47 points, statistically significant (p = 0.000). Behavior scores increased from 46.52 ± 4.42 to 49.41 ± 4.98 points, statistically significant (p = 0.002). The satisfaction score of patient service has also increased. Clinical outcomes showed that blood pressure, while the heart is squeezing and loosening, compression and relaxation (p = 0.288, p = 0.768, respectively), fasting blood sugar levels (p = 0.453), glomerular filtration rate (p = 0.092) were not different. Serum creatinine (p = 0.037) was significantly different. However, after adjusting the care model, found that 3 patients had better glomerular filtration rate (10.34%). Glomerular filtration rate was unchanged in 18 cases (62.06%) and the glomerular filtration rate was down in 8 cases (27.59%). Conclusion: Care model for patients with chronic kidney disease by multidisciplinary professionals can help patients gain more knowledge about how to treat themselves when they face chronic kidney disease. From the above research results, the model helps to slow down the deterioration of the kidneys and has better clinical results.  en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 โดยทีมสหวิชาชีพ ที่คลินิกโรคไตเรื้อรัง แผนกผู้ป่วยนอก วิธีการ: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วย 29 ราย ร่วมกับการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านเพื่อค้นหาปัญหาการใช้ยา การสนทนากลุ่มทีมสหวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักโภชนากร นักกายภาพบำบัด จำนวน 9 คน เพื่อร่วมกันออกแบบวิธีการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง นำรูปแบบไปทดลองปฏิบัติที่คลินิกโรคไต และประเมินผลในด้านความรู้ พฤติกรรมการปฏิบัติตัว ความพึงพอใจ ผลลัพธ์ทางคลินิกเปรียบเทียบก่อนและหลังการปรับรูปแบบการดูแลผู้ป่วย โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษา 7 เดือน ผลการวิจัย: ปัญหาการใช้ยาที่พบส่วนใหญ่คือ การเก็บรักษายาไม่ถูกต้องร้อยละ 17.65 การรับประทานยาไม่ถูกต้องร้อยละ 14.71 การแกะเม็ดยาเนื่องจากกล้ามเนื้อมืออ่อนแรงร้อยละ 14.71 และผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังยังขาดความรู้ในเรื่องโรค อาหาร ยา และสมุนไพร รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโดยแต่ละสหวิชาชีพมีบทบาทได้แก่ แพทย์วินิจฉัยโรค ประเมินระดับโรคไตเรื้อรัง โรคร่วมต่าง ๆ และปรับยาตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ พยาบาลให้ความรู้เรื่องโรคไตเรื้อรัง แนวทางการรักษาและสิทธิการรักษาของผู้ป่วย เภสัชกรให้ความรู้เรื่องยา การใช้ยา การเก็บรักษาและอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและสมุนไพรที่ควรหลีกเลี่ยง นักโภชนากรให้ความรู้เรื่องอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง นักกายภาพบำบัดให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.52 อายุระหว่าง 41-60 ขึ้นไป โรคร่วมมากที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง 14 ราย รายการยาเฉลี่ย 8.67 รายการ คะแนนความรู้เรื่องโรคเพิ่มขึ้นจาก 9.83 ± 2.14 คะแนนเป็น 12.52 ± 1.47 คะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.000) คะแนนพฤติกรรมในการปฏิบัติตัวเพิ่มขึ้นจาก 46.52 ± 4.42 คะแนน เป็น 49.41 ± 4.98 คะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.002) อีกทั้งคะแนนความพึงพอใจต่อการรับบริการของผู้ป่วยก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ผลลัพธ์ทางคลินิกพบว่า ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัว (p=0.288, p=0.768 ตามลำดับ) ค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (p=0.453) ค่าอัตราการกรองของไต (p=0.092) ไม่แตกต่างกัน ค่า serum creatinine (p=0.037) แตกต่างกันอย่างมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม หลังการปรับรูปแบบการดูแลผู้ป่วยพบผู้ป่วยที่มีค่าอัตราการกรองของไตดีขึ้น 3 ราย (ร้อยละ 10.34) ค่าอัตราการกรองของไตไม่เปลี่ยนแปลง 18 ราย (ร้อยละ 62.06) และค่าอัตราการกรองของไตลดลง 8 ราย (ร้อยละ 27.59) สรุป: รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังแบบทีมสหวิชาชีพช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้เรื่องโรคไตและการปฏิบัติตัวเพิ่มขึ้น น่าจะส่งผลช่วยชะลอการเสื่อมของไตและผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีขึ้นth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectสหวิชาชีพth
dc.subjectการวิจัยเชิงปฏิบัติการth
dc.subjectโรคไตเรื้อรังth
dc.subjectMultidisciplinaryen
dc.subjectAction researchen
dc.subjectChronic kidney diseaseen
dc.subject.classificationPharmacologyen
dc.titleDevelopment of Care Model for Patients with Chronic Kidney Disease by Multidisciplinary Professionals at Nang Rong Hospitalen
dc.titleการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยสหวิชาชีพ ณ โรงพยาบาลนางรอง th
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010781014.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.