Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/530
Title: | The Relationship between Account Receivable Management Efficiency and Organizational Performance of Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives in The Northeast of Thailand ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบริหารลูกหนี้กับผลการดำเนินงานของ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย |
Authors: | Sirinada Hawirot สิรินดา หาวิรส Nongluk Sangmahachai นงลักษณ์ แสงมหาชัย Mahasarakham University. Mahasarakham Business School |
Keywords: | ประสิทธิภาพการบริหารลูกหนี้ ผลการดำเนินงาน Account Receivable Management Efficiency Organizational Performance |
Issue Date: | 24 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Bank for agriculture and agricultural cooperatives in the northeast is an important financial institution to the Thai economy, it is an organization that provides financial assistance to farmers agricultural cooperatives and other occupations related to agriculture, and the work of credit management requires the skills, knowledge, and abilities of the operator to work. Credit management is very important to the survival of the organization, the organization must therefore focus on efficiency management of debtors, in order to achieve the performance as specified. Here, the researcher studies the relationship between account receivable management efficiency and organizational performance of bank for agriculture and agricultural cooperatives in the Northeast. The data were collected by a questionnaire. The sample of the research consisted of 156 bank branch executives of bank for agriculture and agricultural cooperatives in the Northeast. Statistics employed for analyses of data included F-test (ANOVA and MANOVA), multiple correlation analysis, simple regression analysis, and multiple regression analysis.
The research results were as follows: the overall each dimension of account receivable management efficiency have been assessed at the highest level: the credits information, and capability of integration in debt quality development, and have been assessed at the high level: the geosocial debtor, whilst the dimension of performance have also been rated at highest level: financial perspective, and learning and growth perspective, and have been assessed at the high level: internal process perspective, and customer perspective.
Bank branch executives with different umber of loan customers had opinions about having overall account receivable management efficiency, bank branch executives with different umber of loan customers had opinions about having performance in the dimensions: financial perspective, and bank branch executives with different operating time had opinions about having overall account receivable management efficiency and overall performance by objective differently.
According to the analyses of data in terms of relations and effects, it was found that (1) account receivable management efficiency of credits information positively affected and related to performance in the dimensions: financial perspective, internal process perspective, and learning and growth perspective, and (2) account receivable management efficiency of geosocial debtor positively affected and related to performance in the dimensions: financial perspective, customer perspective, internal process perspective, and learning and growth perspective, (3) account receivable management efficiency of capability of integration in debt quality development positively affected and related to performance in the dimensions: financial perspective, customer perspective, internal process perspective, and learning and growth perspective.
In conclusion, account receivable management efficiency positively affected and related to performance. Therefore, bank branch executives should focus on the importance of account receivable management efficiency, especially for credits information, geosocial debtor, and capability of integration in debt quality development, in order to achieve efficiency in banking operations, which will continue to support good performance. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นสถาบันการเงินที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย เป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่เกษตรกร สหกรณ์การเกษตร และกลุ่มอาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร และงานด้านการบริหารสินเชื่อจำเป็นต้องอาศัยทักษะ ความรู้ ความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน การบริหารสินเชื่อมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความอยู่รอดขององค์กร องค์กรจึงต้องให้ความสำคัญต่อการบริหารลูกหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดผลการดำเนินงานตามที่กำหนดไว้ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบริหารลูกหนี้กับผลการดำเนินงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารสาขาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จำนวน 156 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ F – test (ANOVA และ MANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณและการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารสาขาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีประสิทธิภาพการบริหารลูกหนี้โดยรวม ด้านข้อมูลสารสนเทศด้านสินเชื่อ และด้านความสามารถด้านทักษะการบูรณาการในการพัฒนาคุณภาพลูกหนี้ อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านภูมิสังคมของลูกหนี้ อยู่ในระดับมาก และผู้บริหารสาขาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีผลการดำเนินงานโดยรวม ด้านการเงิน และด้านการเรียนรู้และพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านกระบวนการภายใน และด้านลูกค้า อยู่ในระดับมาก ผู้บริหารสาขาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ที่มีจำนวนลูกค้าเงินกู้แตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารลูกหนี้โดยรวม แตกต่างกัน ผู้บริหารสาขาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ที่มีจำนวนลูกค้าเงินกู้แตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน ด้านการเงิน แตกต่างกัน และผู้บริหารสาขาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ที่มีระยะเวลาในการดำเนินงาน แตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารลูกหนี้โดยรวม และผลการดำเนินงานโดยรวม แตกต่างกัน จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่า 1) ประสิทธิภาพการบริหารลูกหนี้ ด้านข้อมูลสารสนเทศด้านสินเชื่อ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงานโดยรวม ด้านการเงิน ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และพัฒนา 2) ประสิทธิภาพการบริหารลูกหนี้ ด้านภูมิสังคมของลูกหนี้ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงานโดยรวม ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และพัฒนา 3) ประสิทธิภาพการบริหารลูกหนี้ ด้านความสามารถด้านทักษะการบูรณาการในการพัฒนาคุณภาพหนี้ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงานโดยรวม ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายในและด้านการเรียนรู้และพัฒนา โดยสรุป ประสิทธิภาพการบริหารลูกหนี้ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงาน ดังนั้น ผู้บริหารสาขาธนาคารควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารลูกหนี้ ด้านข้อมูลสารสนเทศด้านสินเชื่อ ด้านภูมิสังคมของลูกหนี้ และด้านความสามารถด้านทักษะการบูรณาการในการพัฒนาคุณภาพหนี้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานธนาคาร อันจะเกื้อหนุนให้เกิดการมีผลการดำเนินงานที่ดีในอนาคต |
Description: | Master of Business Administration (M.B.A.) บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/530 |
Appears in Collections: | Mahasarakham Business School |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59010984003.pdf | 3.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.