Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/575
Title: Comparative Social Life Cycle Assessment of Paddy Rice from Conventional and Large Area Based Practices 
การเปรียบเทียบการประเมินวัฏจักรชีวิตทางสังคมของข้าวเปลือกแบบดั้งเดิมและแบบนาแปลงใหญ่
Authors: Chirawan Phantha
จิราวรรณ พันธะ
Jittima  Prasara-a
จิตติมา ประสาระเอ
Mahasarakham University. The Faculty of Environment and Resource Studies
Keywords: การประเมินวัฏจักรชีวิตทางสังคม
นาแปลงใหญ่
ข้าวเปลือก
Social Life Cycle Assessment
area based agriculture
paddy rice
Issue Date:  7
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study compares social performances of conventional and area based rice production along the life cycle of products. Social Life Cycle Assessment (S-LCA) is used in the analysis. The sites selected are areas with highest, medium and smallest rice growers in the North East of Thailand. The reference unit is 1 rai of paddy rice plantation. The three stakeholder groups examined are workers, local community, and value chain actors (rice farm owners, machine contractors and suppliers). Performance reference points method is used in social performance assessment. Social performance classification is based on the width of the class interval. The score of the social performance indicators are classified into 5 groups: very good, good, medium, fair and poor. The results show that the score of the social performance of workers, local community and suppliers are not different and in the very good level. For rice farm owners, the social performance of the area based practice is better than that of the conventional practice because they use more bio-agents and more women participated in technology training, the social performance of conventional is good and the area based is very good. For machine contractors, the conventional practice is better than the area based one; their social performances are both very good. Overall, the area based approach is better than conventional approach. Overall social performances of conventional and that of the area based ones are very good.
การศึกษานี้เป็นการเปรียบเทียบประสิทธิภาพทางสังคมของข้าวเปลือกแบบดั้งเดิมและแบบนาแปลงใหญ่ตลอดวัฏจักรชีวิต โดยใช้เทคนิคการประเมินวัฏจักรชีวิตทางสังคม (Social Life Cycle Assessment: S-LCA) ในการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษานี้เลือกพื้นที่ศึกษาที่มีการเพาะปลูกมากที่สุด ปานกลาง และน้อยที่สุด ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้ได้ข้อมูลในบริบทที่แตกกันของพื้นที่ หน่วยอ้างอิงของการศึกษานี้ คือ 1 ไร่ ของผลิตภัณฑ์ข้าวเปลือก เลือกศึกษากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรงงาน กลุ่มชุมชนและสังคม และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน (เกษตรกร เจ้าของเครื่องจักร และซัพพลายเออร์) การประเมินประสิทธิภาพทางสังคมในการศึกษานี้ใช้วิธี performance reference points method การแบ่งกลุ่มประสิทธิภาพทางสังคมใช้วิธีความกว้างของอันตรภาคชั้นของค่าคะแนนของตัวชี้วัด การแบ่งกลุ่มประสิทธิภาพทางสังคมเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ ดีมาก ดี ปานกลาง พอใช้ และแย่ ผลของการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพทางสังคมของแบบดั้งเดิมและแบบนาแปลงใหญ่สำหรับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มแรงงาน กลุ่มชุมชนและสังคม และกลุ่มซัพพลายเออร์ ไม่ได้มีความแตกต่างกันและอยู่ในเกณฑ์ดีมาก  สำหรับกลุ่มเกษตรกรแบบนาแปลงใหญ่ดีกว่าแบบดั้งเดิม แบบดั้งเดิมอยู่ในเกณฑ์ดีและแบบนาแปลงใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ที่แตกต่างกันเนื่องจากมีการใช้สารชีวภาพมากกว่าแบบดั้งเดิมและผู้หญิงได้มีโอกาสเข้าร่วมการอบรมทางเทคโนโลยีมากกว่า และกลุ่มเจ้าของเครื่องจักรแบบดั้งเดิมดีกว่าแบบนาแปลงใหญ่เล็กน้อยและอยู่ในเกณฑ์ดีมากทั้งสองแบบ ดั้งนั้น โดยรวมแล้วการทำนาแบบนาแปลงใหญ่ดีกว่าแบบดั้งเดิม และประสิทธิภาพทางสังคมโดยรวมทั้งแบบดั้งเดิมและแบบนาแปลงใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดีมาก
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/575
Appears in Collections:The Faculty of Environment and Resource Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60011751001.pdf5.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.