Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/528
Title: Relationships between Productivity Management Potentiality and Corporate Success of  Steel Industry in Thailand
ความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพการบริหารการผลิตที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรของอุตสาหกรรมผลิตเหล็กในประเทศไทย
Authors: Thaman Rarongkham
ธามัน ราร่องคำ
Supapong Pinweha
ศุภพงษ์ ปิ่นเวหา
Mahasarakham University. Mahasarakham Business School
Keywords: ศักยภาพการบริหารการผลิต
ความสำเร็จขององค์กร
อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทย
Productivity Management Potentiality
Corporate Success
Steel Industry in Thailand
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Due to economic, political, and social change, the economic system has been adjusted and is more aware and responsive to organizational management. Thailand has an open economy, so international trade is very crucial as the development mechanism to move the country forward and accelerate economic expansion. The steel industry is one of the key industries for country’s development as it connects to other industries such as automotive, electric appliances and electronics, furniture, canned food, machinery, and the construction industry. International trade and free trade are the key factors to move the Thai economy forward. Therefore, it is necessary for the production executive to study productivity management potentiality to set the orientation of organizational operations to be consistent with the current and future unstable economy to become successful and achieve the primary goal, profit. For this reason, the researcher studied the relationships between productivity management potentiality and corporate success of the steel industry in Thailand. Data was collected from 127 production steel industry executives in Thailand. The research tool was a questionnaire. The statistics used were T-test, F-test, ANOVA and MANOVA, multiple correlation analysis, simple regression analysis, and multiple regression analysis. The findings indicated that the opinion of the production executives on productivity management potentiality, both overall and by aspect in terms of input, production control, and production planning was at the high level, while that of quality control was at the highest level. Their opinion on corporate success, both overall and by aspect in terms of resource utilization and innovation was at the high level whereas that of timeliness and standardized were at the highest level. Additionally, the production executives, who had different operational capital and employees, had different opinions on productivity management potentiality, both overall and by aspect in terms of input, production planning, production control, and quality control. The production executives, who had different operational capital and employees had a different opinion on corporate success, both overall and by aspect in terms of timeliness, standardized, resource utilization, and operational innovation. Relationships and impacts analysis results revealed that productivity management potentiality in terms of production control had a positive relationship and impact on corporate success in terms of timeliness, standardized, and operational innovation. Productivity management potentiality in terms of production control and quality control had a positive relationship and impact on corporate success in terms of resource utilization. In short, productivity management potentiality had a positive relationship and impact on corporate success. Thus, production executives of the steel industry in Thailand should emphasize and give priority to the production process, with efficient and effective production control to achieve success in productivity management, timeliness, and standardization. Resources should be utilized effectively for maximum benefits, and innovation should be created for sustainable growth and development in the production process to be well prepared and competitive. Leading to the success of the steel industry in Thailand, from orientation planning to maximize production opportunity and competitiveness for continuing corporate success.
จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจเกิดการปรับเปลี่ยนและตื่นตัวในการบริหารจัดการองค์กรมากยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด จึงทำให้การค้าระหว่างประเทศมีบทบาทสำคัญในฐานะกลไกในการพัฒนาและนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศ รวมทั้งการผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมเหล็กถือได้ว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมพื้นฐานที่มีความสำคัญในการพัฒนาประเทศ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ อาหารกระป๋อง (บรรจุภัณฑ์) เครื่องจักรกล และอุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นต้น การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ และการเปิดเสรีทางการค้าถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย ดังนั้น ผู้บริหารฝ่ายการผลิต จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาศักยภาพการบริหารการผลิตเพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินงานขององค์กรให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้องค์กรธุรกิจประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมายสูงสุดนั้นก็คือกำไรจากการดำเนินธุรกิจนั้นเอง ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพการบริหารการผลิตที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรของอุตสาหกรรมผลิตเหล็กในประเทศไทย โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารฝ่ายการผลิตอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทย จำนวน 127 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test, F-test (ANOVA และ MANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ (Multiple Correlation Analysis) การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย  พบว่า  ผู้บริหารฝ่ายการผลิต มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีศักยภาพการบริหารการผลิตโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านการควบคุมการผลิต และด้านการวางแผนการผลิต และอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการควบคุมคุณภาพ ผู้บริหารฝ่ายการผลิต มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีความสำเร็จขององค์กรโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า และด้านนวัตกรรมการดำเนินงาน และอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านงานสำเร็จทันเวลา และด้านผลงานได้มาตรฐาน   ผู้บริหารฝ่ายการผลิต ที่มีจำนวนทุนดำเนินงานและจำนวนพนักงานต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีศักยภาพการบริหารการผลิตโดยรวมและเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้าด้านการวางแผนการผลิต ด้านการควบคุมการผลิต และด้านการควบคุมคุณภาพ แตกต่างกัน  ผู้บริหารฝ่ายการผลิต ที่มีจำนวนทุนดำเนินงานและจำนวนพนักงานต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีความสำเร็จขององค์กรโดยรวมและเป็นรายด้าน ด้านงานสำเร็จทันเวลา ด้านผลงานได้มาตรฐาน  ด้านการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า และด้านนวัตกรรมดำเนินงาน แตกต่างกัน จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ  พบว่า 1) ศักยภาพการบริหารการผลิต ด้านการควบคุมการผลิต มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จขององค์กรโดยรวม ด้านงานสำเร็จทันเวลา ด้านผลงานได้มาตรฐาน และด้านนวัตกรรมดำเนินงาน และ 2) ศักยภาพการบริหารการผลิต ด้านการควบคุมการผลิต และด้านการควบคุมคุณภาพ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จขององค์กร ด้านการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า โดยสรุป มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จขององค์กร ดังนั้น ผู้บริหารฝ่ายการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทยกระบวนการผลิตและการควบคุมคุณภาพการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการบริหารจัดการการผลิต ให้ทันต่อเวลา ได้รับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ โดยใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในกระบวนการผลิตให้มีความพร้อมและมีความสามารถในการแข่งขันเหนือคู่แข่ง อันจะส่งผลต่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมผลิตเหล็กในประเทศไทย ในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มโอกาสทางการผลิตและเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันเพื่อความสำเร็จขององค์กรอย่างต่อเนื่อง
Description: Master of Economics Program in Business Economics (M.Econ.)
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/528
Appears in Collections:Mahasarakham Business School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010987003.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.