Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/54
Title: Species Diversity and Utilization of Medicinal Plants of Kuy, Yor and Lao Tribes in Khok Khu Khat – Ban Khu Si Chae Community Forest, Phrai Bueng District, Sisaket Province
ความหลากชนิดและการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์กูย, เยอ และลาว ในพื้นที่ป่าชุมชนโคกคูขาด – บ้านคูสี่แจอำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
Authors: Sarunya Khopan
ศรัญญา ก่อพันธ์
Tawatchai Tanee
ธวัดชัย ธานี
Mahasarakham University. The Faculty of Environment and Resource Studies
Keywords: ความหลากชนิด
การใช้ประโยชน์
ป่าชุมชน
กลุ่มชาติพันธุ์
ภูมิปัญญา
species
diversity
utilization
community forest
ethnic groups
traditional
Issue Date:  15
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The traditional utilization of medicinal plants is derived from the indigenous peoples and may be integrated with local cultural beliefs or ethnic groups. This study aimed to study the species diversity and utilization of Medicinal Plants of Kuoy Tribe in Khok Khu Khat – Ban Khu Si Chae community forest, Phrai Bueng district, Si sa ket Province. The field survey was done by quadrant sampling using plot size of 20 x 20 meter² for a period of 1 year in 2  period time. Including 1 period time between December 2016 - May 2017 and 2 period time between June - November 2017. The collected information was applied for plant density, relative density, frequency, relative frequency, dominance, relative dominance, important value index, diversity index, evenness index and interviewing local practitioners in community. The results showed that the medicinal plants species Khok Khu Khut community forest for 2 period time, were identified into 43 families with 75 species, 40 families with 68 species in 1 period time and 43 families with 75 species in 2 period time, The most importance value index (IVI) of the plants was Erythophleum succirubrum Gagnep, Melodorum fruticosum Lour, Canarium subulatum Guill and Peltophorum dasyrachis (Miq.) Kurz. Importance value index was 26.26, 25.91, 21.62 , 15.12 in 1 period time and 25.08, 24.78, 21.59, 14.86 in 2 period time. The Evenness index of both period time was 0.83. It shows the evenness index of the trees in the community forest area. From traditional utilization of medicinal plants informant consensus factor (ICF) data there were 115 medicinal plants used for the treatment of 66 symptoms.
ภูมิปัญญาในการใช้พืชสมุนไพรเกิดจากกลุ่มชนพื้นบ้านนำทรัพยากรพรรณพืชสมุนไพรมาใช้ในชุมชนและอาจมีการผสมผสานกับความเชื่อในวัฒนธรรมท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่หรือกลุ่มชาติพันธุ์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาความหลากชนิดและดัชนีความสำคัญของพืชสมุนไพร รวมถึงการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์กูย เยอและลาว ในพื้นที่ป่าชุมชนโคกคูขาด – บ้านคูสี่แจ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวางแปลงตัวอย่าง ขนาด 20 x 20 เมตร เป็นระยะเวลา 1 ปีจำนวน 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 – เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 และระยะที่ 2 ระหว่างเดือนมิถุนายน – เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560  วิเคราะห์ความหนาแน่น ความหนาแน่นสัมพัทธ์ ความถี่ ความถี่สัมพัทธ์ ความเด่น ความเด่นสัมพัทธ์ ค่าดัชนีความสำคัญของพรรณไม้ ค่าดัชนีความหลากหลาย ค่าดัชนีความสม่ำเสมอของชนิดพันธุ์ และศึกษาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์หมอยาชาวบ้านและชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์กูยเยอ และลาวที่อาศัยอยู่รอบบริเวณป่า ผลการศึกษาพบว่า ป่าชุมชนโคกคูขาด – บ้านคู่สี่แจ 2 ระยะ พบพรรณไม้ทั้งหมด 43 วงศ์ 75 ชนิด โดยในระยะที่ 1 พบพรรณไม้ทั้งหมด 40 วงศ์ 68 ชนิด ส่วนในระยะที่ 2 พบพรรณไม้ทั้งหมด 43 วงศ์ 75 ชนิด พรรณไม้ที่มีดัชนีความสำคัญมากที่สุดของทั้ง 2 ฤดู คือ พันซาด (Erythophleum succirubrum Gagnep.) รองลงมาคือ ลำดวน (Melodorum  fruticosum  Lour.) มะกอกเกลื้อน (Canarium  subulatum  Guill.) และอะราง (Peltophorum dasyrachis (Miq.) Kurz) มีค่าดัชนีความสำคัญในระยะที่ 1 เท่ากับ 26.26, 25.91, 21.62 และ 15.12 ตามลำดับ และค่าดัชนีความสำคัญในระยะที่ 2 เท่ากับ 25.08, 24.78, 21.59 และ 14.86 ตามลำดับ และค่าดัชนีความสม่ำเสมอของชนิดพันธุ์ของทั้ง 2 ระยะ เท่ากับ 0.83 แสดงให้เห็นถึงความสม่ำเสมอของพรรณไม้ในพื้นที่ป่าชุมชนโคกคูขาด – บ้านคูสี่แจ ส่วนองค์ความรู้ในการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์กูย, เยอ และลาว มีการนำพืชสมุนไพรทั้งหมด 115 ชนิด มาใช้ในการรักษาอาการโรคทั้งหมด 66 อาการ
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/54
Appears in Collections:The Faculty of Environment and Resource Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57011752002.pdf7.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.