Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/594
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorChawengsak Pollapen
dc.contributorเชวงศักดิ์ พลลาภth
dc.contributor.advisorKosit  Phaengsoien
dc.contributor.advisorโฆษิต แพงสร้อยth
dc.contributor.otherMahasarakham University. Faculty of Cultural Scienceen
dc.date.accessioned2019-11-19T09:59:35Z-
dc.date.available2019-11-19T09:59:35Z-
dc.date.issued12/10/2018
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/594-
dc.descriptionDoctor of Philosophy (Ph.D.)en
dc.descriptionปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.abstractPeople looking for an extra income by giving assistance to people in court are called “Court Opportunists”. This thesis has 3 objectives which are as follow: 1) this thesis aimed to study the background of court opportunists to help suspects and defendants in judicial process. 2) objective is to investigate the current state and problems of court opportunists to help suspects and defendants in judicial process. Lastly, 3) goal is to study positive wisdom uses of court opportunists to support suspects and defendants in the court. Roi-Et, Maha Sarakham and Kalasin court are the study areas determined by the researcher which started from October 2016 to October 2017. This thesis has been implemented qualitatively by using observation forms, interview forms and focus group discussion method. The research data has been gathered from 93 representative samples in total included well informed persons, practitioners and contributors. In the last step, the collected data was analyzed for reliability by triangulation technic before descriptive analysis presentation. The findings reveal that the assistance given by court opportunists to suspects and defendants has long existed since the first days of the court in north eastern due to the lack of education and legal knowledge among major population. It was necessary to have a literate person who can represent them or contact with court officials such as writing petitions. This person is called “Court Opportunists”. The study on the current status showed that court opportunists helping suspects and defendants still exist around the court. They lighten the load form court officers by preparing essential documents, providing guarantors, leading suspects or defendants to courts or making appointments. The problem found in this study was that suspects and defendants are devoid of legal knowledge such as ability to use the right to bail themselves out without property deeds or sufficient assessment. They are lack of essential documents and often deceived on guaranty. Moreover, they need to defray large amount of money on security deposits or assurance supports to avoid losing a lawsuit. A number of poor suspects or defendants have been imprisoned because of the lack of fund. The three positive ways of wisdom use of court opportunists found from the study are 1) Court opportunists introduce themselves to clients directly 2) Suspects and defendants find their own court opportunists 3) Networking introduction that includes court officials, police officers and attorneys. Mentioned methods rely on intelligible local language, relationship among relatives, belief and respect on holy objects and seniors and sympathy. The wisdom allows lawsuits to be finalized inexpensively, early and obligingly. In conclusion, good court opportunists have been supporting suspects and defendants since old times with different forms of wisdom. Their assistance and reasonable charge allow this service still be popular and profitable job in present days.en
dc.description.abstractบุคคลที่ใช้วิธีการหาเลี้ยงชีพโดยใช้สถานที่ในบริเวณศาล เพื่อให้บริการช่วยเหลือผู้มาติดต่อราชการ  เช่น  ช่วยเขียนคำร้อง  จัดเรียบเรียงเอกสาร  แนะนำการยื่นคำร้องขอประกันผู้ต้องหาและจำเลย หรือช่วยหานายประกัน เรียกว่า “ตีนโรงตีนศาล” การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของตีนโรงตีนศาลในการช่วยเหลือผู้ต้องหาและจำเลยตามกระบวนการยุติธรรม  2)  เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของตีนโรงตีนศาลในการช่วยเหลือผู้ต้องหาและจำเลยตามกระบวนการยุติธรรม  3)  เพื่อศึกษารูปแบบการใช้ภูมิปัญญาของตีนโรงตีนศาลที่ดีในการช่วยเหลือผู้ต้องหาและจำเลยตามกระบวนการยุติธรรม  ผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่วิจัยแบบเจาะจง  3  จังหวัด  คือ  1)  ศาลจังหวัดร้อยเอ็ด  2)  ศาลจังหวัดมหาสารคาม  3)  ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์  ระยะเวลาทำการวิจัยเริ่มจากเดือนตุลาคม 2559  ถึงเดือนตุลาคม  2560  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  เครื่องมือที่ใช้    ในการวิจัย  ได้แก่  แบบสังเกต  แบบสัมภาษณ์  และการสนทนากลุ่ม  ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป  รวมทั้งสิ้น  93  คน  ตรวจสอบความน่าเชื่อถือข้อมูล โดยใช้เทคนิคการตรวจสอบแบบสามเส้า  แล้วนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย  พบว่า  การช่วยเหลือผู้ต้องหาและจำเลยของตีนโรงตีนศาลตามกระบวนการยุติธรรม  มีมายาวนานพร้อมกับการก่อตั้งศาลในอดีตชาวอีสานส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ  ขาดความรู้ด้านกฎหมาย  กลัวศาลเมื่อได้รับความเดือดร้อนมาสู่ศาล  ต้องขอความช่วยเหลือผู้ที่พอมีความรู้อ่านออกเขียนได้  สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ศาล  ช่วยเขียนคำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาและจำเลยชั่วคราว  ตามกระบวนการยุติธรรม  ชาวบ้านเรียกบุคคลดังกล่าวว่า  “ตีนโรงตีนศาล” ปัจจุบัน  พบว่า  บริเวณศาลยังมีตีนโรงตีนศาลให้บริการช่วยเหลือผู้ต้องหาและจำเลย โดยช่วยติดต่อเจ้าหน้าที่ศาล แนะนำการจัดเตรียมเอกสารที่จะใช้ประกอบการยื่นคำร้องช่วยหาหลักทรัพย์หรือนายประกันเป็นการแบ่งเบาภาระเจ้าหน้าที่ศาล  การนำผู้ต้องหาและจำเลยมาศาล  ตามนัด  และยังพบว่า  บริเวณศาลยังมีนายประกันจากบริษัทเอกชนมารับให้บริการเช่าหลักทรัพย์  หรือรับเป็นนายประกันครบวงจร  กำหนดค่าบริการชัดเจนแตกต่างจากตีนโรงตีนศาลซึ่งเป็นบุคคล    ค่าดำเนินการสามารถตกลงกันได้  การติดต่อประสานงานไม่ต้องผ่านคนอื่น  อำนาจการตัดสินใจคนเดียว  ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นบริษัทหรือส่วนบุคคลที่เข้ามาประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับการประกันตัวผู้ต้องหาและจำเลยอยู่ในบริเวณศาล  จะต้องขึ้นทะเบียนเป็นนายประกันตามที่ศาลกำหนด  จึงจะดำเนินการยื่นคำร้องขอประกันผู้ต้องหาและจำเลยตามกระบวนการยุติธรรม ปัญหา  พบว่า  ผู้ต้องหาและจำเลยขาดความรู้ด้านกฎหมายกลัวศาล  ไม่เข้าใจว่ามีสิทธิ์    ยื่นประกันตัวเองได้  หลักทรัพย์  เช่น  โฉนดที่ดินไม่มี  หรือมีแต่ประเมินได้น้อย  ขาดความพร้อมเกี่ยวกับเอกสาร  โดยหลอกเกี่ยวกับการปลอมแปลงเอกสาร  บุคคลค้ำประกันเอกสารไม่สมบูรณ์     และยังพบว่า  โฉนดที่ดินต่างจังหวัดไม่สามารถเดินทางไปประเมินราคาได้ทันเวลา  ทำให้ผู้ต้องหาและจำเลยวิตกกังวล  กลัวติดคุก  ต้องเช่าหลักทรัพย์ราคาสูง  หรือขอความช่วยเหลือจากนายประกัน แม้จะต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก  ผู้ต้องหาและจำเลยจำนวนไม่น้อยที่ยากจนต้องจำคุกอันเกิดจาก  ขาดหลักทรัพย์หรือนายประกัน  ไม่สามารถดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รูปแบบการใช้ภูมิปัญญาของตีนโรงตีนศาลที่ดี  พบว่า  มี  3  รูปแบบ  คือ  1)  ตีนโรงตีนศาลเข้าไปแนะนำตัวเองกับผู้ต้องหาและจำเลย  2)  ผู้ต้องหาและจำเลยเข้าไปพบตีนโรงตีนศาล 3) การแนะนำแบบเครือข่าย  ประกอบด้วย  เจ้าหน้าที่ศาล  ตำรวจ  และทนายความ  รูปแบบ  การใช้ภูมิปัญญาดังกล่าวประกอบด้วยภูมิปัญญาด้านภาษา  โดยเลือกใช้ภาษาถิ่นฟังแล้วเข้าใจง่าย  ด้านความสัมพันธ์ใช้คำแทนตัวในการสนทนาที่สื่อความเป็นมิตรมีความผูกพันเหมือนญาติพี่น้อง ด้านสังคมสื่อให้เห็นถึงความเชื่อ ความเคารพนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และผู้อาวุโส  ความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือ  ซึ่งกันและกัน  ด้านทรัพย์สินหรือค่าใช้จ่ายให้โอกาสเห็นใจผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน โดยคิดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นธรรมหรือบริการ ราคาตกลงกันได้ และการดูแลช่วยเหลือ อาทิ การให้บริการเบื้องต้น  ช่วยติดต่อเจ้าหน้าที่ศาล  หลักทรัพย์และนายประกัน  ตลอดจนการแนะนำไกล่เกลี่ยประนีประนอม ให้คดีจบลง โดยไม่ต้องเสียเวลา ค่าใช้จ่าย ไม่เสียญาติพี่น้อง  และยังช่วยบริการส่งถึงบ้านสร้างความสัมพันธ์เป็นญาติพี่น้องต่อไป สรุป การช่วยเหลือผู้ต้องหาและจำเลยมีรูปแบบการใช้ภูมิปัญญาของตีนโรงตีนศาลมีมายาวนาน  มุ่งเน้นการร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาและจำเลยชั่วคราวโดยมีตีนโรงตีนศาลเป็นผู้ติดต่อเจ้าหน้าที่ศาลและช่วยเขียนคำร้อง  หาหลักทรัพย์นายประกันตามกระบวนการยุติธรรม ไม่กำหนดค่าบริการ  ผู้ต้องหาและจำเลยจะมีน้ำใจให้ตามความเหมาะสม  ปัจจุบันค่าดำเนินการต้องตกลงและจ่ายก่อนดำเนินการ  ส่งผลให้อาชีพตีนโรงตีนศาลหรืออาชีพนายประกันมีรายได้ดี  สามารถสร้างความมั่นคงให้ครอบครัวอย่างดียิ่งth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectตีนโรงตีนศาลที่ดีth
dc.subjectรูปแบบการใช้ภูมิปัญญาth
dc.subjectResponsible Court Opportunistsen
dc.subjectThe use of wisdomen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleResponsible Court Opportunists: Positive Wisdom Uses of Court Opportunists to Support Suspects and Defendants in the Courten
dc.titleตีนโรงตีนศาลที่ดี : รูปแบบการใช้ภูมิปัญญาในการช่วยเหลือผู้ต้องหาและจำเลยตามกระบวนการยุติธรรมth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56012160002.pdf6.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.