Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/554
Title: Powers of Exclusion and the Impact of the Forest Reclamation Policy on the Poor in Sakon Nakhon Province
อำนาจการกีดกันและผลกระทบที่มีต่อคนจนจากนโยบายทวงคืนผืนป่า กรณีศึกษา บ้านจัดระเบียบ ตำบลหลุบเลา อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร
Authors: Phumin Phalusuk
ภูมินทร์ พาลุสุข
Alongkorn Akkasaeng
อลงกรณ์ อรรคแสง
Mahasarakham University. The College of Politics and Governance
Keywords: การกีดกัน
อำนาจ
คุณภาพชีวิต
นโยบายทวงคืนผืนป่า
exclusion
power
quality of life
Expropriation of Land Policy
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study of “Powers of Exclusion and the Impact of the Forest Reclamation Policy on the Poor in Sakon Nakhon Province” intends to 1. study the exclusive condition which keep people from their farm lands by studying four type of power of exclusion which are power of regulation, power of force, power of market, and power of justification. 2. study the effects on local people both prior and after the promulgation of the policy by the National Council for Peace and Order (NCPO), by studying directly from the effected local people during the policy is promulagated until now; depth interviews and collective observations and documents; books, articles, social medias, and related researches. This study shows that 1. the exclusive condition which keeps people from their farm lands causes; a) exclusion by regulation, enforcing regulations that restrict local people’s bargaining power and keep them from participating in the management of the resources, b) exclusion by force, local people are threatened and pressured to leave their lands, c) exclusion by market, there are purchases of lands among local people only, no purchase of land by landlord is made, d) Establishment of justification, Most officiers only claim authority by law over the people to conduct. 2. effects on local people's quality of life both prior and after the promulgation of the policy; a) career happiness, the people are not happy about their careers after the policy is enforced, b) well being of the community, there is polarization among local people due to land disputes in the area, c) well being of financial condition, local people are charged and sued which forced them to sell part of their property and loan money to afford to fight lawsuits, d) well being of health condition, local people's health are deteriorated after the policy is enforced and lawsuits are charged.
การศึกษาวิจัยเรื่อง “อำนาจการกีดกันและผลกระทบที่มีต่อคนจนจากนโยบายทวงคืนผืนป่า กรณีศึกษา บ้านจัดระเบียบ ตำบลหลุบเลา อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร” นี้ มีความมุ่งหมายที่จะ 1. เพื่อศึกษาสภาวะการกีดกัน ที่กีดกันชาวบ้านออกจากที่ทำกินของตนเอง โดยการศึกษาผ่านอำนาจในการกีดกัน 4 แบบ คือ อำนาจในทางกฎหมาย อำนาจในการใช้กำลัง อำนาจในทางตลาด และอำนาจในการสร้างความชอบธรรม 2. เพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ ทั้งก่อนและหลังการประกาศนโยบายทวงคืนผืนป่า ของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยใช้วิธีการศึกษาผ่าน ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่บ้านจัดระเบียบที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายทวงคืนป่า ผ่านการศึกษารูปแบบของเอกสาร หนังสือ บทความ สื่อออนไลน์ต่างๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ในช่วงการประกาศนโยบายทวงคืนผืนป่าถึงปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาวะการใช้อำนาจกีดกันชาวบ้านออกจากที่ดินทำกินของตนเองทั้ง 4 แบบ นั้นพบว่า ก) การกีดกันโดยใช้กฎหมาย มีการออกกฎหมายที่ชาวบ้านไม่มีอำนาจต่อรองและชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร ข) การกีดกันโดยใช้กำลัง มีการข่มขู่ กดดันชาวบ้านให้ออกจากที่ดินทำกินของตนเอง ค) การกีดกันโดยตลาด มีเพียงการซื้อ ขายที่ดินในกลุ่มชาวบ้านเอง ไม่มีนายทุนเข้ามากว้านซื้อที่แต่อย่างใด ง) การสร้างความชอบธรรม ส่วนมากเจ้าหน้าที่จะอ้างเพียงข้อบังคับทางกฎหมายเท่านั้นในการสร้างความชอบธรรมในการดำเนินการในพื้นที่กับชาวบ้าน 2. ผลกระทบที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในช่วงก่อนและหลังการประกาศนโยบายทวงคืนผืนป่า ก) ความสุขทางด้านอาชีพการงาน ชาวบ้านไม่มีความสุขในการทำงานหลังการประกาศนโยบายทวงคืนผืนป่า ข) การมีสังคมที่ดี เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายหลังเกิดข้อพิพาทเรื่องที่ดินในพื้นที่ ค) มีสถานภาพทางการเงินที่ดี ชาวบ้านเกิดปัญหาอย่างมากหลังถูกดำเนินคดี ต้องเป็นหนี้สิน เพื่อกู้เงินและขายทรัพย์สินบางส่วนในการสู้คดี ง) การมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง สมบูรณ์ เกิดปัญหาตามมาสุขภาพชาวบ้านย่ำแย่ลงหลังประกาศนโยบายทวงคืนผืนป่าและชาวบ้านถูกดำเนินคดี
Description: Master of Political Science Program in Politics and Governments (M.Pol.Sci.)
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/554
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57011380007.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.