Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/555
Title: Public Administration Base on Good Governance in Thakhonyang Sub-district Municipality, Kantharawichai District, Mahasarakham Province  
การบริหารงานภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลในเทศบาลตำบลท่าขอนยาง  อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Khoy Charuengrite
ก้อย ชาเรืองฤทธิ์
Prayote Songklin
ประโยชน์ ส่งกลิ่น
Mahasarakham University. The College of Politics and Governance
Keywords: หลักธรรมาภิบาล
การบริหารงานภาครัฐ
good governance
public administration
Issue Date:  4
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to 1) study public administration based on good governance and    2) study suggestions for public administration based on good governance in Thakhonyang sub-district municipality, Kantharawichai district, Mahasarakham province. The research was conducted by using mixed method including both quantitative and qualitative approaches. The samples in this research were 378 people who were 18 years old or over who had a legal right to vote in Thakhonyang sub-district municipality, Kantharawichai district, Mahasarakham province, obtained by using Taro Yamane formula. The interviews purposively selected in this research consisted of 10 officials in Thakhonyang sub-district municipality, and 10 community leaders and people in Thakhonyang sub-district municipality. The instruments used for data collection were questionnaire and semi-structured interviewing form. The questionnaire reliability was .95. The statistics used for data analyses included the percentage, frequency, mean, and standard deviation. The results of the study were as follows: 1. People’s overall opinion about public administration based on good governance in Thakhonyang sub-district municipality, Kantharawichai district, Mahasarakham province, was at a moderate level.  Considering each aspect, it was found that every aspect was at a moderate level and could be arranged in descending order as follows: participation, value for money, ethics, accountability, rule of laws and transparency. 2. People’s suggestion for public administration based on good governance in Thakhonyang sub-district municipality, Kantharawichai district, Mahasarakham province was as follows: For rule of law aspect, the municipality should inform or educate people on law, notice, and regulation; for ethics aspect, the officials in the municipality should be encouraged to work honestly and to focus on people’s advantages; for transparency aspect, the municipality should disseminate budget information on each project to the public via various media; for participation aspect, the municipality should provide more channels to listen to people’s opinions; for accountability aspect, the municipality should solve the problems for people immediately; and for value for money aspect, the municipality should consider worthiness in budget allocation.     
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายคือ 1. เพื่อศึกษาการบริหารงานภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาล และ 2. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการบริหารงานภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลในเทศบาลตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ระหว่างวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตเทศบาลตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 378 คน โดยใช้สูตรทาโร ยามาเน่ ผู้ให้สัมภาษณ์ คือ พนักงานเทศบาลตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น .95 ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลในเทศบาลตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกหลัก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ หลักการมีส่วนร่วม หลักความคุ้มค่า หลักคุณธรรม หลักความรับผิดชอบ หลักนิติธรรม และหลักความโปร่งใส 2. ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะของประชาชนเกี่ยวการบริหารงานภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลในเทศบาลตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม พบว่า ประชาชนมีข้อเสนอแนะที่สำคัญในหลักนิติธรรม คือ เทศบาลควรมีการชี้แจง หรือให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ประกาศ ระเบียบต่างๆ ของเทศบาลแก่ประชาชน หลักคุณธรรม คือ เทศบาลควรมีการส่งเสริมให้พนักงานเทศบาลปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยยึดถือผลประโยชน์ประชาชนเป็นหลัก หลักความโปร่งใส คือ เทศบาลควรเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งบประมาณในโครงการต่าง ๆ ให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง โดยมีช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลที่หลากหลาย หลักการมีส่วนร่วม คือ เทศบาลควรเพิ่มช่องทางรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน หลักความรับผิดชอบ คือ เทศบาลควรดำเนินการแก้ไขปัญหาแก่ประชาชนทันที เมื่อได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน และหลักความคุ้มค่า คือ เทศบาลควรจัดสรรงบประมาณให้เกิดความคุ้มค่า
Description: Master of Political Science (M.Pol.Sc.)
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/555
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60011381002.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.